หม่อมเจ้าอนุชาติศุขสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์
หน้าตา
หม่อมเจ้าอนุชาติศุขสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ | |
---|---|
![]() | |
ประสูติ | 28 เมษายน พ.ศ. 2415 |
สิ้นชีพิตักษัย | 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 (56 ปี) |
พระชายา | หม่อมเจ้าหญิงรำไพเยาวยุภา ศุขสวัสดิ์ (เกษมศรี) |
ราชสกุล | ศุขสวัสดิ์ |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช |
พระมารดา | หม่อมขาบ |
มหาอำมาตย์ตรี หม่อมเจ้าอนุชาติศุขสวัสดิ์ (28 เมษายน 2415 – 25 พฤษภาคม 2471) เป็นพระโอรสพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดชประสูติแต่หม่อมขาบ ทรงเป็นเจ้ากรมพิพิธภัณฑ์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[1]
พระโอรสของพระองค์คือ หม่อมราชวงศ์สันต์ สุขสวัสดิ์ อดีตนักบินของกองทัพอากาศ นับเป็นผู้บริจาคอุทิศดวงตาเป็นคนแรกของประเทศไทย[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
- พ.ศ. –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
- พ.ศ. –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)
- พ.ศ. –
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประวัติและบทบาทหน้าที่". กรมศิลปากร.
- ↑ "ผู้อุทิศดวงตาเป็นรายแรกของประเทศไทย และแนวคิดของคนต่อการอุทิศดวงตายุคแรกเริ่มในไทย". ศิลปวัฒนธรรม. 22 สิงหาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2024.