หม่อมเจ้าวินิตา รพีพัฒน์
หม่อมเจ้าวินิตา รพีพัฒน์ | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 5 | |
ประสูติ | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2456 |
สิ้นชีพตักษัย | 6 มีนาคม พ.ศ. 2541 (84 ปี) |
พระราชทานเพลิง | 18 มีนาคม พ.ศ. 2541 เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส |
สวามี | หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์ |
โอรส | หม่อมราชวงศ์วิภากร รพีพัฒน์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
ราชสกุล | กิติยากร (โดยประสูติ) รพีพัฒน์ (โดยสมรส) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ |
พระมารดา | หม่อมลเมียด กิติยากร ณ อยุธยา |
ศาสนา | พุทธ |
หม่อมเจ้าวินิตา รพีพัฒน์ (ราชสกุลเดิม: กิติยากร; 2 ธันวาคม พ.ศ. 2456 - 6 มีนาคม พ.ศ. 2541) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ประสูติแต่หม่อมลเมียด กิติยากร ณ อยุธยา
พระประวัติ
[แก้]หม่อมเจ้าวินิตา รพีพัฒน์ (ราชสกุลเดิม กิติยากร) มีพระนามลำลองว่า ท่านหญิงแห้ว[1] เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ประสูติแต่หม่อมลเมียด กิติยากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม เปลี่ยนประยูร) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2456[2] มีอนุชาและกนิษฐภคินีร่วมพระบิดามารดาเดียวกันรวม 2 องค์ คือ หม่อมเจ้าสุวินิต กิติยากร และหม่อมเจ้ากิติปปียา กิติยากร และมีพระพี่น้องร่วมพระบิดาเดียวกันอีก 22 องค์
หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาชั้นประถมและมัธยมที่โรงเรียนราชินีแล้ว ได้เสกสมรสกับหม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์ มีโอรสเพียงคนเดียวคือ หม่อมราชวงศ์วิภากร รพีพัฒน์ ซึ่งสมรสกับวุฒิวิฑู วุฒิชัย (เดิม หม่อมเจ้าวุฒิวิฑู วุฒิชัย; พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร กับหม่อมประพันธ์ วุฒิชัย ณ อยุธยา) ต่อมาได้หย่าขาดกัน และสมรสใหม่กับเย็นจิตต์ รพีพัฒน์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม สัมมาพันธ์) มีบุตรธิดา 3 คน คือ หม่อมหลวงอิทธากร หม่อมหลวงนิภาพร และหม่อมหลวงปกรวิช รพีพัฒน์
ตั้งแต่เสกสมรสแล้ว หม่อมเจ้าวินิตา รพีพัฒน์ ทรงปฏิบัติองค์เป็นแม่บ้านแม่เรือน และมีพระสุขภาพดีมาโดยตลอด เพิ่งเริ่มมีพระอาการประชวรบ้างเล็กน้อยในบั้นปลายแห่งชันษา ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงห่วงใยยิ่ง มีพระราชเสาวนีย์ให้ส่งไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล และทรงส่งแพทย์ไปตรวจเยี่ยมพระอาการเป็นระยะ ๆ จนวาระสุดท้าย
หม่อมเจ้าวินิตา รพีพัฒน์ ได้ถึงชีพิตักษัยอย่างสงบด้วยพระอาการหทัยวาย ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541 รวมชันษาได้ 84 ปี 3 เดือน[3]
การนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับการศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานเป็นลำดับมา พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2541
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[4]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายใน)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.จ.ไกรสิงห์ วุฒิชัย ณ เมรุวัดธาตุทอง วันพุธ ที่ 23 มิถุนายน 2519. [ม.ป.ท.]: มงคลการพิมพ์; 2519.
- ↑ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ :พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, 2548. 136 หน้า. ISBN 9742217467
- ↑ ประชุมปกรณัม ภาคที่ 1-5, นิทานอิหร่านราชธรรม 12 เรื่อง (ที่เรียกกันมาว่าเรื่อง 12 เหลื่ยม). กรุงเทพฯ : สำนักราชเลขาธิการ, 2541.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2534" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (78 ง ฉบับพิเศษ): 4. 4 พฤษภาคม 2534. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)