ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมเจ้าพระศีลวราลังการ (สอน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้า

พระศีลวราลังการ

(สอน )
ส่วนบุคคล
ประสูติ
หม่อมเจ้าสอน

พ.ศ. 2321
สิ้นชีพิตักษัยพ.ศ. 2410 (89 ปี)
ที่เผาศพวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
ศาสนาพุทธ
บุพการี
ราชวงศ์เจษฎางกูร (ราชวงศ์จักรี)
นิกายเถรวาท
สำนักมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร จังหวัดพระนคร
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร

หม่อมเจ้าพระศีลวราลังการ พระนามเดิม หม่อมเจ้าสอน หรือหม่อมเจ้าศร ราชสกุลเจษฎางกูร เจ้าอาวาสวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร รูปที่ 3 ทรงเป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา ประสูติปีจอ จุลศักราช 1140 พ.ศ. 2321 ในสมัยกรุงธนบุรี ผนวชอยู่วัดชนะสงครามมาแต่รัชกาลที่ 1 ในปีพ.ศ. 2341 แต่ไม่ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นแต่หม่อมเจ้าพระสามัญ[1] มีปรากฏพระประวัติของพระองค์ในปฐมวงษ์ ดังนี้ว่า

  • "กรมหลวงจักรเจษฎานั้น ไม่ได้มีพระชายาเปนสำคัญ มีแต่หญิงบาทบริจาริกเปนอันมาก ประสูติหม่อมเจ้าชายหม่อมเจ้าหญิงก็เปนอันมาก แต่ควรจะออกชื่ออยู่องค์หนึ่ง คือ หม่อมเจ้าสอนซึ่งผนวชมาแต่อายุ 20 ปี ได้เล่าเรียนพระคัมภีร์พุทธวจนะอยู่บ้าง ภายหลังได้เลื่อนที่เปนหม่อมเจ้าราชาคณะปรากฏนามว่า หม่อมเจ้าศีลวราลังการ ได้เปน อธิบดีสงฆ์ในวัดชนะสงคราม"

ในรัชกาลที่ 3 ปี พ.ศ. 2383 มีพระบรมราชโองการโปรดให้สถาปนาขึ้นเทียบชั้นพระราชาคณะ ดังนี้

“หม่อมเจ้าสร ได้ประพฤติพรหมจรรย์มาช้านาน กอปด้วยวิริยอุตสาหสึกษาคัมภีร์พุทธศาสนามาก ไม่มีอธิกรณ์อันใด อันหนึ่งให้ขุ่นเคืองใต้ฝ่าละอองทุลีพระบาท จึงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รับสมณบริขารเสมอพระราชาคณะ มีนิจภัตเดือนละ 3 ตำลึงแล้ว บัดนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมว่าพระนามเดิมนั้นไม่ถูกทำนองในภาษามคธ สวดกรรมวาจาไม่ได้ จึงมีพระบรมราชโองการมาณบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งให้หม่อมเจ้าสรรับพระนามว่า หม่อมเจ้าศีลวราลังการ ให้สมควรแก่บรรพชิตในพระพุทธศาสนาจะได้สวดกรรมวาจาโดยง่าย ให้เจริญพระชนมายุศม์ วรรณ ศุข พล ศิริสวัสดิ์ในพระพุทธศาสนาเทิญ”

หม่อมเจ้าพระศีลวราลังการ ครองวัดชนะสงครามเป็นเวลา 37 ปี สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2410 ตามหมายรับสั่ง รัชกาลที่ 4 จ.ศ.1229 ว่า

'“ณ วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 9 ปีมะโรง สมฤทธิศก จะได้ยกหีบศพ หม่อมเจ้าพระศีลวราลังการไปเข้าเมรุวัดสระเกศครั้นเวลาบ่าย พระราชทานเพลิง”'

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 เวลาบ่ายโมงเศษพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ดังหมายรับสั่ง รัชกาลที่ 4 ร.ศ. 1230 ว่า

“อนึ่งเวลาบ่ายโมงเศษ หมื่นจักตำรวจวังมาสั่งว่า พระยาพิมณเฑียณ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสั่งว่า จะเสด็จพระราชดำเนินทางสถลมารคแต่เกยหน้าประตูเทวราชดำรงษร์ ออกประตูเทวาพิทักษ์ตรงไปเลียบถนนบำรุงเมือง ตรงไปออกประตูสำราญราช ........ไปประทับพลับพลาวัดสระเกศพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าศีลวราลังการ (และ) พระนมขำ ในพระบวรราชวัง ณ วัน 6ฯ5 9 ค่ำ เวลาบ่ายนั้นให้กรมเมืองไปทำตภานให้มั่นคงดีแล้ว กวาดแผ้วทางเสด็จในเมรุ (และ) พลับพลาให้เตรียนดีอย่าให้โรง..ภาษี..ซารากเอาศพ เน่า เปื่อยกีดขวาง ให้เร่งไปทำรับเสด็จให้ทันกำหนด อนึ่งให้พระคลังราชการจัดเสื่ออ่อน ลาดไปปูรับเสด็จในพลับพลา (และ) เมรุ ให้อย่างเคย.......”

หม่อมเจ้าพระศีลวราลังการ ครองวัดชนะสงคราม ราว 27 ปี สิริพระชันษา 89 ปี[2]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 197 หน้า. หน้า 90. ISBN 974-417-530-3
  2. พระมหาปกรณ์ กิตฺติธโร ป.ธ.9, ประวัติวัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร