หม่อมเจ้าพระธรรมุณหิศธาดา (สีขเรศ วุฑฺฒิสฺสโร)
หม่อมเจ้า พระธรรมุณหิศธาดา (สีขเรศ วุฑฺฒิสฺสโร) | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
ประสูติ | หม่อมเจ้าสีขเรศ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2381 |
สิ้นชีพิตักษัย | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2450 (69 ปี) |
ที่เผาศพ | วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร |
ศาสนา | พุทธ |
บุพการี | |
ราชวงศ์ | มหากุล (ราชวงศ์จักรี) |
นิกาย | เถรวาท |
สำนัก | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | เปรียญธรรม 4 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร |
บรรพชา | พ.ศ. 2394 |
อุปสมบท | พ.ศ. 2398 |
หม่อมเจ้าพระธรรมุณหิศธาดา[1] (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2381 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2450) (พระนามเดิม:หม่อมเจ้าสีขเรศ; ราชสกุล: มหากุล) เป็นพระโอรสพระองค์ที่ 10 ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ ประสูติในรัชกาลที่ 3 เมื่อวันพุธที่ 9 พฤษภาคม ตรงกับแรม 1 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ จ.ศ. 1200 พ.ศ. 2381
เมื่อยังทรงพระเยาว์ พระบิดาได้ถวายไว้เล่าเรียนในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่ครั้งยังทรงผนวชอยู่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ถึงรัชกาลที่ 4 ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อปีกุน พ.ศ. 2394 แล้วประทับอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเฉพาะพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นเปรียญธรรม 4 ประโยค[2] ถึงปี พ.ศ. 2398 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังสีสุริยพันธ์เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับพระนามฉายาว่า วุฑฺฒิสฺสโร ผนวชแล้วประทับอยู่วัดบวรนิเวศวิหารต่อมา
ปี พ.ศ. 2407 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งหม่อมเจ้าพระสีขเรศเป็นพระราชาคณะที่ หม่อมเจ้าพระธรรมมุณหิศธาดา ในรัชกาลต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชในปี พ.ศ. 2416 หม่อมเจ้าพระธรรมมุณหิศธาดาได้ร่วมเป็นคณปูรกะในคราวทรงผนวชนั้นด้วย ถึงปี พ.ศ. 2438 ทรงเลื่อนตำแหน่งให้เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมในราชทินนามเดิม[3]
หม่อมเจ้าพระธรรมุณหิศธาดา ประชวรด้วยโรคชรามานาน สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2450 ปีมะแม เวลาเช้า 3 โมงเศษ[4] ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุปูน วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2451[5][6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "หม่อมเจ้าพระธรรมุณหิศธาดา". วัดบวรนิเวศวิหาร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-20. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, พ.ศ. 2545. 428 หน้า. หน้า 169-170. ISBN 974-417-530-3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรแลเลื่อนตำแหน่งยศ, เล่ม 13, หน้า 15
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นชีพิตักษัย, เล่ม 24, ตอน 38, 22 ธันวาคม 126, หน้า 1010
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าพระธรรมุณหิศธาดา หม่อมเจ้าเจียกและท้าวศรีสัจจา, เล่ม 24, ตอน 45, 9 กุมภาพันธ์ 126, หน้า 1218-9
- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8