ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมเจ้านิสากร ศรีธวัช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้านิสากร ศรีธวัช

หม่อมเจ้านิสากร ศรีธวัช
หม่อมเจ้า
ประสูติ1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2422
สิ้นชีพิตักษัย3 มีนาคม พ.ศ. 2472
พระนามเต็ม
หม่อมเจ้านิสากร ศรีธวัช
พระบุตรหม่อมราชวงศ์ชัยธวัช ศรีธวัช
หม่อมราชวงศ์ทรงศรี สนิทวงศ์
หม่อมราชวงศ์สันธัช ศรีธวัช
หม่อมราชวงศ์ธวัชภาคย์ ศรีธวัช
หม่อมราชวงศ์เครือธง ศรีธวัช
หม่อมราชวงศ์เครือศิริ พิมลบรรยงค์
หม่อมราชวงศ์เครือศรี ศรีธวัช
หม่อมราชวงศ์พันธุ์ศรี ศรีธวัช
หม่อมราชวงศ์เพ็ญศรี ศรีธวัช
หม่อมราชวงศ์ฐิตะโยบล ศรีธวัช
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลศรีธวัช
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ
พระมารดาหม่อมอุ่ม ศรีธวัช ณ อยุธยา

อำมาตย์เอก หม่อมเจ้านิสากร ศรีธวัช (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2422 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2472) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ กับหม่อมอุ่ม ทรงเข้าพิธีเกศากันต์ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2432

หม่อมเจ้านิสากร ศรีธวัช ทรงเข้ารับราชการเป็น

  • พ.ศ. 2443 - เลขานุการมณฑลอิสาณ
  • พ.ศ. 2452 - ปลัดจังหวัดสุรินทร์
  • พ.ศ. 2454 - รับพระราชทานยศเป็นรองอำมาตย์โท
  • 2 มิถุนายน พ.ศ. 2456 - ผู้รั้งผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์[1]
  • 2 สิงหาคม พ.ศ. 2456 - ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์[2]
  • 22 มีนาคม พ.ศ. 2456 - เลื่อนยศเป็นอำมาตย์โท[3]
  • 5 ธันวาคม 2458 – นายหมู่ใหญ่[4]
  • 7 ตุลาคม 2459 – นายหมวดตรี[5]
  • 25 ธันวาคม พ.ศ. 2460 - นายหมวดโท[6]
  • 21 มิถุนายน 2462 – ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง[7]
  • 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 - นายเรือเอก ราชนาวีเสือป่า[8]
  • 26 พฤศจิกายน 2467 – นายนาวาตรี ราชนาวีเสือป่า[9]
  • 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 - ผู้ว่าราชการ จังหวัดสวรรคโลก[10]
  • 18 พฤศจิกายน 2468 – นายกองตรี[11]
  • พ.ศ. 2470 - ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร
  • พ.ศ. 2471 - อำมาตย์เอก

หม่อมเจ้านิสากร ศรีธวัช ประชวรโรคเส้นโลหิตในสมองแตก ถึงชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2472 สิริชันษาได้ 51 ปี[12] ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2474[13]

โอรส - ธิดา

[แก้]

หม่อมเจ้านิสากร ศรีธวัช สมรสกับหม่อมทรัพย์ ศรีธวัช ณ อยุธยา มี บุตร - ธิดา ดังนี้

หม่อมเจ้านิสากร ศรีธวัช สมรสกับหม่อมสาย ศรีธวัช ณ อยุธยา มี บุตร - ธิดา ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]
ลำดับเกียรติ เครื่องหมายแพรแถบ รายชื่อ อักษรย่อ
28
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นจัตุรถาภรณ์ช้างเผือก จ.ช.
34
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย บ.ม.

เหรียญบำเหน็จในราชการ

[แก้]
ลำดับที่ เครื่องหมายแพรแถบ รายชื่อ อักษรย่อ
10
เหรียญจักรพรรดิมาลา
ร.จ.พ.

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  2. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  3. พระราชทานยศ
  4. พระราชทานยศเสือป่า
  5. พระราชทานยศเสือป่า
  6. พระราชทานยศเสือป่า (หน้า ๓๐๓๑)
  7. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  8. พระราชทานยศเสือป่า
  9. พระราชทานยศเสือป่า (กองพันราชนาวีเสือป่าจันทบุรี)
  10. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  11. "พระราชทานยศนายเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 2638. 29 พฤศจิกายน 1925.
  12. "ข่าวถึงชีพิตักษัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46: 4491. 23 มีนาคม 2472.
  13. "พระราชทานเพลิงศพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48: 499. 17 พฤษภาคม 2474.