ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มณีรัตน์ บุนนาค

เกิด23 มิถุนายน พ.ศ. 2465
เสียชีวิต23 เมษายน พ.ศ. 2543 (77 ปี)
สัญชาติไทย
คู่สมรสสุรเทิน บุนนาค
บุตรกรีเมศร์ บุนนาค
สุรธัช บุนนาค
บิดามารดาเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)
ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)

ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค (นามเดิม หม่อมหลวงมณีรัตน์ สนิทวงศ์; 23 มิถุนายน พ.ศ. 2465 - 23 เมษายน พ.ศ. 2543) เป็นธิดาของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) กับท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) มีพี่ร่วมบิดามารดาคือ หม่อมหลวงบัว กิติยากร และพลโท นายแพทย์หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ มีศักดิ์เป็นพระมาตุจฉาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีผลงานที่สร้างชื่อเสียงมากมาย เช่น ผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทยในเพลงพระราชนิพนธ์ ความฝันอันสูงสุด เพลินภูพิงค์ เกิดเป็นไทย ตายเพื่อไทย แผ่นดินของเรา เตือนใจ ไร้เดือน เกาะในฝัน มาร์ชราชนาวิกโยธิน

ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ สมรสกับสุรเทิน บุนนาค บุตรอำมาตย์ตรี พระพิศาลสุริยศักดิ์ (เทิน บุนนาค) กับผัน พิศาลสุริยศักดิ์ (สกุลเดิม สินธุสาร) มีบุตรชาย 2 คน คือ พลเอก กรีเมศร์ บุนนาค (นามเดิม ศูลี) และพันเอก สุรธัช บุนนาค[1]

ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ จึงใช้คำนำหน้าท่านผู้หญิง

การศึกษา

[แก้]

การทำงาน

[แก้]

หม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค รับราชการเป็นนางสนองพระโอษฐ์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ซึ่งเป็นปีราชาภิเษกสมรส จนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2543 สิริอายุ 77 ปี การนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศมณฑป ฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวด และรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด ตั้งศพสวดพระอภิธรรม ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

นอกจากคำร้องเพลงพระราชนิพนธ์แล้ว ยังเป็นผู้รับสนองพระราชเสาวนีย์ในการแต่งเพลงเพื่อพระราชทานแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติ โดยใช้ทำนองเพลงเดิมที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว เช่น

ในงานสาธารณประโยชน์ด้านอื่น ท่านผู้หญิงมณีรัตน์เป็นต้นคิดและเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ริเริ่มผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดในการสร้างสวนหลวง ร.9 ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ชมรมสายสกุลบุนนาค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-07. สืบค้นเมื่อ 2008-05-22.
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี 2538" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (17): 2. 4 ธันวาคม 2538. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-07. สืบค้นเมื่อ 2012-12-17.
  3. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2519" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (80): 1354. 1 มิถุนายน 2519.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]