หม่อนอ่อน
หม่อนอ่อน | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Fagales |
วงศ์: | Myricaceae |
สกุล: | Myrica |
สปีชีส์: | M. esculenta |
ชื่อทวินาม | |
Myrica esculenta | |
ชื่อพ้อง | |
Box myrtle |
หม่อนอ่อน, เม็ดชุนตัวผู้, ส้มสา หรือ บ๊วย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Myrica esculenta) เป็นพืชพื้นเมืองในแถบหุบเขาของเนปาล และพื้นที่สูงของอินเดียโดยเฉพาะรัฐปัญจาบ[2] พบในเอเชียใต้ คาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรมลายู อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นไม้พุ่ม ลำต้นสั้นและคดงอ เปลือกต้นสีน้ำตาล มีรอยแตกตามยาว เปลือกชั้นในสีแดงอมส้ม ใบอ่อนมีชนสีออกชมพู ใบแก่เหนียว สีเขียวเป็นมัน มีจุดน้ำยางเหนียวกระจายทั่วผิว ดอกขนาดเล็กมาก เป็นช่อแน่น ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ดอกตัวผู้สีแดง ดอกตัวเมียสีเขียว ผลสีแดงอมส้ม ผิวมีตุ่มเล็กๆ ขรุขระ
ในจีนใช้เปลือกไม้เป็นแหล่งของแทนนินในการฟอกหนัง ผลรสหวานอมเปรี้ยวรับประทานได้หรือใช้ทำน้ำผลไม้ น้ำต้มเปลือกแก้ท้องเสีย หลอดลมอักเสบและลำไส้อักเสบ[3]เปลือกใช้เป็นยาสมาน ป้องกันแผลเน่า รักษาโรคบิด รูมาติก ท้องร่วง ทำยาเบื่อปลา ไม้ใช้ทำฟืน[4] ไขที่หุ้มผลแยกออกได้โดยการต้ม ใช้ทำเทียนและสบู่ ในเปลือกมีสารสีเหลืองจำพวก myrisetin, myricitrin และ glycoside[2] ใช้ทำสีย้อมผ้าโดยย้อมผ้าฝ้ายได้สีเหลืองอมน้ำตาล
อ้างอิง
[แก้]- ไซมอน การ์ดเนอร์ พินดา สิทธิสุนทร และวิไลวรรณ อนุสารสุนทร. ต้นไม้เมืองเหนือ. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. 2543
- ↑ "medicinal herbs". ayushveda.com. สืบค้นเมื่อ 2011-01-26.
- ↑ 2.0 2.1 "Myrica esculenta". ayushveda.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-16. สืบค้นเมื่อ 2011-01-26.
- ↑ พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3: พืชให้สีย้อมและแทนนิน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544.หน้า 120
- ↑ หมากหม่อนอ่อน