หมาล่า
หมาล่า | |||||||||||||
หม้อไฟที่มีเครื่องแกงหมาล่า | |||||||||||||
ภาษาจีน | 麻辣 | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||||||
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ | |||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 麻辣醬 | ||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 麻辣酱 | ||||||||||||
|
หมาล่า (จีน: 麻辣; พินอิน: málà) เป็นรสชาติยอดนิยมอย่างหนึ่งในอาหารจีน เครื่องปรุงที่ให้รสชาตินี้ประกอบด้วยพริกไทยเสฉวน (ได้จากพืชบางชนิดในสกุลมะแข่น) พริก และเครื่องเทศอื่น ๆ เคี่ยวในน้ำมัน คำว่า หมาล่า มาจากการประสมกันของอักษรจีนสองตัว ได้แก่ หมา (麻) แปลว่า "ชา" กับ ล่า (辣) แปลว่า "เผ็ด" ซึ่งสื่อถึงความรู้สึกในปากหลังจากรับประทานเครื่องปรุงดังกล่าวเข้าไป ซึ่งเรียกว่าอาการ "เด้าลิ้น"[1]
หมาล่าถือเป็นรสชาติของอาหารประจำภูมิภาคสำหรับฉงชิ่งและเสฉวน[2] และในปัจจุบันได้กลายเป็นเครื่องปรุงยอดนิยมชนิดหนึ่งในอาหารจีน มีการนำหมาล่าไปใช้ในอาหารหลายประเภท ตั้งแต่อาหารผัด อาหารตุ๋น ซุป ไปจนถึงหม้อไฟหรือหม้อจุ่ม[3] ในมณฑลเสฉวนและมณฑลยูนนานมีการใช้หมาล่าชนิดผงเพื่อปรุงรสอาหารเรียกน้ำย่อยและอาหารริมทาง เช่น เต้าหู้เหม็น เฟรนช์ฟรายส์ เนื้อสัตว์และผักเสียบไม้ย่าง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ textilefoodcolorchem (2017-12-19). "++ว่าด้วยความ "เด้าลิ้น" ของซุปหม่าล่า++". เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว.
- ↑ "'หม่าล่า' เผ็ดชาสไตล์จีน บนมื้ออาหารคนไทย". The Momentum (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-04-29.
- ↑ "ฮิตมาถึงไทย! "หมาล่า" อาหารจีนจากมณฑลเสฉวน กินแล้วเผ็ดชาไปทั้งปาก | Dek-D.com". Dek-D.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-04-29.