ข้ามไปเนื้อหา

หมาจิ้งจอกทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมาจิ้งจอกทอง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Late Pleistocene – Recent
เสียงหมาจิ้งจอกทองหอน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Canidae
สกุล: Canis
สปีชีส์: C.  aureus
ชื่อทวินาม
Canis aureus
Linnaeus, 1758
ชนิดย่อย
  • C. a. aureus
  • C. a. cruesemanni
  • C. a. ecsedensis
  • C. a. indicus
  • C. a. moreoticus
  • C. a. naria
  • C. a. syriacus
แผนที่การกระจายพันธุ์

หมาจิ้งจอกทอง[2] หรือ หมาจิ้งจอกเอเชีย[2] (อังกฤษ: Golden jackal, Common jackal, Asiatic jackal, Eurasian golden jackal,[3] Reed wolf)[4] จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canis aureus ในวงศ์สุนัข (Canidae) และถึงแม้ว่าจะได้ชื่อสามัญว่าในภาษาไทยว่า "หมาจิ้งจอก" แต่ก็ไม่ได้เป็นหมาจิ้งจอกแท้ ๆ เพราะไม่ได้อยู่ในสกุล Vulpini แต่จัดเป็นหมาป่าที่มีขนาดเล็ก (แจ็กคัล) กว่าหมาใน[5]

ลักษณะและพฤติกรรม

[แก้]

มีลักษณะหูโตและตั้งตรง ขนตามลำตัวค่อนข้างยาวมีสีเทาปนน้ำตาล ลักษณะเด่นคือ หางสั้นเป็นพวง ปลายหางมีสีดำ ขนบริเวณหลังมีสีดำ หมาจิ้งจอกทองตัวเมียมีเต้านม 5 คู่

มีความยาวลำตัวและหัว 60–75 เซนติเมตร ความยาวหาง 20–25 เซนติเมตร น้ำหนัก 8–9 กิโลกรัม กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง จึงทำให้มีชนิดย่อย ถึง 13 ชนิด (ดูในตาราง[6]) พบตั้งแต่ในยุโรปตะวันออก, แอฟริกาเหนือ, แอฟริกาตะวันออก, ตะวันออกกลาง, ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, อินเดีย, เนปาล, สิกขิม, ภูฏาน, พม่า, ไทย, ภาคเหนือของกัมพูชา, ลาว และภาคกลางของเวียดนาม

หมาจิ้งจอกทอง สามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่หลากหลายได้ ทั้งป่าเต็งรัง, ป่าเบญจพรรณ หรือพื้นที่เสื่อมโทรมตามหมู่บ้าน กินอาหารได้หลากหลาย ทั้งพืชและสัตว์ เช่น นก, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ,สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม พืชหลายชนิด บางครั้งอาจขโมยอาหารหรือสัตว์เลี้ยงจากมนุษย์ หรืออาจจะล่าสัตว์กีบขนาดเล็ก เช่น ลูกกวาง, ลูกแอนทีโลป เป็นอาหารได้[7] หมาจิ้งจอกทองมีระบบประสาทตา หู จมูก ดีเยี่ยม ในช่วงผสมพันธุ์อาจพบเห็นอยู่ด้วยกันเป็นคู่ ออกล่าเหยื่อในเวลากลางคืนและพักผ่อนในเวลากลางวัน แต่บางครั้งอาจพบเห็นได้ช่วงพลบค่ำหรือเช้าตรู่ ชอบส่งเสียงหอน "ว้อ" เป็นระยะ ๆ ตลอดทั้งคู่ มีพฤติกรรมจับคู่อยู่เป็นผัวเดียวเมียเดียวตลอดชีวิต ตัวผู้มีหน้าที่เลี้ยงดูครอบครัว ขณะที่ตัวเมียจะทำหน้าที่เลี้ยงลูกเป็นหลัก แต่ก็อาจช่วยตัวผู้ล่าเหยื่อได้ในบางครั้งที่เหยื่อมีขนาดใหญ่[7] สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ออกลูกครั้งละ 3–5 ตัว ระยะเวลาตั้งท้องนาน 9 สัปดาห์ มีระยะเวลาการให้นมลูก 60–63 วัน เมื่อตัวแม่ออกไปหาอาหารมักทิ้งลูกในอยู่ตามลำพัง มีอายุยืนประมาณ 12 ปี ปัจจุบันจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 [2]

ในแอฟริกา หมาจิ้งจอกทองมีอาณาเขตของตัวเองประมาณ 2–3 ตารางกิโลเมตร โดยใช้กลิ่นปัสสาวะเป็นตัวบ่งบอก คู่ตัวผู้และตัวเมียอาจมีลูกที่ต้องดูแลพร้อมกันหลายครอก หลายช่วงอายุ โดยลูกตัวที่โตแล้วแต่ยังไม่สามารถล่าเหยื่อเองได้ จะมีหน้าที่ช่วยพ่อแม่เลี้ยงดูลูกตัวที่เล็กกว่าและยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ บางครั้งลูกตัวที่โตแล้วจะเป็นผู้ช่วยพ่อของตัวเองล่าเหยื่อ ทั้งนี้เป็นการฝึกฝนประสบการณ์ของตัวเองในการล่าเหยื่อและเลี้ยงดูลูกในอนาคตด้วย หมาจิ้งจอกทองจะอาศัยทำรังและเลี้ยงดูลูกในโพรงในทุ่งหญ้าสะวันนา บางครั้งจะเป็นรังของสัตว์อื่นทิ้งไว้ เช่น เม่น หรือหมูป่า และอาจมีหลายโพรงสำหรับความปลอดภัยของลูกเล็กจากการรังควานของสัตว์กินเนื้ออื่น เช่น ไฮยีนา หมาจิ้งจอกทองตัวผู้บางครั้งอาจจะล่าเหยื่อไปไกลจากรังถึง 10 กิโลเมตร เมื่อได้แล้วจะรีบกลืนเนื้อลงท้องแล้วรีบกลับไปที่รังเพื่อขย้อนออกมาให้หมาจิ้งจอกทองตัวเมียและลูก ๆ ได้กิน ลูกหมาจิ้งจอกทองตัวที่โตที่จะดูแลตัวเองได้แล้วจะถูกพ่อแม่ขับไล่ออกไปอย่างรุนแรง โดยในระยะ 2–3 สัปดาห์แรกจะยังไม่สามารถล่าเหยื่อขนาดใหญ่ได้ และจะหาอาหารประเภทสัตว์เล็ก ๆ เช่น แมลงกุดจี่ เป็นอาหารไปก่อน[8]

หมาจิ้งจอกสยาม

[แก้]
หมาจิ้งจอกสยามที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
แผนที่การกระจายพันธุ์ของหมาจิ้งจอกทองในทวีปเอเชียแบ่งตามชนิดย่อย (สำหรับหมาจิ้งจอกสยาม คือ พื้นที่สีชมพู)

หมาจิ้งจอกสยาม (อังกฤษ: Siamese jackal; ชื่อวิทยาศาสตร์: Canis aureus cruesemanni) เป็นชนิดย่อยของหมาจิ้งจอกทอง เป็นชนิดที่พบได้ในประเทศไทย จัดเป็นหมาป่า 1 ใน 2 ชนิดเท่านั้นที่พบได้ในประเทศไทย นอกเหนือไปจากหมาใน

มีลักษณะคล้ายกับหมาจิ้งจอกหิมาลายัน หรือหมาจิ้งจอกอินเดีย (C. a. indicus) แต่มีขนาดเล็กกว่า[9] ขนสีน้ำตาลปนเทา มีลายกระดำกระด่างเปรอะ ๆ ไม่ไช่สีพื้นแดงสนิมเหมือนกับอย่างขนของหมาในนอกจากนั้นแล้วยังมีขนยาวปกคลุมรอบคอเป็นแผงใหญ่ขนบริเวรนี้ปลายขนจะมีสีดำขนตามลำตัวจะมีลักษณะขนสองชั้นแผ่ชี้ปกคลุมตั้งแต่ท้ายทอยลงมาจนถึงกลางหลังเรื่อยจนไปถึงโคนหางมีลักษณะคล้ายกับอานม้ามากกว่าขนที่กลางหลังของสุนัขไทยหลังอานเสียอีก เพราะขนที่หลังของสุนัขไทยหลังอานเป็นขนชนิดที่ย้อนกลับคล้าย ๆ กับขวัญ หางของหมาจิ้งจอกสยามจะสั้นกว่าหางของหมาในและขนที่หางจะมีสีดำเพียงแค่ 1 ใน 3 ส่วนหมาในจะมีขนที่หางจะเป็นสีดำ ความสูงประมาณ 40 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 7–14 กิโลกรัม (15–31 ปอนด์) ความยาวของลำตัววัดจากหัวหัวถึงปลายหางหางประมาณ 60–75 เซนติเมตร (24–30 นิ้ว) ความยาวของหางวัดจากหัวถึงปลายหางประมาณ 23–25 เซนติเมตร (9.2–14 นิ้ว) ลักษณะจมูกจะยาวแต่จมูกไม่ดำ ลำตัวกลมและแข็งแรง สันกลางต่ำ โค้งกว้างแตกต่างกับหมาในซึ่งมีจมูกสั้นและจมูกสีดำ ส่วนหน้าผากค่อนข้างจะแบนเล็กน้อยหน้าแหลม หูตั้งป้องไปข้างหน้า[10]

พบกระจายพันธุ์ในประเทศไทย, พม่า และภาคตะวันออกของอินเดีย โดยทำการแยกชนิดจากหมาจิ้งจอกอินเดีย โดยสังเกตจากพฤติกรรมในที่เลี้ยง[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sillero-Zubiri & Hoffmann (พ.ศ. 2547). Canis aureus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2549. Database entry includes justification for why this species is of least concern
  2. 2.0 2.1 2.2 กองทุนสัตว์ป่าโลก. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : ไซรัสการพิมพ์, 2543. 256 หน้า. หน้า 55-56. ISBN 974-87081-5-2
  3. Koepfli, K.-P.; Pollinger, J.; Godinho, R.; Robinson, J.; Lea, A.; Hendricks, S.; Schweizer, R. M.; Thalmann, O.; Silva, P.; Fan, Z.; Yurchenko, A. A.; Dobrynin, P.; Makunin, A.; Cahill, J. A.; Shapiro, B.; Álvares, F.; Brito, J. C.; Geffen, E.; Leonard, J. A.; Helgen, K. M.; Johnson, W. E.; O’Brien, S. J.; Van Valkenburgh, B.; Wayne, R. K. (2015-08-17). "Genome-wide Evidence Reveals that African and Eurasian Golden Jackals Are Distinct Species". Current Biology. 25: 2158–65. doi:10.1016/j.cub.2015.06.060. PMID 26234211.
  4. Tamás Tóth; László Krecsák; Eleonóra Szűcs; Miklós Heltai; György Huszár (2009). "Records of the golden jackal (Canis aureus Linnaeus, 1758) in Hungary from 1800th until 2007, based on a literature survey" (PDF). North-Western Journal of Zoology. Vol. 5 no. 2. pp. 386–405. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-10-04. สืบค้นเมื่อ 2016-07-04.
  5. HYBRID CANINES
  6. "Canis aureus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  7. 7.0 7.1 MEET THE JACKALS, "Animal Planet Sunday Showcase" สารคดีทางแอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: อาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2556
  8. ความลับแห่งพงไพร: จิ้งจอกทองคำ, สารคดีทางนาว 26: ศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2559
  9. 9.0 9.1 Lekagul, B. & McNeely, J. Mammals of Thailand, Darnsutha Press; Second edition edition (January 1, 1988), ISBN 974-86806-1-4.
  10. หมาบางแก้ว โดย สันต์ นาคะสุวรรณ 88 หน้า, (สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม, กรุงเทพฯ 2548) ISBN 9789749098806

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Canis aureus ที่วิกิสปีชีส์