หน่วยตำรวจรักษาสันติภาพ

หน่วยตำรวจรักษาสันติภาพ (อังกฤษ: Formed Police Unit: FPU) หรือ หน่วยตำรวจควบคุมฝูงชน[1] คือหน่วยบังคับใช้กฎหมายที่องค์กรระหว่างประเทศบางแห่ง เช่น สหประชาชาติ (UN) สหภาพยุโรป (EU) และสหภาพแอฟริกา (AU) ใช้เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ โดยแต่ละหน่วยตำรวจรักษาสันติภาพ จะประกอบด้วยบุคลากรที่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกและถูกส่งไปประจำการภายใต้การกำกับดูแลขององค์การ
ความหมาย
[แก้]ในภาษาไทย มีการให้ความหมายของ Formed Police Unit: FPU ที่หลากหลาย เช่น
- ข้าราชการตำรวจแบบกองกำลัง ตามการกำหนดแผนในแผนปฏิบัติราชการ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ในแผนการจัดเตรียมกำลังสนับสนุนสหประชาชาติ[2]
- กองกำลังปฏิบัติการพิเศษในแบบกองร้อยปฏิบัติการ ตามการนิยามในการให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[3]
- หน่วยตำรวจควบคุมฝูงชน ตามการนิยามในคู่มือการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[1]
และหากซึ่งในที่นี้จะใช้การให้ความหมายว่า หน่วยตำรวจรักษาสันติภาพ เนื่องจากเป็นภารกิจหลักของหน่วยตำรวจดังกล่าวในการปฏิบัติการควบคุมฝูงชนและการปราบจลาจล การปกป้ององค์การต้นสังกัดในการปฏิบัติงาน และสนับสนุนตำรวจท้องที่ในรูปแบบกองกำลังในระดับกองร้อยปฏิบัติการในการปฏิบัติการรักษาสันติภาพในพื้นที่ต่าง ๆ
ประวัติ
[แก้]หน่วยตำรวจรักษาสันติภาพ ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 โดยร่วมกับคณะผู้แทนสหประชาชาติในคอซอวอ (UNMIK) และองค์การบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก[4]
ในปี พ.ศ. 2550 หน่วยตำรวจควบคุมฝูชนที่เป็นผู้หญิงล้วนชุดแรก – ได้รับการสนับสนุนจากอินเดีย – และได้ถูกนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของคณะผู้แทนสหประชาชาติในไลบีเรีย[5][6] บังกลาเทศได้สนับสนุนหน่วยตำรวจรักษาสันติภาพที่เป็นผู้หญิงล้วนชุดที่สองให้กับคณะผู้แทนสหประชาชาติในเฮติในปี พ.ศ. 2553[7]
สหภาพแอฟริกันจัดตั้งหน่วยตำรวจรักษาสันติภาพแห่งแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2555 เพื่อสนับสนุนคณะผู้แทนสหภาพแอฟริกันในโซมาเลีย[8] ในปีนั้น มีการส่งหน่วยตำรวจรักษาสันติภาพ จำนวน 2 แห่งมีสมาชิก 140 นายไปยังโซมาเลีย โดยแห่งละแห่งมาจากยูกันดาและไนจีเรีย[8]
ณ ปี พ.ศ. 2559 มีหน่วยตำรวจที่ได้รับอนุญาตจากสหประชาชาติจำนวน 71 หน่วย ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่รวมกันกว่า 10,000 นาย[4]
การจัดหน่วยและปฏิบัติการ
[แก้]

การจัดหน่วย
[แก้]หน่วยตำรวจรักษาสันติภาพ เป็นหน่วยจากประเทศเดียวที่มีกำลังพลประมาณ 140 นาย[9] โดยทั่วไปแล้ว หน่วยตำรวจรักษาสันติภาพ จะถูกใช้ในช่วงเริ่มต้นภารกิจและช่วงเพิ่มกำลังพลเพื่อส่งสัญญาณถึงการมีอยู่ที่แข็งแกร่งสูงกว่ากำลังพลเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาสันติภาพที่ปฏิบัติการรายบุคคล[9] เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้สูงสุด หน่วยตำรวจรักษาสันติภาพ 1 หน่วยจะประกอบด้วยตำรวจจากประเทศเดียวกันที่ส่งมาเท่านั้น แทนที่จะมาจากหลายประเทศ[9]
ปฏิบัติการ
[แก้]หน่วยตำรวจรักษาสันติภาพมีหน้าที่ 3 ประการ ได้แก่ การควบคุมฝูงชนและการจลาจล การปกป้องสิ่งอำนวยความสะดวกและบุคลากรขององค์การผู้สนับสนุน และการสนับสนุนตำรวจท้องที่ในสถานการณ์ที่ต้องการทรัพยากรเพิ่มเติม แต่ต้องไม่ถึงระดับของการตอบสนองทางทหาร[9] ในบทบาทหลังนี้ หน่วยตำรวจรักษาสันติภาพที่ติดอาวุธจะทำหน้าที่เป็นเหมือนหน่วยกลางในการเชื่อมต่อการตอบสนองระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละคนที่ไม่ติดอาวุธและหน่วยทหารที่ติดอาวุธ ตามที่ คามิล คูช และ วาเลนตีน่า ทริซซินสก้า กล่าว พวกเขา "ทำงานในที่ที่ต้องแสดงกำลัง ซึ่งเป็นในที่ที่กองทัพมีส่วนในการเข้ามาแทรกแซงมากเกินไป"[10] เช่น ในภารกิจหลักนิติธรรมของสหภาพยุโรปในคอซอวอ หน่วยตำรวจรักษาสันติภาพของสหภาพยุโรปเป็นส่วนการตอบสนองระดับที่สองในปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยสามชั้นของคอซอวอ ชั้นแรกคือตำรวจคอซอวอ และชั้นที่สามคือกองกำลังนาโต้คอซอวอ[11]
การฝึก
[แก้]เจ้าหน้าที่ในหน่วยตำรวจรักษาสันติภาพ จะได้รับการฝึกอบรมจากตำรวจในประเทศที่ให้การสนับสนุน[10] นอกจากนี้ ก่อนการประจำการ เจ้าหน้าที่จะได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมตามคำสั่งขององค์การที่ประจำการ เพื่อให้แน่ใจว่ามีความสามารถขั้นต่ำตามข้อกำหนดและมีมาตรฐานการปฏิบัติงาน ในกรณีของหน่วยควบคุมฝูงชนของสหประชาชาติ หลักสูตรนี้โดยทั่วไปจะมีระยะเวลา 300 ชั่วโมง ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ เช่น การป้องกันระเบิดแสวงเครื่อง การอพยพ ขั้นตอนการคุ้มกันขบวนรถ ความปลอดภัยทางกายภาพ การปฐมพยาบาล และยุทธวิธีควบคุมจลาจล[10]
ในวัฒนธรรมประชานิยม
[แก้]ภาพยนตร์จีนเรื่อง FPU หน่วยพยัคฆ์พิทักษ์ข้ามโลก ผลิตโดย หลิว เหว่ยเฉียง และกำกับโดย ทัท ชู ลี เป็นเรื่องราวสมมติของ FPU ของจีนในภารกิจรักษาสันติภาพในต่างประเทศ[12][13]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 คู่มือการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563) (PDF). สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. 2563.
- ↑ แผนปฏิบัติราชการ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (PDF). กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน. 2562.
- ↑ samso (2011-10-09). "'รักษาสันติภาพ'ตร.ไทยในเวทีโลก". www.komchadluek.net.
- ↑ 4.0 4.1 "Formed police units (FPUs)". un.org. United Nations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 23, 2023. สืบค้นเมื่อ January 29, 2023.
- ↑ Anderholt, Charlotte (2012). Female Participation in Formed Police Units (PDF). United States Army War College. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-29. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
- ↑ Pruitt, Lesley J. (2016). The Women in Blue Helmets. University of California Press. pp. 1–2. ISBN 978-0520290617. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-09. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
- ↑ Simm, Gabrielle (2013). Sex in Peace Operations. Cambridge University Press. pp. 34–35. ISBN 9781107030329. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-09. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
- ↑ 8.0 8.1 Year in Review: United Nations Peace Operations, 2012. New York: United Nations. 2013. ISBN 9789210562195.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 Novosseloff, Alexandra (2014). Parallel Forces: Context, Actors, Legal Authority, and Oversight. International Peace Institute. pp. 7–9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-29. สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Kuć, Kamil (January 2019). "Preparation of Polish police officers for peace missions". Security and Defence Quarterly. 23 (1): 126–143. doi:10.35467/sdq/103349. S2CID 195458088.
- ↑ "EULEX's Formed Police Unit's reconnaissance patrol in action". europa.eu. European Union. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 29, 2023. สืบค้นเมื่อ January 29, 2023.
- ↑ "New film pays tribute to Chinese peacekeeping police". China.org.cn. May 10, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-02. สืบค้นเมื่อ 2023-03-02.
- ↑ Xu, Wei (May 28, 2021). "Honoring China's role in global peacekeeping". SHINE. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-02. สืบค้นเมื่อ 2023-03-02.