ข้ามไปเนื้อหา

หนังสือแสดงตนคนประจำเรือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หนังสือแสดงตนคนประจำเรือของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

หนังสือแสดงตนคนประจำเรือ[1] (อังกฤษ: Seafarers' Identity Documents) เป็นเอกสารยืนยันตัวตนสำหรับคนประจำเรือที่ออกให้โดยประเทศที่ตนถือสัญชาติหรือประเทศต้นทางเพื่อยืนยันว่าได้รับอนุญาตให้ทำงานในเรือเดินทะเล ใช้งานเป็นเอกสารกรณีที่ถูกเลิกจ้างที่นายเรือเป็นผู้ออก บันทึกประวัติในการทำงาน ใช้ในการสมัครงาน ใช้ในการขอใบรับรองแพทย์หรือประกาศนียบัตรสุขภาพ และแสดงความรู้ความสามารถของผู้ถือเอกสารดังกล่าว[2]

หนังสือแสดงตนคนประจำเรือ เป็นเอกสารที่ออกให้ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยเอกสารแสดงตนคนประจำเรือ พ.ศ. 2501 ประเทศที่มีเรือเดินสมุทรสำหรับค้าขาย (เรียกอีกอย่างว่าพาณิชย์นาวี) กำหนดให้คนเดินเรือต้องมีเอกสารประจำตัวที่ระบุตัวตนได้ โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมในอนุสัญญาว่าด้วยเอกสารแสดงตนคนประจำเรือ (แก้ไข) พ.ศ. 2546

สาธารณรัฐประชาชนจีน

[แก้]

ในประเทศจีน สำนักงานความมั่นคงทางทะเล (海事局) จะออกหนังสือเดินทางคนประจำเรือ (海員證) ให้กับคนประจำเรือชาวจีน ซึ่งเป็นพื้นฐานทางกฎหมายที่ออกเป็นข้อบังคับจากกระทรวงคมนาคมตั้งแต่ปี 2551[3] ขณะที่จีนยังไม่ได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญา ILO ฉบับที่ 185 แต่อย่างใด หนังสือเดินทางของคนประจำเรือสามารถอ่านด้วยเครื่องได้และมีอายุห้าปี[4]

ไทย

[แก้]

ในประเทศไทย มีหนังสือแสดงตนคนประจำเรือตามกฎกระทรวงการออกหนังสือสำคัญประจำตัวคนประจำเรือ พ.ศ. 2563 ดูและรับผิดชอบโดยกรมเจ้าท่า มีหนังสือแสดงตนคนประจำเรือ 2 แบบ[5] คือ

  • หนังสือคนประจำเรือ (อังกฤษ: Seaman Book) หน้าปกเป็นสีน้ำเงิน ออกให้กับบุคคลสัญชาติไทยหรือต่างด้าวที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี โดยใช้รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 ใบ บัตรประชาชน และใบรับรองแพทย์ กรณีคนต่างด้าวให้ใช้เหมือนกับคนไทย แต่ใช้สำเนาพาสปอร์ตที่ตรวจลงตราแล้วแทนบัตรประชาชน และเพิ่มหนังสือรับรองการจ้างจากบริษัทหรือเจ้าของเรือ สำเนาบัตรประชาชนผู้ลงนามในหนังสือรับรอง สำเนาหนังสือจดทะเบียนบริษัท กรณีต่ออายุต้องใช้หนังสือคนประจำเรือเล่มเก่า กรณีสูญหายต้องแนบใบแจ้งความเหมือนกันทั้งสัญชาติไทยและต่างด้าว[5]
  • หนังสือคนประจำเรือประมง (อังกฤษ: Seaman Book for Fishing Vessel) หน้าปกเป็นสีเขียว ออกให้กับบุคคลสัญชาติไทยเท่านั้นและมีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี ใช้รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 ใบ บัตรประชาชน และใบรับรองแพทย์ กรณีต่ออายุต้องใช้หนังสือคนประจำเรือเล่มเก่า กรณีสูญหายต้องแนบใบแจ้งควา ขณะที่ต่างด้าวจะไม่สามารถออกให้ได้ ต้องไปใช้ของกรมประมง[5]

หนังสือแสดงตนคนประจำเรือทั้ง 2 รูปแบบ มีอายุ 5 ปี ไม่สามารถใช้แทนกันได้ มีค่าธรรมเนียมฉบับละ 500 บาท และค่าคำร้อง 1 บาท สามารถรับบริการได้จากทั้งกรมเจ้าท่าส่วนกลาง สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค และระบบ e-service[5]

ฟิลิปปินส์

[แก้]

ในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นบ้านของนักเดินเรือประมาณหนึ่งในสี่ในการขนส่งระหว่างประเทศ ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 185 ในปี พ.ศ. 2555 เอกสารประจำตัวคือ สมุดประจำตัวและบันทึกของคนประจำเรือ {Seafarer's Identification and Record Book) ซึ่งเป็นไปตามของอนุสัญญา STCW ด้วย ออกโดย การอุตสาหกรรมทางทะเล โดยมีค่าธรรมเนียม 800 เปโซ และมีอายุ 10 ปี

เยอรมนี

[แก้]

ประเทศเยอรมนียังไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ว่าด้วยบัตรประจำตัวคนประจำเรือ ในเยอรมนี บัตรประจำตัวของคนประจำเรือได้ถูกแทนที่ด้วย สมุดบันทึกของคนประจำเรือ นับตั้งแต่พระราชบัญญัติแรงงานทางทะเลมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นภาคสมัครใจสำหรับนักเดินเรือ สามารถสมัครได้ที่ สำนักงานการเดินเรือและอุทกศาสตร์ของรัฐบาลกลาง (Federal Maritime and Hydrographic Agency) โดยเสียค่าธรรมเนียม 25 ยูโร[6] และมีอายุสิบปี ตามกฎหมายมาตรา 62 ของกฎหมายว่าด้วยความสามารถของคนประจำเรือ

บัตรประจำตัวของคนประจำเรือชาวเยอรมันไม่ได้ใช้แทนหนังสือเดินทางหรือหลักฐานระบุตัวตน[7][8] และจะต้องแยกจากบัตรเดินทางฉุกเฉินสำหรับคนประจำเรือตามมาตรา 13 วรรค 5 และจากบัตรผ่านสำหรับคนประจำเรือตามมาตรา 24 ย่อหน้าที่ 2 ของพระราชกฤษฎีกาถิ่นที่อยู่ (เดิมเรียกว่า บัตรผ่านฝั่ง)

สหรัฐ

[แก้]

เอกสารรับรองการเป็นลูกเรือพาณิชย์ (Merchant Mariner's Document: MMD) ซึ่งก่อนหน้านี้เรียกว่า Z-Card เป็นเอกสารรับรองการเดินเรือพาณิชย์ที่ออกโดยยามฝั่งสหรัฐตามแนวทางของอนุสัญญา STCW และยังคงเป็นหนึ่งในเอกสารมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับลูกเรือของเรือสหรัฐ บนเรือที่มีระวางบรรทุกรวมมากกว่า 100 ตัน จนกว่าจะมีการยกเลิกทั้งหมด เอกสารรับรองการเป็นลูกเรือพาณิชย์ (MMD) ระดับเริ่มต้นช่วยให้คนประจำเรือสามารถทำงานบนดาดฟ้าเป็นกะลาสี (Ordinary Seaman: OS) ในฝ่ายช่างกลเป็นช่างเช็ด (Wiper) หรือในฝ่ายสหโภชน์เป็นผู้ปฏิบัติต่ออาหาร (Food Handler: FH) หากมีประสบการณ์และผ่านการทดสอบ ก็สามารถขอรับการประเมินที่มีคุณสมบัติ เช่น นายท้ายเรือ (Able Seaman: AB) หรือ สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิของฝ่ายช่างกล (Qualified Member of the Engine Department: QMED) ได้ เอกสารดังกล่าวมีขนาดประมาณหนังสือเดินทาง และมีข้อมูลของคนประจำเรือเกี่ยวกับวันเกิด สถานที่ออก สัญชาติ และหน้าที่บนเรือที่ลูกเรือมีสิทธิ์ได้รับ

เอกสารนี้จัดทำขึ้นไม่นานหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 เพื่อรักษาความปลอดภัยในท่าเรือต่าง ๆ ทั่วโลกในขณะที่การก่อวินาศกรรมยังคงเป็นปัญหาสำคัญ ในปัจจุบัน เอกสารนี้ยังคงใช้เพื่อจุดประสงค์นี้ และถือเป็นหลักฐานแสดงตัวตนและหนังสือเดินทางเมื่อคนประจำเรือเรืออยู่ในต่างประเทศ เอกสารนี้จะต้องต่ออายุทุก ๆ ห้าปี

ก่อนช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 บัตร Z-Card นั้นสามารถขอได้ฟรีและใช้ได้ตลอดชีพ แต่มาตรฐานความปลอดภัยในอุตสาหกรรมการเดินเรือได้เพิ่มสูงขึ้น โดยกำหนดให้คนเดินเรือทุกคนต้องต่ออายุเอกสารเหล่านี้และฝึกฝนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันต่อความก้าวหน้าในสาขาของตน ผู้สมัครบัตร Z-Card ทุกคนต้องยื่นคำร้อง เข้ารับการทดสอบยาเสพติด และรอผลการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมให้เสร็จสิ้นก่อนจึงจะได้รับเอกสาร ซึ่งอาจใช้เวลาตั้งแต่ไม่กี่สัปดาห์ไปจนถึงหลายปี

ชื่อ Z-Card มาจากยุคเริ่มแรก เมื่อหมายเลขประจำตัวของลูกเรือจะเริ่มต้นด้วยตัวอักษร "Z" เสมอ

ยามฝั่งสหรัฐได้เริ่มเปลี่ยน เอกสารรับรองการเป็นลูกเรือพาณิชย์ ใบรับรอง STCW และใบรับรองการขึ้นทะเบียนด้วยเอกสารประจำตัวฉบับใหม่ ซึ่งก็คือ หนังสือรับรองนักเดินเรือพาณิชย์ (Merchant Mariner Credential) แบบหนังสือเดินทาง ลูกเรือจะได้รับเอกสารประจำตัวฉบับใหม่เมื่อยื่นคำร้องขอเอกสารฉบับใหม่หรือต่ออายุเอกสารฉบับปัจจุบัน เอกสารรับรองการเป็นลูกเรือพาณิชย์ฉบับปัจจุบันยังคงใช้ได้จนถึงวันหมดอายุ

นอกจากนี้ยังมี หนังสือรับรองประจำตัวพนักงานขนส่ง เป็นเอกสารอีกฉบับสำหรับนักเดินเรือที่อนุญาตให้เข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าเรือที่ได้รับการคุ้มครอง

สหราชอาณาจักร

[แก้]

ใบรับรองกะลาสี (Ordinary Seaman Certificate) คือใบรับรองที่จำเป็นในการได้งานเป็นกะลาสี ซึ่งเป็นลูกเรือในฝ่ายเดินเรือของเรือพาณิชย์ โดยส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลักฐานยืนยันตัวตน การพิสูจน์สุขภาพขั้นต่ำ (อาจรวมถึงการทดสอบยาเสพติด) และอายุขั้นต่ำบางส่วน และมาตรฐานที่กำหนดภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรม การออกประกาศนียบัตร และการเข้ายามสำหรับคนประจำเรือ (STCW) ขณะที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันตามอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 185

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ร่างขอบเขตของงาน (Terms of Refference : TOR) จ้างผลิตเล่มหนังสือคนประจำเรือ (Swaman Book) และหนังสือคนประจำเรือประมง (Seaman Book for Fishing Vessel) อิเล็กทรอนิกส์ (PDF). กรมเจ้าท่า. p. 1.
  2. "ใบรับรองแพทย์ Seaman book เพื่อทำหนังสือคนประจำเรือ - intouchmedicare". intouchmedicare.com.
  3. "中华人民共和国海员证管理办法" (ภาษาจีน). 2019-05-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-24.
  4. "中国新版海员证将于"十一"启用 - 中国网" (ภาษาจีน). 2019-05-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "คู่มือประชาชน วิธียื่นขอรับหนังสือคนประจำเรือ/ประมง (ครั้งแรก/ต่ออายุ/หาย/แก้ไขรายการ) - กองมาตรฐานคนประจำเรือ". ssd.md.go.th. สืบค้นเมื่อ 2024-12-16.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. Nr. 2005 BSH-Gebührenverordnung.
  7. "Seeleute-Ausweis". deutsche-flagge.de (ภาษาเยอรมัน). 2019-04-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-26. สืบค้นเมื่อ 2024-12-17.
  8. Praxishandbuch Seearbeitsrecht. Christian Bubenzer, Runa Jörgens. p. 140. ISBN 978-3-11-031316-1.