ข้ามไปเนื้อหา

หนังสือปกอ่อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หนังสือปกอ่อน ปกเปล่า

หนังสือปกอ่อน (paperback) เป็นรูปแบบหนังสือที่มีเอกลักษณ์ ดูได้จากกระดาษที่หนาหรือปกที่ทำจากกระดาษการ์ด และมักติดเข้ากับหน้าหนังสือด้วยกาวมากกว่าการเย็บหรือลวดเย็บติดกระดาษ ในทางตรงข้าม หนังสือปกแข็งจะหุ้มปกด้วยกระดาษแข็งและมีการหุ้มด้วยสิ่งทอ หน้ากระดาษภายในหนังสือทำด้วยกระดาษ

หนังสือราคาไม่แพงหุ้มด้วยกระดาษมีมาตั้งแต่อย่างน้อยศตวรรษที่ 19 ในรูปแบบของจุลสาร, นวนิยายสิบสตางค์เป็นต้น หนังสือปกอ่อนสมัยใหม่มีขนาดที่หลากหลายในสหรัฐอเมริกาถือเป็นตลาดหนังสือปกอ่อนขนาดใหญ่และที่ใหญ่ไปกว่านั้น และมีมายาวนานกว่า คือ หนังสือปกอ่อนฉบับ trade paper edition ส่วนในสหราชอาณาจักร มีขนาด เอ, บี, และใหญ่สุดคือ ซี[1]

หนังสือฉบับปกอ่อนมักตีพิมพ์เพราะสำนักพิมพ์เห็นว่าเป็นหนังสือทุนต่ำ ทั้งถูกกว่าคุณภาพกระดาษต่ำกว่า รวมถึงการใช้กาวติดมีหนังสือปกแข็งจำนวนไม่มากที่มีต้นทุนต่ำหนังสือปกอ่อนอาจเป็นตัววัดว่าหนังสือเหล่านั้นไม่ได้คาดหวังด้านยอดขายจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น นวนิยายจำนวนมากและการตีพิมพ์ครั้งใหม่หรือการพิมพ์ซ้ำของหนังสือเก่า

เมื่อหนังสือปกอ่อนมีแนวโต้มช่องว่างทำกำไรกว้างกว่าสำนักพิมพ์หลายแห่งมักหาสมดุลของกำไร โดยขายหนังสือปกแข็งจำนวนน้อยกว่าเพื่อให้มียอดขายมากกว่าหนังสือปกแข็งที่มียอดกำไรต่อหน่วนน้อยกว่าหนังสือยุคใหม่ที่ตีพิมพ์ครั้งแรก โดยเฉพาะประเภทนวนิยายมักพิมพ์เป็นหนังสือปกอ่อนส่วนหนังสือขายดีที่ต้องการรักษายอดขายมักพิมพ์ปกแข็ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Wilson-Fletcher, Honor (11 August 2001). "Why Size Matters". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2006-11-16.