หงส์แตร
หงส์แตร | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Anseriformes |
วงศ์: | Anatidae |
วงศ์ย่อย: | Anserinae |
เผ่า: | Cygnini |
สกุล: | Cygnus |
สปีชีส์: | C. buccinator |
ชื่อทวินาม | |
Cygnus buccinator Richardson, 1832 |
หงส์แตร (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cygnus buccinator) เป็นนกอพยพที่มีความทนทานที่สุดที่ดำรงอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ และยังจัดเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของนกน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก[2] เป็นสัตว์คู่กับทวีปอเมริกาเหนือและยังเป็นญาติสนิทของหงส์กู่ในภาคพื้นทวีปยูเรเชีย มีบางหน่วยงานได้พิจารณาให้หงส์กู่และหงส์แตรเป็นสัตว์ที่อยู่ในสปีชีส์เดียวกัน
ลักษณะ
[แก้]หงส์แตรเป็นนกน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยที่ตัวโตเต็มวัยจะมีลำตัวยาว 138-165 เซนติเมตร (วัดปลายจะงอยปากถึงทวารหนัก) แต่เพศผู้สามารถมีขนาดตัวได้ใหญ่สุดถึง 180 เซนติเมตรหรือมากกว่านั้น[2][3][4][5] น้ำหนักตัวโตเต็มวัยอยู่ที่ 7-13.6 กิโลกรัม โดยที่น้ำหนักตัวเฉลี่ยของเพศผู้อยู่ที่ 11.9 กิโลกรัม ส่วนเพศเมียอยู่ที่ 9.3 กิโลกรัม[6][2] มีช่วงกว้างปีกระหว่าง 185-250 เซนติเมตร โดยปีกมีความกว้างขนาด 60-68 เซนติเมตร[3][4][2] หงส์แตรเพศผู้ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกได้ มีขนาดตัวอยู่ที่ 183 เซนติเมตร ช่วงกว้างปีก 3.1 เมตร น้ำหนักตัว 17.2 กิโลกรัม[7]
หงส์แตรโตเต็มวัยจะมีขนเป็นสีขาวทั้งหมด เช่นเดียวกับหงส์กู่ แต่ในวัยเยาว์จะมีขนสีเทาและเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาว ซึ่งสายพันธุ์นี้จะยืนขาตรงและลำคอตรงอยู่เสมอ หงส์แตรมีจะงอยปากรูปทรงลิ่มสำดำขนาดใหญ่ ขนาดราว 10.5-12 เซนติเมตร ซึ่งยาวเป็นสองเท่าของจะงอยปากของห่านแคนาดา (Branta canadensis) มีขาสีเทาอมชมพู มีเท้าขนาด 10.5-12 เซนติเมตร
อาหาร
[แก้]หงส์แตรจะหาอาหารในขณะว่ายน้ำ ซึ่งในบางครั้งพวกมันสามารถดำน้ำไปหาอาหารที่อยู่ถึงพื้นน้ำ อาหารหลักจะเป็นพืชน้ำโดยพวกมันจะกินทั้งใบและลำต้น นอกจากนี้ หงส์แตรยังมีความสามารถในการมุดพื้นน้ำที่เต็มไปด้วยโคลน เพื่อที่จะกินรากและหัวของพืช และในฤดูหนาว พวกมันยังกินหญ้าและธัญพืชในไร่ ซึ่งพวกมันสามารถออกหาอาหารทั้งกลางคืนและกลางวัน โดยที่น้ำหนักตัวจะขึ้นสูงสุดในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการผสมพันธุ์[8] หงส์แตรแรกเกิดจะถูกป้อนอาหารด้วยแมลง, ปลาเล็ก, ไข่ปลา, สัตว์น้ำขนาดเล็ก รวมไปถึงพืชส่วนที่อ่อน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ BirdLife International (2012). "Cygnus buccinator". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 17 July 2012.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Madge, Steve; Burn, Hilary (1988). Waterfowl: An Identification Guide to the Ducks, Geese, and Swans of the World. Boston: Houghton Mifflin. ISBN 0-395-46727-6.
- ↑ 3.0 3.1 Mute Swan, Cornell Lab of Ornithology. Retrieved on 2011-12-18.
- ↑ 4.0 4.1 Ogilvie, M. A.; Young, S. (2004). Wildfowl of the World. New Holland Publishers. ISBN 978-1-84330-328-2.
- ↑ "Trumpeter Swan, Life History, All About Birds". Cornell Lab of Orinthology. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
- ↑ "Arkive – Trumpeter Swan video, photos and facts". Arkive: Images of Life on Earth. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-10. สืบค้นเมื่อ 2012-06-21.
- ↑ Wood, Gerald (1983). The Guinness Book of Animal Facts and Feats. ISBN 978-0-85112-235-9.
- ↑ Squires, J.R. and Anderson, S.H. (1997). "Changes in trumpeter swan (Cygnus buccinator) activities from winter to spring in the greater Yellowstone area". American Midland Naturalist. 138 (1): 208–214. doi:10.2307/2426667. JSTOR 2426667.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- BirdLife Species Factsheet เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Trumpeter Swan – Cygnus buccinator – USGS Patuxent Bird Identification InfoCenter
- Trumpeter Swan Wildlife Notebook – Alaska Department of Fish and Game
- The only Trumpeter Swan at The Wolseley Centre เก็บถาวร 2011-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Wolseley Wildlife
- Trumpeter Swan videos, photos, and sounds เก็บถาวร 2015-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน on the Internet Bird Collection
- WSU Beachwatchers – "Winter Visitors Arrive Trumpeter Swans again feeding in the fields" เก็บถาวร 2011-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน