ข้ามไปเนื้อหา

ส่วนต่อประสานรายคำสั่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพจับหน้าจอของแบช จาก GNOME Terminal 3 ในระบบปฏิบัติการเฟอดอรา 15

ส่วนต่อประสานรายคำสั่ง (อังกฤษ: command-line interface) เป็นรูปแบบหนึ่งของการโต้ตอบกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยการป้อนข้อความเป็นบรรทัด ๆ ซึ่งเรียกว่า บรรทัดคำสั่ง (command line) ส่วนต่อประสานรายคำสั่งเริ่มแพร่หลายในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 บนเครื่องปลายทางคอมพิวเตอร์ โดยเป็นทางเลือกที่ผู้ใช้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับระบบได้ และยังเป็นมิตรกับผู้ใช้อีกด้วย แทนการใช้บัตรเจาะรูซึ่งผู้ใช้ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับระบบได้[1]

ส่วนต่อประสานรายคำสั่งสามารถทำงานได้ผ่านอินเทอร์พรีเตอร์บรรทัดคำสั่ง (command-line interpreter) หรือโปรแกรมประมวลผลบรรทัดคำสั่ง (command-line processor) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีหน้าที่อ่านบรรทัดคำสั่งและทำงานตามคำสั่งที่อ่านได้

ปัจจุบันผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักใช้งานส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้แทนส่วนต่อประสานรายคำสั่ง อย่างไรก็ตาม โปรแกรมจำนวนมาก รวมถึงโปรแกรมอรรถประโยชน์ของระบบปฏิบัติการจำนวนมากไม่มีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ และออกแบบมาให้ใช้งานผ่านส่วนต่อประสานรายคำสั่ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The evolution of command line interface (CLI): A historical insight | Contentstack". www.contentstack.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2025-01-28.