สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล | ||
---|---|---|---|
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2551 | ||
เจ้าของ | มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล | ||
ลีก | ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก | ||
2567 | อันดับที่ 9 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | ||
|
สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล หรือชื่อที่ใช้ในการแข่งขันในอดีตว่า สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เป็นสโมสรฟุตบอลระดับสมัครเล่นในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยแลนด์ เซมิโปรลีก โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เคยคว้ารางวัลชนะเลิศฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ประจำปี 2556 และได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ ฟุตบอลดิวิชัน 3 ฤดูกาล 2559 กลุ่มภาคกลาง
ประวัติ
[แก้]ปี พ.ศ. 2551 มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ได้ก่อตั้งทีมฟุตบอลของมหาวิทยาลัยขึ้นเพื่อใช้ในการแข่งขันฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัย และส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลระดับสมัครเล่นของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยอย่างฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. โดยใช้ชื่อในการแข่งขันว่า สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ง.
[แก้]สโมสรส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลรายการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรกในฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ง 2551/52 โดยปีแรกที่เข้าร่วมแข่งขันสโมสรสามารถผ่านเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศ ก่อนจะแพ้ให้กับมหาวิทยาลัยเกริก และในนัดชิงอันดับ 3 สโมสรแพ้ให้กับ สมาคมประมงอำเภอแหลมสิงห์ 0–2 ทำให้ได้อันดับ 4 ไปครองในฤดูกาลแรก พร้อมกับได้สิทธิเลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. ในฤดูกาลถัดไป
ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค.
[แก้]ในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค. 2552/53 สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ที่เพิ่งเลื่อนชั้นขึ้นมา สามารถผ่านเข้าไปถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ ก่อนจะแพ้ให้กับโรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา 2–1 ตกรอบไปในที่สุด
ต่อมาในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ค. ประจำปี 2553 สโมสรผ่านเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศได้อีกครั้ง และแพ้ให้กับสมาคมกีฬาพนักงานไดชิน กรุ๊ป 0–1
ตกชั้นกลับสู่ถ้วยพระราชทาน ง.
[แก้]ในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. ประจำปี 2554/55 สโมสรทำผลงานได้อย่างย่ำแย่ โดยตกรอบแรกและได้อันดับสุดท้ายของกลุ่ม ทำให้ต้องตกชั้นเป็นครั้งแรก
หลังสโมสรตกชั้นลงมาจากถ้วย ค. การแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ง 2556 สโมสรประสบความสำเร็จเมื่อผ่านเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศ ไปพบกับสโมสรฟุตบอลเชียงราย วันเดอร์ โดยในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน สโมสรสามารถเอาชนะไปได้ 2–1 คว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ง. ไปครอง พร้อมกับได้สิทธิเลื่อนชั้นกลับขึ้นไปแข่งขันในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. อีกครั้งหนึ่ง โดยนับเป็นแชมป์แรกของสโมสรในรายการฟุตบอลที่จัดขึ้นโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย
กลับสู่ถ้วย ค.และเลื่อนชั้นไป ถ้วย ข.
[แก้]ผลงานตามฤดูกาลแข่งขัน
[แก้]ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ผู้ทำประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | จำนวนประตู | |||
รอบ 64 ทีมสุดท้าย |
ความสำเร็จ
[แก้]- ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง.
- อันดับ 4 ประจำปี 2551
- แชมป์ ประจำปี 2556
- ดิวิชั่น 3 ภาคกลาง
- รองแชมป์ ประจำปี 2559
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
สถิติต่าง ๆ
[แก้]- ผลงานดีที่สุดของสโมสร
- รองชนะเลิศ : ฟุตบอลดิวิชัน 3 ฤดูกาล 2559
- ผลงานดีที่สุดในเอฟเอคัพ
- รอบ 64 ทีมสุดท้าย
- ชนะขาดลอยมากที่สุด
- สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 11–1 โรงเรียนสลามมุดดีน (ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ง 2556, วันที่ 16 พฤษภาคม 2557 สนามศูนย์ฝึกหนองจอก) [1]
- แพ้ขาดลอยมากที่สุด
- สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 8–0 สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (ช้าง เอฟเอคัพ 2559, วันที่ 15 มิถุนายน 2559 ไอ-โมบาย สเตเดียม)
สถิติผู้ชม
[แก้]ลีก | รวม | สูงสุด | ต่ำสุด | เฉลี่ย | เปลี่ยนแปลง |
---|---|---|---|---|---|
ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก ฤดูกาล 2566 | 542 | 220 | 52 | 136 |