สแกนเนีย
ไฟล์:SCANIA Logo vector.svg | |
สำนักงานใหญ่ของสแกนเนียในเมืองเซอเดอเท็ลเยอ | |
ชื่อเดิม | บริษัท สแกนเนีย-วาบิส จำกัด (AB Scania-Vabis) |
---|---|
ประเภท | บริษัทย่อย (Aktiebolag) |
ISIN | SE0000308280 |
อุตสาหกรรม | ยานยนต์ |
ก่อนหน้า |
|
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2454; 113 ปีก่อน |
สำนักงานใหญ่ | , |
จำนวนที่ตั้ง | 10 |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | |
ผลิตภัณฑ์ | |
บริการ | บริการทางการเงิน |
รายได้ | 170 พันล้าน ครูนา[2] (2022) |
รายได้จากการดำเนินงาน | 12.37 พันล้าน ครูนา[2] (2565) |
รายได้สุทธิ | 7.86 พันล้าน ครูนา[2] (2565) |
สินทรัพย์ | 290.66 พันล้าน ครูนา[2] (2565) |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 79.62 พันล้าน ครูนา[2] (2565) |
พนักงาน | 56,927 คน[2] (สิ้นปี 2565) |
บริษัทแม่ | ทราทัน (Traton) |
เว็บไซต์ | www |
บริษัท สแกนเนีย จำกัด (สวีเดน: Scania Aktiebolag; อังกฤษ: Scania AB) ใช้ชื่อในผลิตภัณฑ์ว่า สแกนเนีย (SCANIA) เป็นบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่สัญชาติสวีเดน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเซอเดอเท็ลเยอ มุ่งเน้นการผลิตยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์เป็นหลัก โดยเฉพาะรถบรรทุกหนัก รถบรรทุก และรถโดยสาร นอกจากนี้ยังผลิตเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับยานยนต์หนัก ตลอดจนเครื่องยนต์ทางทะเลและอุตสาหกรรมทั่วไป
สแกนเนียก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2454 โดยการควบรวมกิจการระหว่างวาบิส (Vabis) ซึ่งมีฐานอยู่ที่เมืองเซอเดอเท็ลเยอ กับบริษัท เครื่องจักรกลสแกนเนีย จำกัด (Maskinfabriks-aktiebolaget Scania) ซึ่งมีฐานอยู่ที่เมืองมัลเมอ และได้ย้ายที่ตั้งบริษัทไปที่เซอเดอเท็ลเยอหลังจากการควบรวมกิจการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2455
ปัจจุบันสแกนเนียมีโรงงานผลิตในประเทศสวีเดน ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ ไทย จีน อินเดีย อาร์เจนตินา บราซิล โปแลนด์ รัสเซีย และฟินแลนด์[3] นอกจากนี้ยังมีโรงงานประกอบใน 10 ประเทศในทวีปแอฟริกา เอเชีย และยุโรป สำนักงานขาย ศูนย์บริการ และบริษัททางการเงินของสแกนเนียมีอยู่ทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2565 บริษัทมีพนักงานทั่วโลกประมาณ 56,927 คน[3]
สแกนเนียจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ OMX Stockholm ตั้งแต่ปี 2539 ถึง 2557[4][5] ปัจจุบันเป็นบริษัทในเครือทราทัน (Traton) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือฟ็อลคส์วาเกิน (Volkswagen Group)
โลโก้ของสแกนเนียเป็นรูปกริฟฟอน จากตราอาร์มของจังหวัดสกัวเนอ (สวีเดน: Skåne)[6]
ประวัติ
[แก้]ช่วงแรก
[แก้]บริษัท สแกนเนีย-วาบิส จำกัด (AB Scania-Vabis) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2454 จากการควบรวมกิจการระหว่างวาบิส (Vabis) ผู้ผลิตตู้รถไฟที่ใกล้จะปิดตัว ซึ่งมีฐานอยู่ในเมืองเซอเดอเท็ลเยอ และบริษัท เครื่องจักรกลสแกนเนีย จำกัด (Maskinfabriks-aktiebolaget Scania) ผู้ผลิตจักรยาน ซึ่งมีฐานอยู่ในเมืองมัลเมอ
การพัฒนา การผลิตเครื่องยนต์ และยานพาหนะขนาดเล็กถูกกำหนดให้เป็นที่เซอเดอเท็ลเยอ ส่วนรถบรรทุกจะถูกผลิตในมัลเมอ
โลโก้ของบริษัทได้รับการออกแบบใหม่จากโลโก้ดั้งเดิมของ บจ.เครื่องจักรกลสแกนเนีย โดยมีส่วนหัวของกริฟฟอน ซึ่งเป็นตราอาร์มของจังหวัดสกัวเนอ (Skåne) ของสวีเดน อยู่ตรงกลางชุดจานหน้าจักรยานแบบสามก้าน เดิมสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในมัลเมอ แต่ต่อมาก็ได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่เซอเดอเท็ลเยอในปี พ.ศ. 2455[7][8]
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และคริสต์ทศวรรษ 1920
[แก้]เนื่องจากมีการนำเข้ารถยนต์ราคาไม่แพงเข้ามาในสวีเดนเป็นจำนวนมากในเวลานั้น สแกนเนีย-วาบิสจึงตัดสินใจสร้างรถยนต์หรูหราระดับสูง เช่น รถลีมูซีน Type III รุ่นปี พ.ศ. 2463 ซึ่งมีที่ใส่หมวกทรงสูงบนหลังคา เจ้าชายคาร์ลแห่งสวีเดน ทรงเป็นเจ้าของสแกนเนีย-วาบิส 3S รุ่นปี พ.ศ. 2456 ซึ่งเป็นรุ่นที่ติดตั้งปุ่มในรถเพื่อให้ผู้โดยสารสามารถสื่อสารกับคนขับได้ และสแกนเนีย-วาบิสยังสร้างรถสปอร์ตสองที่นั่ง (หรือ "รถยนต์นั่งสมรรถนะสูง")[9]
ในอีกไม่กี่ปีถัดมา ผลกำไรของบริษัทก็ซบเซา โดยคำสั่งซื้อประมาณหนึ่งในสามมาจากต่างประเทศ[7] อย่างไรก็ตาม การปะทุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้เปลี่ยนแปลงบริษัท โดยผลผลิตเกือบทั้งหมดถูกส่งออกไปยังกองทัพบกสวีเดน และทำกำไรได้มากพอที่จะลงทุนในการปรับปรุงโรงงานผลิตทั้งสองแห่งภายในปี พ.ศ. 2459[7]
หลังจากจบสงครามในปี พ.ศ. 2459 สแกนเนียตัดสินใจมุ่งเน้นไปที่การสร้างรถบรรทุกโดยสิ้นเชิง โดยละทิ้งผลผลิตอื่น ๆ รวมถึงรถยนต์และรถโดยสาร[7] อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้รับผลกระทบจากการล้นตลาดของยานพาหนะทางทหารที่ปลดประจำการจากสงคราม และบริษัทก็ล้มละลายในปี พ.ศ. 2464[6]
หลังจากปัญหาทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2464 มีเงินทุนใหม่จากธนาคารสต็อกโฮล์มเอนสกิลดา (Stockholms Enskilda Bank) ซึ่งตระกูลวัลเลนเบิร์ก (Wallenberg) เป็นเจ้าของ และสแกนเนีย-วาบิสก็กลายเป็นบริษัทที่แข็งแกร่งและมีชื่อเสียงในทางเทคนิค
- เดนมาร์ก
ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2456 บริษัทได้จัดตั้งบริษัทย่อยในประเทศเดนมาร์ก ในปีต่อมารถยนต์ชนิดหลังคาเปิดได้ (Phaeton) สี่ที่นั่งที่สร้างขึ้นในเดนมาร์กคันแรกถูกสร้างขึ้นที่โรงงานของบริษัทที่เฟรเดอริกส์เบิร์ก ในโคเปนเฮเกน ในปี พ.ศ. 2457 โรงงานได้ผลิตรถบรรทุกสแกนเนีย-วาบิสคันแรกของเดนมาร์ก และหลังจากนั้นก็ได้พัฒนาเครื่องยนต์ V8 ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์แรก ๆ ของโลก ในปี พ.ศ. 2464 สแกนเนียขายรถบรรทุกได้ประมาณ 175 คัน และรถยนต์ 75 คัน และต่อมากิจการในเดนมาร์กก็ปิดตัวลง[6]
- นอร์เวย์
ในปี พ.ศ. 2460 มีการก่อตั้งข้อตกลงกับ บจ.การยานยนต์นอร์เวย์ จํากัด (Norsk Automobilfabrik A/S) ประเทศนอร์เวย์ ที่จัดตั้งขึ้นใหม่เกี่ยวกับการผลิตรถยนต์และรถบรรทุกภายใต้ใบอนุญาตของสแกนเนีย-วาบิส การผลิตเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2462 แต่สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2464 หลังจากการผลิตรถบรรทุกเพียง 77 คัน ซึ่งส่วนใหญ่สร้างจากชิ้นส่วนที่ผลิตในสวีเดน
สงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สแกนเนียได้ผลิตยานพาหนะทางทหารหลายประเภทให้กับกองทัพสวีเดน เช่น รถถังเบา Stridsvagn m/41 ที่ผลิตภายใต้ใบอนุญาต[6]
คริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1960
[แก้]ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 สแกนเนีย-วาบิสได้ขยายการดำเนินงานไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ โดยเป็นตัวแทนจำหน่ายวิลลีส์ จี๊ป (Willys Jeep) และฟ็อลคส์วาเกิน บีเทิล (Volkswagen Beetle) ซึ่งสร้างผลกำไรให้กับบริษัทอย่างมาก นอกจากนี้ยังเริ่มกลายเป็นคู่แข่งของวอลโว่ด้วยรถบรรทุก L71 รีเจนต์ ใหม่ซึ่งเปิดตัวในปี พ.ศ. 2497[10]
ในช่วงเวลานี้ สแกนเนีย-วาบิสได้ขยายเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายและศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะทางทั่วประเทศ ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 ส่วนแบ่งการตลาดในสวีเดนอยู่ระหว่าง 40–50% และบรรลุเป้าหมาย 70% ในกลุ่มรถบรรทุกที่มีน้ำหนักมากที่สุด โดยได้รับความช่วยเหลือจากความพยายามของตัวแทนจำหน่ายในตลาดการขนส่ง[10]
ผลกระทบใหญ่ที่สุดอยู่ที่ตลาดส่งออก ก่อนปี พ.ศ. 2493 การส่งออกคิดเป็นสัดส่วนเพียง 10% ของผลผลิต แต่ในทศวรรษต่อมา การส่งออกในปัจจุบันอยู่ที่ 50% ของผลผลิต
บจ.เบียส์ (Beers) กลายเป็นผู้นำเข้าอย่างเป็นทางการและหุ้นส่วนที่สำคัญมากของสแกนเนีย-วาบิสในประเทศเนเธอร์แลนด์ และก่อตั้งเครือข่ายตัวแทนจำหน่าย พร้อมด้วยโครงการฝึกอบรมสำหรับช่างเครื่องและคนขับ เบียส์ยังเสนอการยกเครื่องยานพาหนะของลูกค้าฟรีปีละสองครั้ง และนำเสนอบริการเคลื่อนที่ทั่วเนเธอร์แลนด์ด้วยรถบรรทุกบริการ เนื่องจากความพยายามร่วมกันของเบียส์ ส่วนแบ่งการตลาดของสแกนเนีย-วาบิสในเนเธอร์แลนด์จึงยังคงอยู่ที่ 20% อย่างสม่ำเสมอตลอดช่วงเวลานี้ และสแกนเนีย-วาบิสจะนำรูปแบบธุรกิจของเบียส์มาใช้ในการดำเนินธุรกิจการขายในต่างประเทศของบริษัทเอง[10]
ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 สแกนเนีย-วาบิสได้ขยายการดำเนินงานด้านการผลิตไปยังต่างประเทศ ซึ่งก่อนหน้านั้นดำเนินการที่เซอเดอเท็ลเยอเพียงแห่งเดียว แต่ต่อมาบริษัทก็เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการขยายการผลิตไปต่างประเทศ บราซิลกลายเป็นตลาดที่โดดเด่นสำหรับรถบรรทุกหนัก และยังต้องพึ่งพารถโดยสารระหว่างเมืองด้วย โดยมีข้อกำหนดเฉพาะสำหรับถนนบนภูเขาของบราซิล ซึ่งกลายเป็นเส้นทางที่ไม่สามารถสัญจรได้ในบางครั้ง[11] ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 บมจ.สแกนเนีย-วาบิส บราซิล (Scania-Vabis do Brasil S.A.) ซึ่งเป็นบริษัทสาขาบราซิลได้ก่อตั้งขึ้นและเริ่มประกอบรถบางรุ่นด้วยตนเองในปี พ.ศ. 2501 และเปิดตัวโรงงานเครื่องยนต์แห่งใหม่ในเซาเปาลูในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 และตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2503 เป็นต้นมาจึงได้ประกอบรถทั้งหมดด้วยตนเอง[12] ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2505 สแกนเนีย-วาบิสได้ก่อตั้งโรงงานผลิตเต็มรูปแบบแห่งแรกนอกเซอเดอเท็ลเยอ โดยการสร้างโรงงานแห่งใหม่ใกล้เมืองเซาเปาลู และนี่คือการกำหนดมาตรฐานสำหรับการดำเนินงานระหว่างประเทศของสแกนเนีย-วาบิส[11][12]
ใกล้บ้านมากขึ้น ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นก็เสนอโอกาสเพิ่มเติมให้สแกนเนีย-วาบิสสร้างโรงงานแห่งใหม่ในซโวลเลอ ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2507 โดยอิงจากอิทธิพลที่แข็งแกร่งในตลาดเนเธอร์แลนด์[11] โรงงานแห่งใหม่ในเนเธอร์แลนด์นี้ช่วยให้สแกนเนีย-วาบิสก้าวไปสู่อีกห้าประเทศ EEC โดยเฉพาะตลาดเยอรมันและฝรั่งเศส[11]
สแกนเนีย-วาบิสยังคงขยายโรงงานผลิตอย่างต่อเนื่องผ่านการซื้อกิจการ ในปี พ.ศ. 2510 ได้ก่อตั้งบริษัทสาขาแห่งใหม่ชื่อ บจ.รถโดยสารสแกนเนีย (Scania-Bussar) 1 ปีต่อมา การวิจัย การพัฒนาและการผลิตรถบัสถูกย้ายไปที่แคทรีนโฮล์ม[11] มีการเพิ่มสถานที่ผลิตเพิ่มเติมที่ซิบบูลท์ และฟอลุน และจำนวนพนักงานของสแกนเนียก็เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะที่เซอเดอเท็ลเยอ ซึ่งช่วยเพิ่มจำนวนประชากรในเมืองเป็นสองเท่า[11]
นอกจากนี้ สแกนเนีย-วาบิสยังผลิตรถบรรทุกในบอตสวานา บราซิล เกาหลีใต้ แทนซาเนีย เนเธอร์แลนด์ ซิมบับเว และสหรัฐอเมริกา
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 มีการเปิดตัวรถบรรทุกรุ่นใหม่ และในเวลาเดียวกันบริษัทก็ได้เปลี่ยนชื่อให้เหลือเพียงแค่สแกนเนียเท่านั้น นอกจากวาบิสจะหายไปจากชื่อและโลโก้ใหม่แล้ว รถรุ่นปัจจุบันทั้งหมดยังได้รับชื่อรุ่นใหม่อีกด้วย[13]
คริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980
[แก้]ในปี พ.ศ. 2519 ได้มีการเปิดตัวศูนย์อุตสาหกรรมอาร์เจนตินา ไม่กี่เดือนต่อมา ในวันที่ 10 กันยายน ได้มีการผลิตกระปุกเกียร์ชุดแรกนอกประเทศสวีเดน และในที่สุดก็มีการผลิตรถบรรทุก L111 ในเดือนธันวาคม[14] กลายเป็นรถบรรทุกคันแรกของสแกนเนียที่ผลิตในอาร์เจนตินา ในไม่ช้า โรงงานแห่งนี้ก็มีความเชี่ยวชาญในการผลิตกระปุกเกียร์ เพลา และเฟืองท้าย[15]
นอกจากนี้ในอาร์เจนตินา ในปี พ.ศ. 2525 ได้มีการเปิดตัวรถบรรทุกซีรีส์ 2 (Series 2) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ "โปรแกรมสแกนเนีย" ซึ่งประกอบด้วยรถบรรทุก T-112[16] และ R-112[17] ทั้งสองรุ่นมีห้องโดยสาร ตัวเลือกในด้านเครื่องยนต์และความสามารถในการบรรทุกที่แตกต่างกัน ในปี พ.ศ. 2526 ได้มีการเปิดตัวรถโคชรุ่น K112[18] เพื่อทดแทนรุ่น BR-116[19]
ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2528 สแกนเนียเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก โดยเริ่มต้นอย่างเรียบง่ายโดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 200 คันในปี พ.ศ. 2530 (จำหน่ายรถบรรทุกได้ 121 คันในระหว่างปี พ.ศ. 2529[20]) สแกนเนียจำกัดขอบเขตการตลาดไว้ที่นิวอิงแลนด์ซึ่งสถานการณ์คล้ายคลึงกับยุโรปมากกว่า[21]
ยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์และการทหารของสแกนเนีย, วาบิส และสแกนเนีย-วาบิส หลายรุ่นถูกจัดแสดงไว้ที่มาร์คัส วัลเลนเบิร์กฮอลล์ (พิพิธภัณฑ์สแกนเนีย) ในเมืองเซอเดอเท็ลเยอ
เจ้าของ
[แก้]ซ้าบ-สแกนเนีย (พ.ศ. 2512–2538)
[แก้]ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2512 สแกนเนียได้รวมกิจการกับซ้าบ (Saab AB) และก่อตั้งเป็น บริษัท ซ้าบ-สแกนเนีย จำกัด (Saab-Scania AB)[13] เมื่อซ้าบ-สแกนเนียแยกออกจากกันในปี พ.ศ. 2538 ชื่อของแผนกรถบรรทุกและรถบัสจึงถูกเปลี่ยนเป็น บริษัท สแกนเนีย จำกัด (Scania AB) 1 ปีต่อมาได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนชื่อเล็กน้อยเป็น บริษัท สแกนเนีย จำกัด (มหาชน) (Scania AB (publ))
การระงับการเข้าซื้อกิจการของวอลโว่
[แก้]ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2542 วอลโว่ (Volvo) ประกาศตกลงซื้อหุ้นส่วนใหญ่ในสแกนเนีย 49.3% ซึ่งเป็นของบริษัท อินเวสเตอร์ จำกัด (Investor AB) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของสแกนเนีย ในเวลานั้น การเข้าซื้อกิจการใช้เงิน 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (60.7 พันล้านครูนาสวีเดน) และจะกลายเป็นผู้ผลิตรถบรรทุกหนักที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจากไดม์เลอร์ไครสเลอร์ (DaimlerChrysler)[22]
แต่การควบรวมกิจการประสบความล้มเหลว เนื่องจากจากสหภาพยุโรปไม่อนุมัติ โดยให้เหตุผลว่าบริษัทหนึ่งจะมีส่วนแบ่งการตลาดเกือบ 100% ในตลาดนอร์ดิก[ต้องการอ้างอิง]
การระงับการเข้าซื้อกิจการของ MAN
[แก้]ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 เอ็ม.เอ.เอ็น (MAN AG) ผู้ผลิตรถบรรทุกสัญชาติเยอรมนี ยื่นข้อเสนอที่ไม่เป็นมิตรมูลค่า 10.3 พันล้านยูโรเพื่อซื้อสแกนเนีย ลีฟ เอิสต์ลิ่ง (Leif Östling) ซีอีโอของสแกนเนีย ถูกบังคับให้ขอโทษที่เปรียบการเสนอราคาของ MAN เหมือนกับบลิทซ์ครีค ต่อมา MAN ก็ได้ยกเลิกข้อเสนอ แต่ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 MAN ก็ได้เพิ่มสิทธิในการออกเสียงในสแกนเนียเป็น 17%
เครือฟ็อลคส์วาเกิน
[แก้]สแกนเนียถือหุ้น 100% โดยเครือฟ็อลคส์วาเกิน (Volkswagen Group) บริษัทยานยนต์สัญชาติเยอรมัน และเป็นส่วนหนึ่งของบจ.ทราทัน (Traton) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของเครือฟ็อลคส์วาเกินด้านยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ขนาดใหญ่ พร้อมด้วย มันทรัคแอนด์บัส (MAN Truck & Bus), ฟ็อลคส์วาเกินทรัคแอนด์บัส (Volkswagen Camnhões e Ônibus) และนาวิสตาร์ (Navistar)
ฟ็อลคส์วาเกินเข้าซื้อหุ้นของวอลโว่เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 และเข้าซื้อกิจการของสแกนเนียหลังจากความพยายามในการเข้าซื้อกิจการของวอลโว่ถูกยกเลิก และเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 36.4% ในไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2550[23] จากนั้นในเดือนมีนาคม 2551 ฟ็อลคส์วาเกินได้เข้าซื้อกิจการของ บจ.อินเวสเตอร์ (Investor AB) โดยเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 70.94%[24] ข้อตกลงดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 จากนั้น สแกนเนียจึงกลายเป็นตราสินค้าลำดับที่ 9 ในเครือฟ็อลคส์วาเกิน[25] ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ฟ็อลคส์วาเกินได้เข้าควบคุมสัดส่วนการถือหุ้น 100% ของสแกนเนีย
สแกนเนียในประเทศไทย
[แก้]รถบรรทุกสแกนเนียคันแรกได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2529 โดยบริษัท โฟฟร้อนท์ (ประเทศไทย) จำกัด จากนั้นในปี พ.ศ. 2543 Scania CV AB ประเทศสวีเดน ได้เข้ามาลงทุนและจัดตั้งบริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ลงทุนสร้างโรงงานประกอบในจังหวัดฉะเชิงเทราโดยแบ่งสายการประกอบรถบรรทุกและรถโดยสารออกจากกัน ในปี พ.ศ. 2552 ได้สร้างสำนักงานใหญ่แห่งใหม่เป็นทั้งสำนักงานขายและศูนย์บริการที่ครบวงจร ณ จังหวัดสมุทรปราการ บนเนื้อที่ 16 ไร่ ริมถนนบางนา-ตราด[26]
เหตุการณ์
[แก้]ค่าปรับการกำหนดราคา
[แก้]ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 สแกนเนียถูกสหภาพยุโรปปรับเป็นเงิน 880 ล้านยูโร (8.45 พันล้านครูนาสวีเดน) ฐานมีส่วนร่วมในกลุ่มพันธมิตรกำหนดราคานาน 14 ปี[27] สมาชิกอีกห้าคนของกลุ่มพันธมิตร ได้แก่ ไดม์เลอร์ (Daimler), ดัฟ (DAF), มัน (MAN), อีเวโก้ (Iveco) และวอลโว่/เรโนลต์ (Volvo/Renault) ได้ตกลงร่วมกับคณะกรรมาธิการในปี 2559[28]
ธุรกิจในรัสเซีย
[แก้]ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2565 หลังจากการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย สแกนเนียได้ประกาศหยุดดำเนินการในรัสเซีย เนื่องจากรัสเซียบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรและข้อจำกัดการส่งออก ในเดือนมีนาคม สแกนเนียหยุดการส่งมอบรถบรรทุกและชิ้นส่วนไปยังรัสเซีย และหยุดการผลิตในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก[29]
ผลิตภัณฑ์
[แก้]รถบรรทุกและยานพาหนะพิเศษ
[แก้]สแกนเนียพัฒนา ผลิต และจำหน่ายรถบรรทุกที่มีพิกัดน้ำหนักรวมของยานพาหนะ (GVWR) มากกว่า 16 ตัน (คลาส 8) ซึ่งมีไว้สำหรับการขนส่งทางไกล การกระจายสินค้าในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น ตลอดจนการขนส่งในการก่อสร้าง
ในปี พ.ศ. 2506 สแกนเนีย LB76 ได้สร้างชื่อเสียงให้กับสแกนเนีย-เวบิส นอกประเทศสวีเดน โดยเป็นหนึ่งในห้องโดยสารรถบรรทุกรุ่นแรก ๆ ที่ได้รับการทดสอบการชนอย่างละเอียดถี่ถ้วน
ปัจจุบัน
[แก้]รถบรรทุกทั้งหมดของสแกนเนียในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผลิตภัณฑ์รถบรรทุกสแกนเนีย (PRT-range) วางตลาดเป็นซีรีส์ที่แตกต่างกันตามความสูงของห้องโดยสาร
- ซีรีส์ L (L-series) – เปิดตัวในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยมีห้องโดยสารที่ต่ำกว่าซีรีส์ P ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมสำหรับการทำงานในสภาพแวดล้อมชุมชนเมืองที่หนาแน่น และการขนส่งระยะสั้น
- ซีรีส์ P (P-series) – เปิดตัวในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นรุ่นอเนกประสงค์ที่สุด ใช้สำหรับงานทั่วไป ได้แก่ ระดับภูมิภาคและท้องถิ่น การก่อสร้าง และการปฏิบัติการพิเศษต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและบริการ ทุกรุ่นมีห้องโดยสาร P cab ซึ่งมีจำหน่ายหลายรูปแบบ: แบบเตียงนอนเดี่ยว เดย์แค็บกว้างขวาง หัวเก๋งแบบสั้น และแบบยาว (crew cab)
- ซีรีส์ G (G-series) – เปิดตัวในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 นำเสนอทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานในการขนส่งระยะไกลระดับประเทศและการใช้งานในการก่อสร้างแทบทุกประเภท ทุกรุ่นมีห้องโดยสาร G cab มีจำหน่ายทั้งแบบหัวลากและแบบบรรทุก มาพร้อมกับห้องโดยสาร 5 แบบ ได้แก่ ตู้นอน 3 ตู้ เดย์แค็บ และหัวเก๋งแบบสั้น มีรูปแบบเพลาที่แตกต่างกัน สามารถเลือกความสูงแชสซีและระบบกันสะเทือนได้
- ซีรีส์ R (R-series) – เปิดตัวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 และได้รับรางวัลรถบรรทุกนานาชาติแห่งปีในปี พ.ศ. 2548 และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2553[30] ซีรีส์นี้นำเสนอรถบรรทุกหลากหลายประเภทที่ปรับให้เหมาะกับการขนส่งระยะไกล ทุกรุ่นมีห้องโดยสาร R cab มีจำหน่ายทั้งแบบหัวลากและแบบบรรทุก มีรูปแบบเพลาที่แตกต่างกัน และมีตัวเลือกความสูงแชสซีและระบบกันสะเทือน รุ่นที่ทรงพลังที่สุดของซีรีส์นี้คือรุ่น R 730 ด้วยเครื่องยนต์ DC16 เทอร์โบ ดีเซล V8 ขนาด 16.4 ลิตร ให้กำลัง 730 แรงม้า (540 กิโลวัตต์) ที่ 1,900 รอบต่อนาที และแรงบิด 3,500 นิวตันเมตร (2,600 ปอนด์ฟุต) ที่ 1,000–1,350 รอบต่อนาที
- ซีรีส์ S (S-series) – เปิดตัวในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นซีรีส์ที่มีห้องโดยสารสูงที่สุดเท่าที่สแกนเนียเคยสร้างมา มีพื้นราบและมีเตียงเตี้ยที่ขยายได้สูงสุด 100 เซนติเมตร (ประมาณ 3.28 ฟุต)
ในอดีต
[แก้]- CLb/CLc (2454–2470)
- DLa (2454–2469)
- ELa (2455–2469)
- FLa (2454–2467)
- GLa (2457–2466)
- 314/324/325 (2468–2479)
- 335/345/355 (2474–2487)
- L10/F10/L40/F40/L51 ดราบานต์ (2487–2502)
- L20/L60/L71 รีเจนต์ (2489–2501)
- L75/L76/LB76 (2501–2511)
- L55/L56/L66 (2502–2511)
- L36 (2507–2511)
- 50, 80, 85, 110, 140 (2511–2517)
- 81, 86, 111, 141 (2517–2524)
- ซีรีส์ 2: 82, 92, 112, 142 (2523–2531)
- ซีรีส์ 3: 93, 113, 143 (2530–2540)
- ซีรีส์ 4: 94, 114, 124, 144, 164 (2538–2547)
- ซีรีส์ T (2547–2548) – อดีตส่วนหนึ่งของกลุ่มผลิตภัณฑ์รถบรรทุกของสแกนเนีย
รถบัสและรถโคช
[แก้]กลุ่มผลิตภัณฑ์รถบัสและรถโคชของสแกนเนียมุ่งเน้นไปที่แชสซีมาโดยตลอด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ร่วมกับรถบัสและรถโคช แต่ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา เมื่อบริษัทยังคงเป็นที่รู้จักในชื่อสแกนเนีย-วาบิส พวกเขาได้ผลิตรถบัสสำเร็จสำหรับตลาดในสวีเดนและส่วนอื่น ๆ ของสแกนดิเนเวีย และสำหรับภูมิภาคหลักของยุโรปตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา
แชสซี
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รถสำเร็จ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ความร่วมมือ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เครื่องยนต์ดีเซล
[แก้]นอกเหนือจากเครื่องยนต์รถบัสและรถบรรทุกแล้ว เครื่องยนต์อุตสาหกรรมและเครื่องยนต์ทางทะเลของสแกนเนียยังใช้ในชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและในเครื่องจักรขนย้ายดินและการเกษตร ตลอดจนบนเรือและงานฝีมือเพื่อความบันเทิง
การมีส่วนร่วมของสแกนเนียในการผลิตเครื่องยนต์สันดาปภายในเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2440 เมื่อวิศวกร กุสตาฟ เอริกสัน (Gustav Erickson) ได้ออกแบบเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์คันแรกของบริษัท ในช่วงหลายปีต่อมา สแกนเนียได้เติบโตขึ้นจนกลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเครื่องยนต์ที่มีประสบการณ์มากที่สุดในโลก โดยไม่เพียงแต่สร้างเครื่องยนต์สำหรับรถบรรทุกและรถโดยสารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการใช้งานทางทะเลและอุตสาหกรรมทั่วไปด้วย ซึ่งมีการส่งออกไปทั่วโลก[31]
ปัจจุบัน
[แก้]ปีในวงเล็บคือปีที่ใช้งานในยานพาหนะเป็นครั้งแรก
ในอดีต
[แก้]- D10/DS10 6 สูบ 10,261 ซีซี (พ.ศ. 2501)
- D7 6 สูบ 7,167 ซีซี (พ.ศ. 2502)
- D8/DS8 6 สูบ 7,790 ซีซี (พ.ศ. 2505)
- D11/DN11/DS11/DSC11/DSI11 6 สูบ 11,021 ซีซี (พ.ศ. 2506)
- D5/DS5 4 สูบ 5,193 ซีซี (พ.ศ. 2507)
- DI14/DS14/DSC14/DSI14 8 สูบ 14,188 ซีซี (พ.ศ. 2512)
- DC9/DI9/DN9/DS9/DSC9 6 สูบ 8,476 ซีซี (พ.ศ. 2527)
- DC9 6 สูบ 8,974 ซีซี (พ.ศ. 2539)
- DH12/DI12/DSC12/DSI12/DT12 6 สูบ 11,705 ซีซี (พ.ศ. 2539)
- DC11 6 สูบ 10,641 ซีซี (พ.ศ. 2542)
- DC16 8 สูบ 15,607 ซีซี (พ.ศ. 2543)
- DC9 5 สูบ 8,867 ซีซี (พ.ศ. 2547)
ผลิตภัณฑ์อื่น
[แก้]- สแกนเนียยังออกแบบและผลิตเสื้อผ้าที่ออกแบบมาสำหรับคนขับรถบรรทุกโดยเฉพาะภายใต้ชื่อ Scania Truck Gear[32]
- สแกนเนียมีจุดเด่นอยู่ในเกม สแกนเนียทรัคไดรวิงซีมิวเลเตอร์ (Scania Truck Driving Simulator) และยูโรทรัคซีมิวเลเตอร์ 2 (Euro Truck Simulator 2) ซึ่งทั้งคู่พัฒนาโดยเอสซีเอส ซอฟต์แวร์ (SCS Software)
ฐานการผลิต
[แก้]ตารางด้านล่างนี้แสดงสถานที่ตั้งของโรงงานผลิตในปัจจุบัน[33] และในอดีตของสแกนเนีย เนื่องจากปัจจุบันสแกนเนียเป็นเจ้าของส่วนใหญ่โดยฟ็อลคส์วาเกิน ตารางนี้จึงรวมข้อมูลอ้างอิงของเครือฟ็อลคส์วาเกินไว้ด้วย[34]
หมายเหตุ: ช่องที่สองของตาราง 'รหัส VIN โรงงาน' ระบุไว้ในหลักที่ 11 ของหมายเลขประจำตัวยานพาหนะ 17 หลักของยานพาหนะ และรหัสโรงงานนี้จะกำหนดให้กับโรงงานที่ผลิตยานพาหนะที่สมบูรณ์เท่านั้น โรงงานชิ้นส่วนที่ไม่ได้ผลิตรถยนต์ครบชุดจะไม่มีรหัสประจำตัวโรงงานนี้
ชื่อโรงงาน | หมายเลขประจำตัวยานพาหนะ | รหัสประจำตัวผู้ผลิตของโลก | ประเทศ | ที่ตั้ง | อุตสาหกรรมปัจจุบัน | อุตสาหกรรมในอดีต | ผลิตภัณฑ์ | ปีที่เปิดใช้งาน (พ.ศ.) | พิกัด |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อ็องเฌ [34][35] |
9 | VLU | ฝรั่งเศส | อ็องเฌ, จังหวัดแมเนลัวร์, แคว้นเปอีเดอลาลัวร์ |
ประกอบรถบรรทุกสแกนเนีย | 2535 | 47°30′4″N 0°30′55″W / 47.50111°N 0.51528°W | ||
แคทรีนโฮล์ม |
YS4 | สวีเดน | เทศบาลแคทรีนโฮล์ม, เทศมณฑลโซเดอร์มานลันด์ | โครงรถบัสและประกอบตัวถังสแกนเนีย | 58°59′42.7956″N 16°10′7.914″E / 58.995221000°N 16.16886500°E | ||||
ลาห์ตี |
YK900L | ฟินแลนด์ | ลาห์ตี, ปายัต-เฮเม |
ประกอบรถบรรทุกสแกนเนีย | 2550 | 60°57′0″N 25°36′3″E / 60.95000°N 25.60083°E | |||
ลูเลโอ [34][36] |
สวีเดน | เทศบาลลูเลโอ, นอร์บอตเทิน, เทศมณฑลนอร์บอตเทิน |
โครงรถบรรทุกสแกนเนีย, โครงเพลาล้อหลัง | 65°36′48″N 22°7′45″E / 65.61333°N 22.12917°E | |||||
เมปเปิล [34][37] |
เนเธอร์แลนด์ | เมปเปิล, จังหวัดเดรนเทอ |
ส่วนประกอบรถบรรทุกสแกนเนีย และโรงพ่นสี | 52°41′25″N 6°10′24″E / 52.69028°N 6.17333°E | |||||
ออสการ์ชัมส์ [34][38] |
สวีเดน | เทศบาลออสการ์ชัมส์, เศมณฑลคาลมาร์, สมัวแลนด์ |
ผลิตห้องโดยสารรถบรรทุกสแกนเนีย | 57°15′24″N 16°25′42″E / 57.25667°N 16.42833°E | |||||
เซาเบอร์นาร์โด โด กัมโป[34][39] | 3 | 9BS | บราซิล | เซาเบอร์นาร์โด โด กัมโป, มหานครเซาเปาลู, รัฐเซาเปาลู |
โครงรถบรรทุกและรถบัสสแกนเนีย | เครื่องยนต์, กระปุกเกียร์, ส่วนประกอบ เพลา, ห้องโดยสารรถบรรทุก | 2505 | 23°42′49″S 46°33′58″W / 23.71361°S 46.56611°W | |
สวุปสก์ [34][40] |
SZA | โปแลนด์ | สวุปสก์, จังหวัดปอมอแช |
ประกอบรถบัสสแกนเนีย | 2536 | 54°28′42″N 17°0′46″E / 54.47833°N 17.01278°E | |||
เซอเดอเท็ลเยอ [34][41] |
1 2 |
YS2 | สวีเดน | เซอเดอเท็ลเยอ, เทศมณฑลเซอเดอเท็ลเยอ, เซอเดอร์มันลันด์, เทศมณฑลสต็อกโฮล์ม |
โครงรถบรรทุกและรถบัสสแกนเนีย | ส่วนประกอบเครื่องยนต์ | 2434 | 59°10′14″N 17°38′26″E / 59.17056°N 17.64056°E | |
เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก [34][42] |
X8U | รัสเซีย | เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก, เขตสหพันธ์ตะวันตกเฉียงเหนือ |
ตัวถังรถบัส และประกอบรถบรรทุกสแกนเน้ย | 59°53′24″N 30°20′24″E / 59.89000°N 30.34000°E | ||||
ตูกูมัน [34][43] |
8A3 | อาร์เจนตินา | ซานมิเกลเดตูกูมัน, รัฐตูกูมัน |
เพลาล้อหลัง, กระปุกเกียร์, เฟืองท้าย, เพลาขับ | 2519[15] | 26°52′47.5″S 65°7′38″W / 26.879861°S 65.12722°W | |||
ซโวลเลอ [34][44] |
4 5 |
XLE | เนเธอร์แลนด์ | ซโวลเลอ, จังหวัดโอเฟอไรส์เซิล |
ประกอบรถบรรทุกสแกนเนีย | 2507[45] | 52°30′46″N 6°3′48″E / 52.51278°N 6.06333°E |
ในปี พ.ศ. 2558 สแกนเนียได้เปิดโรงงานในเอเชียแห่งแรกในเมืองบังกาลอร์ รัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย โรงงานแห่งนี้ผลิตรถบัสและรถโค้ช
ในเดือนพฤศจิกายน พ ศ. 2563 สแกนเนียได้ซื้อบริษัทรถบรรทุก Nantong Gaokai ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองรู่เกา ทางตะวันออกของจีน เพื่อเริ่มแผนการผลิตรถยนต์ที่นั่น[46]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Board of Directors". Scania AB. สืบค้นเมื่อ 3 May 2021.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "2022 Annual and Sustainability Report" (PDF). Scania AB. pp. 4, 71–72. สืบค้นเมื่อ 28 May 2023.
- ↑ 3.0 3.1 "Key figures Scania (2012)". Scania. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2013. สืบค้นเมื่อ 28 September 2013.
- ↑ "Scania now a publicly listed company". Scania. 1 April 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 9 July 2014.
- ↑ "Scania's application for delisting approved". Scania. 21 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2014. สืบค้นเมื่อ 9 July 2014.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "The history of Scania". TruckerLinks. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2009. สืบค้นเมื่อ 3 June 2009.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 "Scania". Autoevolution. SoftNews NET. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2012.
- ↑ "The history of Scania: 1910 − A new company is born". Scania AB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2015.
- ↑ Ekström, Gert (1984). Svenska bilbyggare. Allt om hobby. ISBN 91-85496-22-7.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "1950 – Growth and new frontiers". Scania. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2009. สืบค้นเมื่อ 7 October 2009.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 "1960 – Expanding production". Scania. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2009. สืบค้นเมื่อ 7 October 2009.
- ↑ 12.0 12.1 "História 1957–1966" (ภาษาโปรตุเกส). Scania Latin America. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2009.
- ↑ 13.0 13.1 Berg, Jørgen Seemann (1995). King of the road i femti år: Norsk Scania AS 1945–1995 (ภาษานอร์เวย์). Oslo, Norway: Norsk Scania AS. p. 85. ISBN 82-993693-0-4.
- ↑ Dl, Esteban (16 June 2012). "Camión Argentino: Scania L/LT 111". camionargentino.blogspot.com.ar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
- ↑ 15.0 15.1 Dl, Esteban (16 February 2012). "Camión Argentino: Scania". camionargentino.blogspot.com.ar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2017. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
- ↑ Camionero, El (2 September 2012). "Camión Argentino: Scania T 112H 4x2". camionargentino.blogspot.com.ar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2017. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
- ↑ Dl, Esteban (30 January 2013). "Camión Argentino: Scania R 112H 4x2". camionargentino.blogspot.com.ar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2017. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
- ↑ Camionero, El (30 June 2012). "Camión Argentino: Scania K 112". camionargentino.blogspot.com.ar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
- ↑ Dl, Esteban (28 May 2012). "Camión Argentino: Scania BR 116". camionargentino.blogspot.com.ar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
- ↑ Stark, Harry A., บ.ก. (1987). Ward's Automotive Yearbook 1987. Vol. 49. Detroit, MI: Ward's Communications, Inc. p. 174. ISBN 0910589007.
{{cite book}}
: CS1 maint: ignored ISBN errors (ลิงก์) - ↑ Kerr, John (December 1986). Barden, Paul (บ.ก.). "View: USA". TRUCK. London, UK: FF Publishing Ltd: 30, 34.
- ↑ "Volvo buys Scania". Diesel Net. Ecopoint. 7 August 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2010. สืบค้นเมื่อ 6 October 2009.
- ↑ "January–March 2007 Interim Report" (PDF). Wolfsburg: Volkswagen. May 2007: 1, 3. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2008. สืบค้นเมื่อ 6 October 2009.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "VW CEO hints there will be no merger of Scania and MAN". Thomson Financial. สืบค้นเมื่อ 21 March 2008. (ต้องลงทะเบียน)[ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง]
- ↑ "Scania has become the ninth brand in the Volkswagen Group" (Press release). Volkswagen. 1 December 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2011. สืบค้นเมื่อ 10 November 2009.
- ↑ "ประวัติสแกนเนียในประเทศไทย". Scania ประเทศไทย.
- ↑ "VW's truckmaker Scania fined 880 million euros for price fixing". Reuters. 27 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2017. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
- ↑ "VW's Scania truck firm fined €880m by EU for price fixing". The Guardian. 27 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2017. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
- ↑ https://www.scania.com/group/en/home/newsroom/press-releases/press-release-detail-page.html/4351117-scania-makes-a-provision-for-russia]
- ↑ "International Truck and Van of the Year 2005". Transport News Network. 4 August 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2010. สืบค้นเมื่อ 6 October 2009.
- ↑ "Scania – Undisturbed pleasure". Kelly's Truck and Marine Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2009. สืบค้นเมื่อ 6 October 2009.
- ↑ "Scania Truck Gear". scania.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2015. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
- ↑ "Production units". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2009. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
- ↑ 34.00 34.01 34.02 34.03 34.04 34.05 34.06 34.07 34.08 34.09 34.10 "Production Plants". Volkswagen. 31 December 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2010. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
- ↑ "France, Angers". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2010. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
- ↑ "Sweden, Luleå". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2011. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
- ↑ "The Nederlands, Meppel". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2011. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
- ↑ "Sweden, Oskarshamn". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2011. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
- ↑ "Brazil, São Paulo". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2011. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
- ↑ "Poland, Slupsk". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2010. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
- ↑ "Sweden, Södertälje". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2010. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
- ↑ "Russia, St. Petersburg". Scania. 2008. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Argentina, Tucamán". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2011. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
- ↑ "The Nederlands, Zwolle". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2011. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
- ↑ "Scania Production Zwolle - scaniaproductionzwolle.com". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 19 March 2015.
- ↑ Sweden's Scania to start making trucks in China after acquisition, Reuters, 24 November 2020