สเตเดียมออฟไลต์
ที่ตั้ง | ซันเดอร์แลนด์ |
---|---|
พิกัด | 54°54′52″N 1°23′18″W / 54.9144°N 1.3882°W |
เจ้าของ | Stadium (Holdings) Limited |
ความจุ | 49,000 |
ขนาดสนาม | 115 × 75 yards (105 × 68 metres) |
พื้นผิว | หญ้า |
การก่อสร้าง | |
เปิดใช้สนาม | ค.ศ. 1997 |
งบประมาณในการก่อสร้าง | £24million[1] |
สถาปนิก | TTH Architects |
ผู้รับเหมาหลัก | Ballast Wiltshire PLC |
การใช้งาน | |
ซันเดอร์แลนด์ (1997–ปัจจุบัน) |
สเตเดียมออฟไลต์ (อังกฤษ: Stadium of Light) เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะอังกฤษ
แผนการสร้างสนาม
[แก้]แต่เดิมทีมซันเดอร์แลน์ใช้สนามโรเกอร์พาร์ค (Roker Park) แต่ในช่วงปี 1997 ก็ได้ทำการย้าย และสร้างสนาม Stadium of Light ขึ้นมาใหม่ แทนสนามเดิม (Roker Park)
ในปี 1996 บริษัท Ballast Wiltsher จำกัด (มหาชน) (บริษัทที่สร้างสนามอัมสเตอร์ดัมอาเรนา) ได้วางแผนสร้างสนามแห่งใหม่ด้วยราคาประมาณ 15 ล้านปอนด์ โดยมีความจะที่ 40,000 คน และต่อมาปี 1997 บริษัทฯ ได้ออกแบบให้สามารถรองรับคนได้ถึง 42,000 คน และการออกแบบที่ดูเรียบง่ายแบบนี้ ทำให้สามารถเพิ่มขนาดอัฒจันทร์ให้มีความจุได้สูงถึง 64,000 คนเลยที่เดียว
ในระหว่างการก่อสร้าง สนามแห่งนี้ยังไม่ได้มีการกำหนดชื่อไว้ก่อน แต่ได้มีการเรียกกันในหมู่ว่า Wearmouth หรือ Monkwearmounth Stadium แต่ในที่สุดประธานสโมสรก็ได้ตัดสินใจเลือกใช้ชื่อที่เขาได้แรงบันดาลใจจากสนามของ Benfica ที่ชื่อ Estadio da Lus ในเมือง Lisbon (ที่แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Stadium of Light) ชื่อนี้อ้างถึงตะเกียงส่องไฟของคนทำเหมือง และที่ตั้งของสนามแห่งนี้ยังสร้างอยู่บนอดีตเหมืองถ่านหิน และแฟนๆ ของทีมซันเดอร์แลนด์กว่าหลายพันคนก็มีอาชีพทำเหมืองอีกด้วย และเป็นการสะท้อนถึงชื่อของสนาม ซึ่ง แสงสว่าง(Light) เป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจสำหรับคนงานที่ต้องลงไปทำงานขุดเจาะเหมืองอันมืดมิด และรอคอยที่จะได้กลับออกมาพบกับแสงสว่างในแต่ละวัน
เมื่อเปิดใช้งาน
[แก้]สนามสเตเดียมออฟไลต์ ได้เปิดอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 30 มิถุนายน 1997 โดยเจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก และในคราวนั้นได้มีการแข่งขันนัดพิเศษกับทีมอายักซ์อัมสเตอร์ดัม
ในฤดูกาลแรกที่เปิดใช้ ในช่วงนั้นทีมซันเดอร์แลนด์เล่นอยู่ในระดับ ดิวิชั้น 1 (ใหม่) มีผู้เข้าชมในสนามประมาณ 30,000 และในบางครั้งก็ถึง 40,000 จนเมื่อปี 1999 ซันเดอร์แลนด์สามารถทำอันดับคะแนนสูงจนสามารถเลื่อนชั้นมาเล่นในระดับพรีเมียร์ลีก ทำให้มีผู้เข้าชมเกมอยู่ในระดับถึง 40,000 คน ฤดูกาล 1999-2000 ซันเดอร์แลนด์มีสนามที่ใช้แข่งขนาดใหญ่เป็นอันดับสาม รองจากสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และ สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด เท่านั้น ต่อมาสโมสรได้ทุ่มงบประมาณอีก 7 ล้านปอนด์ เพื่อขยายอัฒจันทร์ด้านทิศเหนืออีก โดยทั้งหมดเสร็จสิ้นในปี 2000 และทำให้สนามแห่งนี้ สามารถจุผู้ชมได้ถึง 49,000 คนเลยทีเดียว
สนามแห่งนี้เคยถูกใช้เป็นที่แข่งขันฟุตบอลระดับชาติครั้งแรกเมื่อปี 1999 เป็นการแข่งขันกระชับมิตร ระหว่างฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ กับฟุตบอลทีมชาติเบลเยียม และในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกฟุตบอลยูโร 2004 ระหว่างทีมชาติอังกฤษ กับฟุตบอลทีมชาติตุรกี
การใช้งานด้านอื่น
[แก้]มหาวิทยาลัยซันเดอร์แลนด์
[แก้]ปัจจุบันสนามสเตเดียมออฟไลท์ เป็นสถานที่ประกอบพิธีมอบปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยซันเดอร์แลนด์ (University of Sunderland) ให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2004 อีกด้วย และได้รับรางวัลชนะเลิศการใช้งานเชิงสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมของสนามกีฬา จากนิตยสารอาร์เอสวีพี(RSVP) ในปีค.ศ. 2007
คอนเสิร์ต
[แก้]ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2008 สโมสรได้ประกาศแผนงานการใช้สนามสเตเดียมออฟไลท์ในการจัดคอนเสิร์ต เพื่อวางตำแหน่งของสนามด้านยุทธศาสตร์การตลาด ให้เป็นหนึ่งในสถานที่ตัวเลือกจัดคอนเสิร์ตชั้นนำแห่งหนึ่งของสหราชอาณาจักร และสร้างรายได้จากทางอื่นให้แก่สโมสร[2] และมีการใช้สนามจัดงานคอนเสิร์ตทุกปีนับแต่ปีค.ศ. 2009 เป็นต้นมา โดยมีรายชื่อศิลปินชั้นนำเรียงตามปีดังนี้
- ค.ศ. 2009: โอเอซิส, คาซาเบียน[2], เทกแดต[3]
- ค.ศ. 2010: พิงค์[4]
- ค.ศ. 2011: เทกแดต, ร็อบบี วิลเลียมส์, เพตชอปบอยส์[5], คิงส์ออฟลีออน[6]
- ค.ศ. 2012: เรดฮ็อตชิลิเป็ปเปอร์ส[7], โคลด์เพลย์[8], บรูซ สปริงส์ทีนแอนด์ ดิอีสตรีทแบนด์[9]
- ค.ศ. 2013: บองโจวี, ริอานนา, นอร์ทอีสท์ไลฟ์
- ค.ศ. 2014: วันไดเรกชัน, นอร์ทอีสท์ไลฟ์
- ค.ศ. 2015: ฟูไฟเตอส์[10]
- ค.ศ. 2016: ริอานนา[11]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-03. สืบค้นเมื่อ 2012-09-16.
- ↑ 2.0 2.1 "Oasis to play Stadium of Light". Sunderland Echo. 16 October 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-15. สืบค้นเมื่อ 6 December 2008.
- ↑ Carruthers, Marissa (28 October 2008). "Take That to play Stadium of Light". Sunderland Echo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-08. สืบค้นเมื่อ 6 December 2008.
- ↑ "Pink announces support acts". Sunderland A.F.C. 31 March 2010. สืบค้นเมื่อ 2 November 2010.
- ↑ "Take That announce second Stadium of Light gig". Sunderland Echo. 29 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-31. สืบค้นเมื่อ 2 November 2010.
- ↑ Gordon Barr (29 October 2010). "Announced: Kings of Leon, Stadium of Light". The Evening Chronicle. สืบค้นเมื่อ 7 November 2010.
- ↑ "Red Hot Chili Peppers announce Stadium of Light concert". The Northern Echo. 1 November 2011. สืบค้นเมื่อ 1 November 2011.
- ↑ "Sunderland Stadium of Light goes from Red Hot to Coldplay". Sunderland Echo. 11 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-27. สืบค้นเมื่อ 11 November 2011.
- ↑ Bruce Unwin (21 November 2011). "Bruce Springsteen signs up for Sunderland stadium show". The Northern Echo. สืบค้นเมื่อ 24 November 2011.
- ↑ http://www.safc.com/news/club-news/2014/november/foo-fighters-at-sol.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ cite web|url=http://www.hartlepoolmail.co.uk/news/local/rihanna-at-stadium-of-light-ticket-details-announced-new-sunderland-hilton-hotel-to-open-in-time-for-gig-1-7592177 เก็บถาวร 2015-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน