ข้ามไปเนื้อหา

ซูเอ็ตสึมูฮานะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สุเอทสึมุฮานะ)
ซุเอะสึมุฮะนะ หรือ เบะนิฮะนะ หรือ คำฝอย

ซูเอ็ตสึมูฮานะ (ญี่ปุ่น: 末摘花โรมาจิSuetsumuhana; มาลีสีชาด) เป็นบทที่ 6 ของ ตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุราซากิ ชิคิบุ ที่มีทั้งหมด 54 บท

ที่มาของชื่อบท ซูเอ็ตสึมูฮานะ

[แก้]

ซูเอ็ตสึมูฮานะ หรือ เบนิฮานะ (safflower) แปลเป็นไทยว่า ดอกคำฝอย ชื่อวิทยาศาสตร์ Carthamus tinctorius Linn. วงศ์ COMPOSITAE ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุนานราว ๆ 1 ปี มีความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นนั้นจะเป็นสันผิวจะเกลี้ยง ใบ : ใบนั้นจะมีหนามขอบใบหยัก มีลัษณะคล้ายซี่ฟัน มีความยาวประมาณ 3-15 ซม. มีความกว้างประมาณ 1-5 ซม ตรงปลายใบของมันจะแหลมหรือมน มีขนเกลี้ยงทั้งสองด้าน ลักษณะเส้นใบจะเห็นได้ชัด ดอก : ดอกนั้นจะออกเป็นช่อ ก้านดอกจะใหญ่ ผิวจะเกลี้ยงหรือค่อนข้างเกลี้ยง ดอกจะมีเป็นจำนวนมากมีสีส้ม ผล : ผลแห้ง จะมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับเบี้ยว ๆ มีความยาวประมาณ 6-8 มม. ผลจะมีสีขาวงาช้าง ตรงปลาย ตัดมีสันอยู่ 4 สัน และมีระยางค์ยาวประมาณ 5 มม. และมีเกล็ด มีสรรพคุณเป็นสมุนไพร ดอก ใช้เป็นยาระบาย ขับเหงื่อ ระงับประสาท บำรุงเลือดขับระดู รักษาอาการบวม รักษาท้องเป็นเถาดาน อาการไข้หลังคลอด ระงับอาการปวดในสตรีที่รอบเดือนมาไม่เป็นปกติ เป็นยาสามัญประจำบ้าน รักษา อาการป่วยไข้ในเด็ก เป็นยาบำรุงคนที่เป็นอัมพาต ดอกเป็นยาชง ใช้ดื่มร้อน ๆ รักษา โรคดีซ่าน โรคไข ข้ออักเสบ เป็นหวัดน้ำมูกไหล โรคฮิสทีเรีย ให้ต้มอาบเวลาออกหัด ใช้รักษาอาการคันตามผิวหนัง น้ำแช่ ดอกใช้ล้างตาได้ นอกจากนี้ดอกยังมีสารสีส้มหรือสีเหลือง คาร์ธามีน และแซฟฟลาเวอร์ นำมาย้อมผ้า แต่ง สีเครื่องสำอาง แต่งเป็นสีอาหาร ก็ได้ เมล็ด เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ และเป็นยาบำรุง เป็นยาพอกเพื่อลดอาการอักเสบของมดลุกหลังการ คลอดบุตร รักษาอาการเป็นลมเนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก นอกจากนี้น้ำมันจากเมล็ดยังมีคุณค่าทางอาหารและยา ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ใช้ทารักษาอาการปวดเมื่อยในโรคไข้ข้ออักเสบ รักษาแผล และกลีบดอกยังสามารถใช้เป็นสีย้อมผ้าได้สีส้มอมแดง[1]

ในญี่ปุ่น ซูเอ็ตสึมูฮานะ เป็นชื่อโบราณของ เบนิฮานะ แปลตามตัวอักษรว่า ดอกไม้ที่เด็ดปลายกลีบดอก เพราะสมัยโบราณ ปลายกลีบดอกของ ดอกสุเอทสึมุฮานะ นำไปย้อมผ้าได้สีส้มอมแดง

สุเอทสึมุฮานะ ในตำนานเก็นจิ เป็นคำแทนชื่อหญิงสาวที่เป็นภรรยาคนหนึ่งของเก็นจิ เป็นหญิงสาวที่มีจมูกใหญ่ออกสีแดง ดังนั้น ชื่อ สุเอทสึมุฮานะ นอกจากจะเป็นชื่อของดอกไม้แล้ว ยังมีความหมายแฝงอีกอย่างว่า แม่หญิงที่มีจมูก(ฮานะ ในภาษญี่ปุ่นเป็นคำพร้องเสียง ดอกไม้ - จมูก)สีแดงเหมือนสีที่ย้อมด้วยดอกสุเอทสึมุฮานะ

ซูเอ็ตสึมูฮานะ หรือ องค์หญิงแห่งฮิตะจิ ในตำนานเก็นจิ เป็นธิดาขององค์ชายแห่งฮิตะจิ ภายหลังบิดามารดาล่วงลับไปหมดแล้ว นางจึงต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวในคฤหาสน์อันซ่อมซ่อเพราะขาดการดูแล เป็นหญิงอยู่โดยไม่มีญาติคอยสนับสนุนดูแล ชีวิตจึงตกอับลงไปเรื่อยๆทั้งๆที่มีชาติกำเนิดสูง บุคลิคของ สุเอทสึมุฮานะ นั้น มีลักษณะการเคลื่อนไหวแข็งๆไม่นุ่มนวลแบบสตรี นางมันจะใส่เสื้อผ้าเก่าซีดจางล้าสมัยเพราะฐานะการเงินไม่ดี ไม่เชี่ยวชาญด้านกวี สนทนาโต้ตอบอย่างเพราะพริ้งไม่เป็น เย็บปักถักร้อยไม่เก่ง ไม่รู้เรื่องรสนิยมที่ดี เพราะขาดพี่เลี้ยงผู้เชี่ยวชาญสั่งสอนเนื่องจากฐานะอันตกอับ นางมีผมยาวสลวย ทว่ากลับมาจมูกที่โตและแดงกว่าปกติ อย่างไรก็ตามนางเป็นหญิงที่มั่นคงในตัวเก็นจิมาก จนในที่สุดเขาก็รับนางและผู้ติดตามไปดูแลในคฤหาสน์โรคุโจตลอดชั่วชีวิต

ตัวละครหลักในบท

[แก้]
  • เกนจิ

ยศ โคะโนะเอะจูโจ ( Konoe Chuujou พลโทราชองครักษ์ )อายุ 18-19

  • ทะยู

นางกำนัลรุ่นสาว

  • สุเอทสึมุฮานะ

องค์หญิงธิดาขององค์ชายแห่งฮิตะจิ

  • โทโนะจูโจ

สหายรักและพี่ภรรยาของเก็นจิ

  • สะไดจิน

เสนาบดีฝ่ายซ้าย พ่อตาของเก็นจิ อายุ 52-53

  • นาคาสึคาสะ

นางกำนัลของสะไดจิน

  • จิจู

นางกำนัลของสุเอทสึมุฮานะ

  • มุราซากิ

อายุราว 10-11

เรื่องย่อ

[แก้]

ทะยู บุตรีของพี่เลี้ยงคนหนึ่งของเก็นจิ ขณะนี้ทะยูมีหน้าที่เป็นนางกำนัลในราชสำนัก ได้เล่าให้เก็นจิฟังถึงเรื่องราวของ องค์หญิงแห่งฮิตะจิผู้อยู่อย่างเปล่าเปลี่ยวมีเพียงโกะโตะและบิวะเป็นเครื่องดนตรีปลอบใจให้คลายเหงา เก็นจิประทับใจกับเรื่องราวนี้มาก เขาจะไปหาองค์หญิงแห่งฮิตะจิในคืนจันทร์ดวงงามจวนจะเต็มดวงของฤดูใบไม้ผลิ ทะยูขอให้นางเล่นโกโตะให้ฟัง โดยไม่ได้บอกองค์หญิงว่า เก็นจิ อยู่ใกล้ๆนางในสวนที่หอมกรุ่นไปด้วยดอกเหมย องค์หญิงเริ่มบรรเลงเพียงเล็กน้อยและไม่ได้บรรเลงต่อ แต่เสียงโกโตะที่นางบรรเลงนั้นแม้ไม่เด่นเป็นพิเศษจับใจเก็นจิมาก

ระหว่างที่เก็นจิฟังเสียงโกะโตะอยู่นั้น เก็นจิพยายามมองลอดรั้วไม้ไผ่เพื่อจะได้มองเห็นหน้าองค์หญิง ทันใดนั้นมีชายคนหนึ่งมาขวางหน้าเขาไว้ เก็นจิคิดว่านี่คงเป็นชายที่มาพบองค์หญิงแห่งฮิตะจิ เก็นจิจึงซึ่งตัวบังในเงามืด แต่ชายคนนั้นกลับเอ่ยปากพูดคุยกับเก็นจิ เขาคือ โทโนะจูโจนั่นเอง พวกเขาออกจากราชวังมาพร้อมกันในตอนค่ำ โทโนะจูโจแปลกใจกับพฤติกรรมของเก็นจิขณะที่พวกเขากำลังแยกกันเดินทาง เพราะเก็นจิไม่ได้ไปทั้งทางคฤหาสน์ซันโจของภรรยา และไม่ได้กลับคฤหาสน์ถนนนิโจของเขาเองด้วย ดังนั้น โทโนะจูโจ จึงลอบแอบสะกดรอยตามเก็นจิด้วยความอยากรู้ว่าเก็นจะไปที่ใด เก็นจิสำนึกเสียใจว่าตนช่างเดินทางอย่างบุ่มบ่ามจนเป็นที่สังเกตของคนอื่นเกินไป

ต่อมาทั้งเก็นจิ และ โทโนะจูโจ ต่างประชันกันส่งสาร์นเกี้ยวพาให้องค์หญิงแห่งฮิตะจิ ทว่าไม่มีคำตอบใดๆส่งกลับมา จนทั้งสองเริ่มงุนงงว่า องค์หญิงเป็นคนเช่นไรกัน ณ คืนหนึ่ง เก็นจิคะยั้นคะยอให้ทะยู นำทางเขาเข้าหาองค์หญิง ทั้งสองมีความสัมพันธืกันโดยเก็นจิไม่ได้เห็นหน้านางเลย

การซ้อมพีธีแปรพระราชฐานของพระจักรพรรดิคิริสึโบะไปยังตำหนักสุซาคุในเดือนตุลาคมเริ่มต้นขึ้นก่อนหน้านี้กว่าเดือนแล้ว เก็นจิเองก็ต้องฝึกซ้อมทั้งดนตรีและการร่ายรำจนลืมองค์หญิงแห่งฮิตะจิไปเสียสนิท

คืนหิมะโปรย เก็นจิไปหาองค์หญิงแห่งฮิตะจิหลังจากห่างหายไปนาน หลังจากทั้งสองมีค่ำคืนร่วมกันจนรุ่งเช้า แสงยามเช้าทำให้เขาได้เห็นหน้าขององค์หญิงชัดเจนจนเขาตื่นตะลึง นางมีดวงหน้าไม่สะสวยนัก สวมชุดเก่าเชยซีดจางไม่เข้ากับอายุที่ยังสาวสด ประตูคฤหาสน์ทีผุพังเอนลงด้วยน้ำหนักของหิมะ คนเฝ้าประตูแก่ชราและบุตรสาวต้องพยายามช่วยกันเปิดประตูรั้วเป็นเวลานานกว่าจะเปิดออก เก็นจิรู้สึกเห็นใจองค์หญิงมาก จึงช่วยดูแลเรื่องสนับสนุนการเงินและเรื่องต่างๆให้นาง

หลังปีใหม่ เก็นจิไปหาองค์หญิงแห่งฮิตะจิ เขาสงสารนาง แต่ว่าจมูกแดงๆโตๆของนางติดในมโนสำนึกของเขาจนทำมห้เขาไม่อยากไปพบนางอีก เก็นจิกลับไปที่คฤหาสน์นิโจ ที่นี่มีมุราซากิที่แสนน่ารักรอเขาอยู่ เขาเฝ้าถามตัวเองว่า ใยต้องใฝ่หาสตรีอื่นในเมื่อมีสตรีงดงามน่ารักเช่นนี้อยู่เคียงข้างแล้ว ระหว่างที่มุราซากิกำลังฝึกวาดภาพ เก็นจิวาดรูปสตรีมีจมูกสีแดงพร้อมทั้งเอาสีแดงมาแต้มที่จมูกตนเอง แสร้งทำเป็นลบไม่ออก แล้วถามมุราซากิว่า หากเขามีจมูกแดงเช่นนี้จะเป็นอย่างไร มุราซากิไม่ต้องการให้ท่านพี่มีจมูกแดงเช่นนั้น จึงเช็ดสีที่จมูกของเก็นจิออกให้อย่างอ่อนโยน[2]

อ้างอิง

[แก้]