สุเมธ พรมพันห่าว
สุเมธ พรมพันห่าว | |
---|---|
เลขาธิการพรรคเสรีธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2537 – พ.ศ. 2538 | |
ก่อนหน้า | ปรีดี หิรัญพฤกษ์ |
ถัดไป | พินิจ จารุสมบัติ |
รักษาการหัวหน้าพรรคเสรีธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 8 ตุลาคม พ.ศ. 2539 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
ก่อนหน้า | อาทิตย์ อุไรรัตน์ |
ถัดไป | พินิจ จารุสมบัติ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 ตุลาคม พ.ศ. 2482 อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ (ขณะนั้นเป็นจังหวัดหนองคาย) |
เสียชีวิต | 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 (70 ปี) จังหวัดอุดรธานี |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย |
คู่สมรส | นางประสาร พรมพันห่าว |
สุเมธ พรมพันห่าว อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดหนองคาย อดีตเลขาธิการพรรคเสรีธรรม และเป็นผู้เสนอขอจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬต่อสภาผู้แทนราษฎร และคณะรัฐมนตรีเป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2537
ประวัติ
[แก้]สุเมธ พรมพันห่าว เกิดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2482 ที่อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ[1] (ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองคาย) เป็นบุตรของนายชาลี กับนางทองมี พรมพันห่าว
สุเมธ พรมพันห่าว เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ที่โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี รวมอายุ 70 ปี[2]
การทำงาน
[แก้]สุเมธ พรมพันห่าว เริ่มงานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดหนองคาย สังกัดพรรคราษฎร ต่อมาได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคสามัคคีธรรม และร่วมจัดตั้งพรรคเสรีธรรม พร้อมกับนายพินิจ จารุสมบัติ จนกระทั่งได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เลขาธิการพรรคคนที่ 2 ในระหว่างปี พ.ศ. 2537 ถึง พ.ศ. 2539 และได้ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรคเสรีธรรม ภายหลังการลาออกของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ในช่วงปี พ.ศ. 2539 ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคเสรีธรรม แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเสรีธรรมมีคะแนนสนับสนุนจากประชาชนไม่ถึงร้อยละ 5 ตามที่กฎหมายกำหนด ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรค[3]
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ภายหลังการยุบรวมของพรรคเสรีธรรม กับพรรคไทยรักไทย นายสุเมธ ได้ย้ายไปเข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคมหาชน และลงสมัคร ส.ส.ในเขตเลือกตั้งที่ 6 จังหวัดหนองคาย[4] แต่ก็ต้องแพ้ให้กับนายนิพนธ์ คนขยัน จากพรรคไทยรักไทย และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัคร ส.ส.อีกครั้ง ในนามพรรคมัชฌิมาธิปไตย[5] แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ผลงานโดดเด่น
[แก้]สุเมธ พรมพันห่าว มีผลงานที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักของประชาชน คือ การผลักดันการจัดตั้งศาลจังหวัดบึงกาฬ สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย อำเภอบึงกาฬ[6] และการเสนอขอจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ในปี พ.ศ. 2537[7] แต่ในขณะนั้นยังไม่สามารถจัดตั้งได้ เนื่องจากขัดข้องในข้อกฎหมาย[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]กรมการปกครอง
- ↑ มะเร็งตับคร่าสุเมธ พรหมพันห่าวอดีตส.ส.ดับ เก็บถาวร 2010-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก คมชัดลึก
- ↑ "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคความหวังใหม่" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-07-06.
- ↑ การเลือกตั้ง ตอน...แบ่งเขตให้เลือกตั้งจังหวัดหนองคาย[ลิงก์เสีย]
- ↑ รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขต 2[ลิงก์เสีย]
- ↑ มะเร็งตับคร่าชีวิต ”สุเมธ พรหมพันห่าว”อดีต ส.ส.หนองคาย เสียชีวิต ด้วยวัย 71 ปี พระราชทานเพลิงศพเสาร์ 10ก.ค. ล่าสุด สังกัดพรรค ภท.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ครม.มีมติตั้ง "บึงกาฬ" จังหวัดที่ 77 แยกหนองคาย
- ↑ กระทู้ถามที่ ๑๗๖ ร. เรื่อง ขอให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ของ นายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 25ก วันที่ 15 มิถุนายน 2537
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
ก่อนหน้า | สุเมธ พรมพันห่าว | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อาทิตย์ อุไรรัตน์ | รักษาการ หัวหน้าพรรคเสรีธรรม (8 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539) |
พินิจ จารุสมบัติ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2482
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2553
- บุคคลจากจังหวัดบึงกาฬ
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย
- พรรคชาติประชาธิปไตย
- พรรคชาติไทย
- พรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)
- พรรคสามัคคีธรรม
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2535)
- พรรคมหาชน
- พรรคมัชฌิมาธิปไตย
- พรรคภูมิใจไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.