อัลบะกีอ์
ญันนะตุลบะกีอ์ (อาหรับ: جَـنَّـة الْـبَـقِـيْـع) เป็นสุสานในมะดีนะฮ์[1] ประเทศซาอุดีอาระเบีย ตั้งอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของมัสยิดอันนะบะวี และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ บะกีอ์อัลฆ็อรก็อด (อาหรับ: بَـقِـيْـع الْـغَـرْقَـد)[2]
บริเวณนี้เป็นที่บรรจุคนมุสลิมที่สำคัญหลายท่านกับครอบครัวของมุฮัมหมัด โดยเมื่อก่อนมีสุสานชาวยิวอยู่ด้านหลังสุสานนี้จนกระทั่งราชวงค์อุมัยยะฮ์ได้ทำลายสุสานชาวยิวแล้วขยายสุสานนี้ให้กว้างขึ้นจนใกล้กับสุสานของเคาะลีฟะฮ์อุสมาน[3]
ประวัติ
[แก้]เมื่อมุฮัมหมัดมาที่มะดีนะฮ์ในเดือนกันยายน ค.ศ.622 อัล-บะกีอฺยังคงเป็นพื้นที่ที่มีต้นไลเซียม[4]
หลายปีผ่านไป ศพของเคาะลีฟะฮ์อุสมาน อิบนุ อัฟฟาน ถูกฝังอยู่ข้างๆ สุสานชาวยิว การขยายสุสานครั้งแรกเกิดขึ้นโดยมุอาวิยะห์เพื่อยกย่องอุสมาน มุอาวิยะห์ได้รวมสุสานชาวยิวไปอยู่ในสุสานอัล-บะกีอฺและสร้างโดมเหนือสุสานของอุสมาน โดยโดมและสิ่งก่อสร้างได้เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา
การทำลาย
[แก้]สุสานนี้เคยถูกทำลายโดยกองกำลังวะฮะบีย์-ซาอุดีใน ค.ศ. 1806 และ 1925 [5] (หรือ 1926)
โดยครั้งแรกในปี 1806 กองกำลังวาฮาบีย์แห่งแคว้นนัจญ์ปกครองทั้งมักกะฮ์และมะดีนะฮ์ และทำลายศาสนสถานหลายที่ซึ่งรวมถึงสุสานและมัสยิดไม่ว่าจะด้านในหรือข้างนอกก็ตาม[6] ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ พวกเขาทำให้สุสานถูกถมให้เรียบ[7][8] และปล้นสะดมเครื่องประดับและของใช้ต่าง ๆ[9]
การทำลายครั้งที่สองถูกอธิบายในที่ปรึกษาแห่งชาติของอิหร่าน และกลุ่มคนที่ถูกส่งไปที่ฮิญาซเพื่อสอบสวนคดี โดยทั้งนิกายซุนนี่และชีอะฮ์ต้องการฟื้นฟูสุสานแห่งนี้และประนามต่อการทำลายสุสานนี้[10][11] โดยวันนั้นจึงถูกเรียกว่าวันแห่งความเศร้าโศก ("Day of Sorrow") แต่ทางซาอุดีปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและไม่ฟื้นฟูสุสาน ถึงแม้ว่าตอนนี้สุสานอัลบากีอฺมีสภาพดีกว่าตอนที่ถูกทำลาย แต่ความทรงจำของผู้ที่มาเยี่ยมสุสานในอดีตยังคงถูกทิ่มแทงในใจไปอีกนาน[12][เมื่อไร?]
บุคคลสำคัญ
[แก้]ญาติของมูฮัมหมัด
[แก้]- ฮาลีมะฮ์ แม่นมและพยาบาลของมุฮัมหมัด
- ภรรยาของมุฮัมหมัดทุกคน ยกเว้นเคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิดและมัยมุนะ บินต์ อัล-ฮาริธ ถูกฝังที่มักกะฮ์
- อิบรอฮีม ลูกชายของมุฮัมหมัดกับมาเรีย อัล-กิบตียยา เสียชีวิตในวัยเด็ก
- รุก็อยยะฮ์, อุมมุกัลซุม และไซนับ ลูกสาวของมุฮัมหมัดและเคาะดีญะฮ์
- ฟาติมะฮ์ ลูกสาวของมุฮัมหมัดฝังที่นี่ แต่ที่ฝังศพยังคงเป็นข้อสงสัย[13]
- ฟาติมะฮ์ บินตุ์ อัล-อะสัด น้าของมุฮัมหมัดและเป็นแม่ของอะลี
- อับบาซ อิบุน อับดุบมุฏเฏาะลิบ ลุงของมุฮัมหมัด
- อุมมุลบะนิน คนที่แต่งงานกับอะลีหลังจากที่ฟาติมะฮ์เสียชีวิต
- ฮะซัน อิบน์ อะลี หลานของมุฮัมหมัด ลูกของฟาฏิมะฮ์ บินต์ มุฮัมหมัด กับ อะลี
- อิหม่ามไซดุลอาบิดีน เหลนของฟาติมะฮ์ที่รอดจากสงครามกัรฺบาละเนื่องจากว่าเขาป่วยและไม่สามารถต่อสู้ได้
- อิหม่ามมุฮัมหมัด อัล-บากีร ลูกชายของอะลี อิบน์ ฮุเซ็น
- อิหม่ามญะอ์ฟัร อัศศอดิก ลูกชายของมุฮัมหมัด อัล-บากีร
- อับดุลลอฮ์ อิบน์ ญัฟฟา
- อะกีล อิบน์ อาบีฏอลิบ พี่ชายของอะลี
- อุสมาน อิบน์ อัฟฟาน เป็นสาวก ลูกเขยของมุฮัมหมัด และเคาะลีฟะฮ์คนที่ 3 ถูกฝังที่สุสานชาวยิว แต่หลังจากนั้นมุอาวิยะห์ได้ขยายสุสานอัลบากีอฺ[14][15]
- อุษมาน อิบน์ มัสอูน สาวกของมุฮัมหมัด
- อบูซัยด์ อัล-คุดรี
- มาลิก อิบน์ อนัส ทนายความแห่งอิสลาม
- นาฟี อัล-มะดานี หนึ่งในกิรออะฮ์แห่งอัลกุรอ่าน
- อับดุลเมซิดที่ 2 สุลต่านออตโตมันคนสุดท้าย
ไม่ทราบตำแหน่งที่ตั้ง
[แก้]- โมฮัมหมัด ฮัยยา อัล-ซินดี นักปราชญ์
- อิหม่ามชามิล ผู้นำมุสลิมและผู้ต่อสู้จากคอเคซัส
- มุฮัมมัด ซัยยิด ฏ็อนฏอวี นักปราชญ์
- พระเจ้าอิดริสที่ 1 แห่งลิเบีย
- ฮะซัน อัส-เสนุสซี มกุฎราชกุมารแห่งลิเบีย
- มุฮัมหมัด ซาการียา กันดาลาวี นักบรรยาย
- ศาสตราจารย์ ริอาซ อะห์เหม็ด ปัล ประธานคณะวิทยาศาสตร์ชีวภาพประจำมหาวิทยาลัย Quid-e-azim และเป็นผู้ค้นพบปรสิต
ภาพ
[แก้]-
ฮาลีมะฮ์
-
สุสานของฟาฏิมะฮ์ (อันเดียวข้างหน้า) และฮะซัน, ไซดุลอาบิดีน, บากิร กับญะฟัร (อันที่ 2 จากซ้ายไปขวา, 4 สุสานเรียงหน้ากระดาน) และอับบาส อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ (อันเดียวจากข้างขวา)
-
อิบรอฮีม อิบน์ มุฮัมหมัด
-
อุสมาน
-
อับดุลลอฮ์ อิบน์ ญะฟัร และอะกีล อิยน์ อะบีฏอลิบ
-
มาลิก อิบน์ อนัส และนาฟี อัล-มะดานี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Merriam-Webster's Geographical Dictionary. 2001. p. 479. ISBN 0 87779 546 0. สืบค้นเมื่อ 2013-03-17.
- ↑ Werner, Ende (2010). "Baqīʿ al-Gharqad". ใน Fleet, Kate (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam (Third ed.). สืบค้นเมื่อ 28 August 2016.
- ↑ Textual Sources for the Study of Islam, by Knappert, Jan, and Andrew Rippin
- ↑ Muhammad Sadiq Najmi. history of tombs of Imam in Baqi and other monuments (ภาษาเปอร์เซีย). Mashar. p. 67-68. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-19. สืบค้นเมื่อ 2018-08-31.
- ↑ Mohammadi, Adeel (2014–2015). "The destruction of Jannat al-Baqi': A case of Wahhabi Iconoclasm" (PDF). Undergraduate Journal of Middle East Studies. Canada (8): 47–56. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-02. สืบค้นเมื่อ 30 July 2016.
- ↑ Ahmed, Irfan. "The Destruction Of The Holy Sites in Mecca and Medina". Islamica Magazine. No. 15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2011. สืบค้นเมื่อ 7 September 2016.
- ↑ Madelung, Wilfred, บ.ก. (2013). "al-Baqīʿ". Encyclopaedia Islamica (Third ed.).
- ↑ "History of the Cemetery Of Jannat Al-Baqi". Al-Islam.org. สืบค้นเมื่อ 9 September 2016.
- ↑ "Baqi". The Great Islamic Encyclopedia (ภาษาเปอร์เซีย).
- ↑ Shahi, Afshin. The Politics of Truth Management in Saudi Arabia (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 9781134653195. สืบค้นเมื่อ 14 September 2016.
- ↑ Hassan, Sara (27 July 2015). "Protests at Saudi Embassy in Washington". American al-Jazeera. สืบค้นเมื่อ 7 September 2016.
- ↑ Abdellah Hammoudi (2006). A Season In Mecca : Narrative Of A Pilgrimage. p. 95-96. ISBN 9780745601540.
- ↑ Lady Fatima, Islamic Insight, Accessed September 1, 2012.
- ↑ "Al Baqi Cemetery". Al-Mustafa International University (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-07. สืบค้นเมื่อ 20 June 2017.
- ↑ "History of the Cemetery Of Jannat Al-Baqi". Al-Islam.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 June 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Visitation of Baqi
- The oldest photos of Jannat al-Baqi เก็บถาวร 2016-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เปอร์เซีย)
- Jannat al-Baqi website
- Map of Jannat al-Baqi เก็บถาวร 2013-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- History of the Cemetery of Jannat al-Baqi
- The Baqi Collection Photos
- Map of Jannat al-Baqi according to Sunni Muslim sources