สุรเชษฐ์ มาศดิตถ์
สุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (?—2565) รวมไทยสร้างชาติ (2565—ปัจจุบัน) |
สุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ อดีตผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช หลายสมัย
ประวัติ
[แก้]สุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ เกิดวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 เป็นบุตรคนโตของ นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ อดีต ส.ส. นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กับนางสุดา มาศดิตถ์ (เทียมศรไชย) ก่อนหน้าเข้าสู่วงการเมืองนายสุรเชษฐ์ รับราชการในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข
นายสุรเชษฐ์ มีน้องสาวคือ คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นรัฐมนตรีหญิงคนแรกที่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
การศึกษา
[แก้]สุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สาขาสุขศึกษา ปี 2524 และปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ปี 2538
การทำงาน
[แก้]สุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ เริ่มรับราชการในตำแหน่งนักวิชาการสุขศึกษา สังกัดโรงพยาบาลพัทลุง ต่อมาเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช กระทั่งในปี พ.ศ. 2528 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดนครศรีธรรมราช เขตอำเภอพรหมคีรี และในปี พ.ศ. 2535 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องอีกหลายสมัย (พ.ศ. 2535/2, 2538, 2539, 2544, 2548, 2550, 2554)
เขาเคยเป็นที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ (ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์) ในรัฐบาลชวน 2 และเป็นประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ
เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[1] ต่อมาในวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เขาได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ โดยให้เหตุผลว่าไม่พอใจที่ทางพรรคเปิดตัวผู้สมัครคนอื่นในเขตของตัวเอง[2] ในวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 นายสุรเชษฐ์ได้เดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมกับนายพงศ์สินธุ์ เสนพงศ์ น้องชายของนายเทพไท เสนพงศ์[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ “สุรเชษฐ์” โบกมือลา ปชป.ยื่นออกเป็นสมาชิกพรรคแล้ว
- ↑ ไม่ได้มาคนเดียว! ‘น้องเทพไท’กราบลาพระแม่ธรณีบีบมวยผม สมัครซบ‘รทสช.’
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2491
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอทุ่งสง
- สกุลมาศดิตถ์
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรครวมไทยสร้างชาติ
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์