ข้ามไปเนื้อหา

สุพัฒน์ ธรรมเพชร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุพัฒน์ ธรรมเพชร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 เมษายน พ.ศ. 2497 (70 ปี)
อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2535–ปัจจุบัน)
คู่สมรสกุหลาบ ธรรมเพชร

สุพัฒน์ ธรรมเพชร (เกิด 9 เมษายน พ.ศ. 2497) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง 6 สมัย[1] สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ

[แก้]

สุพัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2497 ที่ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เป็นบุตรของนายพุฒ นางปราง ธรรมเพชร[2] ด้านครอบครัวสมรสกับนางกุหลาบ ธรรมเพชร มีบุตรคือ นางสุพัชรี ธรรมเพชร สส.พัทลุง 3 สมัย

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คุรุศาสตรบัณฑิต จาก วิทยาลัยครูสงขลา และระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

การทำงาน

[แก้]

สุพัฒน์ เคยรับราชการเป็นครูที่ โรงเรียนพัทลุง[3]

งานการเมือง

[แก้]

สุพัฒน์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน เดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 6 ครั้ง ก่อนที่จะวางมือทางการเมือง ในที่สุด

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

สุพัฒน์ ธรรมเพชร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 6 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. แค้นสั่งฟ้า 'ซุ้มธรรมเพชร' เด็ด 'เด็กเปี๊ยะ'
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  3. นักการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุง. สานิตย์ เพชรกาฬ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2550
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ช หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕