สุทัตตาภักดิ์ บริรักษ์ภูมินทร์
หน้าตา
สุทัตตาภักดิ์ บริรักษ์ภูมินทร์ | |
---|---|
สัญชาติ | ไทย |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | 2557–2558, 2563–ปัจจุบัน |
ชั้นยศ | พลตรี |
พลตรีหญิง[1] คุณหญิงสุทัตตาภักดิ์ บริรักษ์ภูมินทร์ หรือเดิม สุทัตตาภักดิ์ ยุวราชบริรักษ์ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพระราชทานยศทหาร ซึ่งรวมถึงชื่อสกุล สุทัตตาภักดิ์ บริรักษ์ภูมินทร์ โดยสังกัดกรมทหารรักษาวังมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
ประวัติ
[แก้]พลตรีหญิง สุทัตตาภักดิ์ บริรักษ์ภูมินทร์ เป็นอดีตข้าราชการทหารในสังกัดกองทัพเรือ[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาได้รับพระบรมราชโองการให้โอนเข้ามาเป็นข้าราชการในพระองค์ฝ่ายพลเรือน และโอนเข้ามาเป็นข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหาร สังกัดกรมทหารรักษาวังมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ [2]
ยศและตำแหน่ง
[แก้]- นาวาตรีหญิง[ต้องการอ้างอิง]
- 2 เมษายน 2557 เจ้าพนักงานในพระองค์ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส งานมหาดเล็ก ฝ่ายพระราชวัง กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ดำรงตำแหน่ง ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง[3]
- 16 กันยายน 2557 กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ราชการบริหารส่วนกลาง สำนักพระราชวัง[4]
- 1 กรกฎาคม 2558 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอด นาวาตรีหญิง สุทัตตาภักดิ์ ยุวราชบริรักษ์ ออกจากยศทหาร เนื่องจากมีทัศนคติไม่ดีต่อสถาบัน ไม่มีวินัย ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับ การเป็นข้าราชการ อันเป็นการกระทำผิดวินัยฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง [5]
- พันตรีหญิง[ต้องการอ้างอิง]
- 20 มกราคม 2563 โปรดเกล้าฯ โอน พ.ต.หญิง สุทัตตาภักดิ์ บริรักษ์ภูมินทร์ ตำแหน่ง ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ระดับ 9 ดำรงตำแหน่ง นายทหารปฏิบัติการ กรมทหารรักษาวังมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พ.อ.พิเศษ) และพระราชทานยศ พ.อ.หญิง แต่งกายทหารบก เหล่าทหารราบ[6]
- 26 มกราคม 2564 โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทหารชั้นนายพล และแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหารให้ดำรงตำแหน่ง พันเอกหญิง สุทัตตาภักดิ์ บริรักษ์ภูมินทร์ ดำรงตำแหน่ง นายทหารปฏิบัติการประจำสำนักงานผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ พลตรีหญิง [7]
- 27 กรกฎาคม 2567 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายทหารราชองครักษ์พิเศษ[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[9]
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ โปรดเกล้าฯพระราชทานยศทหารชั้นนายพล พลตรีหญิงสุทัตตาภักดิ์ บริรักษ์ภูมินทร์
- ↑ "โปรดเกล้าฯ โอนขรก.ในพระองค์-พระราชทานยศ 'พันเอกหญิง สุทัตตาภักดิ์'". Bangkokbiznews. 28 January 2020. สืบค้นเมื่อ 21 October 2019.
- ↑ "โปรดเกล้า ฯ นาวาตรีหญิง สุทัตตาภักดิ์ ยุวราชบริรักษ์ กลับเข้ารับราชการในพระองค์". Isranews Agency. 21 October 2014. สืบค้นเมื่อ 4 January 2021.
- ↑ โปรดเกล้าฯ น.ต.หญิงสุทัตตาภักดิ์ ยุวราชบริรักษ์ กลับเข้ารับราชการในพระองค์
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอดยศทหาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (3 ข): 8. 2 กุมภาพันธ์ 2559. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ “พลตรีหญิง นฤมล สัมผัส”
- ↑ โปรดเกล้าฯพระราชทานยศทหารชั้นนายพล พลตรีหญิงสุทัตตาภักดิ์ บริรักษ์ภูมินทร์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้นายทหารสัญญาบัตร แต่งตั้งเป็นนายทหารราชองครักษ์พิเศษ [จำนวน ๕ นาย ๑. พลตรีหญิง คุณหญิงสุทัตตาภักดิ์ บริรักษ์ภูมินทร์ ฯลฯ]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๓, ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔