ข้ามไปเนื้อหา

สุชาติ แก้วนาโพธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุชาติ แก้วนาโพธิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 มิถุนายน พ.ศ. 2488 (79 ปี)
อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2529–2548)
ชาติไทย (2548–2551)

สุชาติ แก้วนาโพธิ์ (เกิด 23 มิถุนายน พ.ศ. 2488) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร 6 สมัย

ประวัติ

[แก้]

สุชาติ เกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของนายปาน กับนางหึด แก้วนาโพธิ์[1] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ด้านบริหารการศึกษา จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และระดับปริญญาโท สาขาบริหาร จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

การทำงาน

[แก้]

สุชาติรับราชการในตำแหน่งครู ที่โรงเรียนวัดถ้ำเขาล้าน ใน พ.ศ. 2507 ต่อมา ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ที่ โรงเรียนบ้านหนองปลา ใน พ.ศ. 2509 ถึง พ.ศ. 2529[2]

งานการเมือง

[แก้]

สุชาติ ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกเรื่อยมารวม 6 ครั้ง [3]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

สุชาติ แก้วนาโพธิ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  2. นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร. วัชระ ศิลป์เสวตร์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2556
  3. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๓, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๒๔