สีคิริยะ
หน้าตา
7°57′25″N 80°45′35″E / 7.95694°N 80.75972°E
นครโบราณสีคิริยะ * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
ประเทศ | ศรีลังกา |
ภูมิภาค ** | เอเชีย-แปซิฟิก |
ประเภท | ทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | ii, iii, iv |
อ้างอิง | 202 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 1982 (คณะกรรมการสมัยที่ 6) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
สีคิริยะ (สิงหล: සීගිරිය) หรือ หินราชสีห์ เป็นเมืองในอำเภอมาตเล จังหวัดกลาง ตอนกลางของประเทศศรีลังกา ประกอบด้วยหินปลักภูเขาไฟความสูงประมาณ 370 เมตร ป้อมปราการและปราสาทโบราณ รายล้อมด้วยสวนหย่อมและระบบชลประทาน ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของศรีลังกา โดยเฉพาะจิตรกรรมฝาผนังโบราณ[1] ได้รับการพิจารณาเป็นมรดกโลกหนึ่งในแปดแห่งของประเทศ[2]
สีคิริยะมีประชากรอยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีหลักฐานการสร้างวิหารพุทธมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ในคัมภีร์มหาวงศ์ระบุว่าป้อมปราการเหล่านี้สร้างขึ้นในคริสตศวรรษที่ 5 โดยพระเจ้ากัสสปะ ระหว่าง ค.ศ. 447 ถึง ค.ศ. 495 เพื่อป้องกันการชิงราชบัลลังก์จากพระเจ้าโมคคัลลานะ พระเชษฐาของพระองค์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bandaranayake, Senake. Sinhalese Monastic Architecture. 1974, page 321
- ↑ "Central Cultural Fund". Ministry of Cultural Affairs and National Heritage. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-13. สืบค้นเมื่อ 2008-10-19.