สิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์
หน้าตา
สิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งพิมพ์ที่รวบรวมงานข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูล ความรู้ ผลการทดลอง สาระทั้งที่เป็นทางวิชาการและอ่านได้ทั่วไป โดยทั่วไปแล้ว สิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ สามารถแยกเป็น 4 ประเภทคือ [1]
- สิ่งตีพิมพ์ปฐมภูมิ (Primary Publications)
- สิ่งตีพิมพ์ทุติยภูมิ (Secondary Publications)
- สิ่งตีพิมพ์ตติยภูมิ (Tertiary Publications)
- นวนิยายวิทยาศาสตร์ (Science Fiction)
สิ่งตีพิมพ์ปฐมภูมิ (Primary Publications)
[แก้]เป็นสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่ผลงานที่ยังมิได้มีการพิมพ์เผยแพร่มาก่อน เนื้อหาครอบคลุม สิ่งที่ได้จากการทดลอง ค้นคว้า วิจัย ปาฐกถา อภิปราย หรือเรียบเรียงขึ้นใหม่ ครอบคลุมสิ่งพิมพ์ประเภท
- วารสารนิตยสาร (Periodicals)
- บทความประชุมทางวิชาการ (Conference papers)
- เอกสารตีพิมพ์ล่วงหน้า (Preprints)
- สิ่งพิมพ์ของสถาบัน (Institutional publications)
- เอกสารการวิจัย (Research monographs)
- รายงานการวิจัย (Research reports)
- สิทธิบัตร (Patents)
- เอกสารมาตรฐาน (Standards)
- วิทยานิพนธ์และปริญญานิพนธ์ (Dissertations & Thesis)
- สิ่งพิมพ์ของโรงงาน (Manufacturers' publications)
สิ่งตีพิมพ์ทุติยภูมิ (Secondary Publications)
[แก้]เป็นสิ่งพิมพ์ที่เกิดจากการนำสิ่งพิมพ์ปฐมภูมิมาเรียบเรียงใหม่อย่างมีระบบแบบแผน เพื่อให้ง่ายต่อการค้นคว้า สิ่งพิมพ์ประเภทนี้ ได้แก่
- ประเภทดรรชนี (Indexes types)
- ประเภทการสำรวจ (Survey types)
- หนังสืออ้างอิง (Reference books)
- สิ่งพิมพ์แปล (Technical translations)
สิ่งตีพิมพ์ตติยภูมิ (Tertiary Publications)
[แก้]คือ สิ่งพิมพ์ที่เกิดจากผลของการศึกษาค้นคว้า หรือเรียบเรียงขึ้นใหม่อย่างมีระเบียบแบบแผน โดยอาศัยหลักฐานข้อมูลจากสิ่งพิมพ์ปฐมภูมิ สิ่งพิมพ์ทุติยภูมิ ซึ่งครอบคลุมสิ่งพิมพ์ประเภท
- หนังสือตำรา (Textbooks)
- หนังสือชีวประวัติ (Biographies)
- นามานุกรม (Directories)
- คู่มือวรรณกรรม (Literature guide)
นวนิยายวิทยาศาสตร์ (Science Fiction)
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ธิดา โพธิพุกกณะ. วรรณกรรมวิทยาศาสตร์. สงขลา : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ๒๕๒๑