ข้ามไปเนื้อหา

สินค้าคงคลัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สินค้าคงคลัง (อังกฤษ: inventory) หรือ วัสดุคงคลัง หมายรวมถึงสินค้าและวัสดุที่เก็บไว้อยู่ในกระบวนการผลิต ทั้งก่อนผลิต ระหว่างผลิต และผลิตสำเร็จรอจำหน่าย ในบางบริบทอาจหมายถึงสินค้าสำเร็จเท่านั้น สินค้าคงคลังถือว่าเป็นสินทรัพย์ขององค์กรธุรกิจ และเพื่อไม่ให้การดำเนินธุรกิจขาดตอน จึงจำเป็นต้องมีการจัดการสินค้าคงคลัง

ประเภทของสินค้าคงคงคลัง

[แก้]
  1. วัตถุดิบ (Raw materials) เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตนำมาใช้ในกระบวนการผลิต หรือแปรรูปให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปขึ้นมาจำหน่ายในภายหลัง รวมถึงอาจรวมถึงสิ่งของที่บริษัทหรือผู้ผลิตเลือกซื้อมาจากบริษัทอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
  2. งานที่อยู่ในกระบวนการผลิต (Work in progress) เป็นสินค้าที่มีขั้นตอนในการผลิตที่ค่อนข้างจะซับซ้อน หรือ หลายขั้นตอน ทำให้ที่มีการทำงานที่อยู่ในกระบวนการผลิตขึ้นมาก่อนที่จะนำเข้าไปในกระบวนการต่อไป โดยงานในกระบวนการผลิตนั้น จะเป็นสินค้าคงคลังที่ผลิต แปรรูป ที่อยู่ในลักษณะที่ไม่สมบูรณ์ รอการแปรรูปอีกรอบเพื่อให้สินค้าพร้อมจำหน่ายนั่นเอง
  3. สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) เป็นสินค้าที่ถูกผลิตออกมาสมบูรณ์แบบแล้ว และพร้อมที่จะนำไปวางจำหน่ายให้กับลูกค้า โดยกระบวนการผลิตสินค้าในแต่ละขั้นตอนก็จะมีการตรวจเช็คคุณภาพของสินค้าทุกชิ้นและทุกสินค้าก่อนนำไปจำหน่าย ดังนั้นสินค้าสำเร็จรูปก็คือการสต๊อกสินค้าที่พร้อมนำไปจำหน่ายแล้วนั่นเอง
  4. วัสดุ อุปกรณ์สำหรับซ่อมบำรุง เป็นสิ่งที่ไม่ได้ใช้ในกระบวนการสร้างหรือผลิตโดยตรง แต่จะถูกใช้ในการซ่อมแซการผลิตสินค้า เช่น น้ำมันหล่อลื่นที่ถูกใช้งานกับเครื่องจักรในโรงงาน หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในคลังสินค้า เป็นต้น[1]

สาเหตุที่ต้องจัดเก็บสินค้าคงคลัง

[แก้]

มีสาเหตุหลัก 3 ประการในการจัดเก็บวัสดุคงคลัง

  1. เวลา - ความล่าช้าในระบบห่วงโซอุปทาน จากผู้จัดหา ไปสู่ผู้ใช้ในทุกๆขั้นตอน ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องมีวัสดุคงคลังเอาไว้เพื่อป้องกันเหตุการณ์วัสดุหมดคลัง (อังกฤษ: shortage) ซึ่งเวลาที่ใช้ในการดำเนินการนั้นเรียกว่า "เวลานำ" (อังกฤษ: lead time)
  2. ความไม่แน่นอน - วัสดุคงคลังถูกใช้เป็นกันชน (อังกฤษ: Buffer) เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในระบบโซ่อุปทาน
  3. ปริมาณมัธยัสถ์ (อังกฤษ: Economic of Scale) - การจัดหาวัสดุในปริมาณๆหนึ่ง เพื่อการลดต้นทุนดำเนินการ ทำให้ต้องแบกรับวัสดุคงคลังเอาไว้

ซึ่งเหตุผลในการถือวัสดุคงคลังนี้สามารถใช้ได้ในทุกๆส่วนของระบบโซ่อุปทาน

  • กันชน (อังกฤษ: Buffer Stock/ Safety Stock) สามารถใช้ได้ในทุกๆหน่วยดำเนินการในระบบปฏิบัติการ เพื่อป้องกันเหตุไม่พึงประสงค์อันอาจจะเกิดขึ้นกับหน่วยงานก่อนหน้า (Upstream) อันก่อให้เกิดการส่งมอบงานล่าช้า กันชนนี้จะถูกนำมาใช้เพื่อที่หน่วยงานนั้นจะได้สามารถดำเนินการต่อได้อย่างราบรื่น อย่างไรก็ตาม การมีวัสดุคลคลังชนิดนี้มากเกินไป จะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาที่เพิ่มขึ้น

การแบ่งประเภทของวัสดุคงคลังข้างต้น สามารถนำไปใช้ได้ในทุกๆส่วนของห่วงโซ่อุปทาน

ในการจัดเก็บวัสดุจำพวกเดียวกัน หรือคล้ายๆกัน มักจะจัดเก็บเอาไว้ด้วยกันแบบคละๆ ระหว่างกระบวนการย่อยที่มีความเชื่อมโยงกัน เพื่อลดต้นทุนการจัดเก็บ เนื่องจากการจัดเก็บแบบผสมกัน จึงทำให้ผู้ปฏิบัติการที่ข้องเกี่ยวไม่สามารถแยกแยะวัสดุได้ด้วยตาเปล่า หรือไม่มีเส้นแบ่งชนิดวัสดุ อันจะก่อให้เกิดเหตุไม่พึงประสงค์บางอย่าง และควรที่จะมีใครสักคนรับผิดชอบต่อวัสดุเหล่านี้ เพื่อป้องกันความผิดพลาด บางโรงงานใช้วิธีรวมวัสดุเข้ามาไว้ที่ศูนย์กลางเพื่อความแม่นยำในการจัดส่งมอบงาน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. admin (2023-08-16). "สินค้าคงคลัง (Inventory) คืออะไร ? มีกี่ประเภท มีวิธีบริหารจัดการอย่างไร". Packhai (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).