สิทธิพร ขำอาจ
สิทธิพร ขำอาจ หรือ "จ่ามี"[1] เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 1 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นอดีตนักโทษในคดีร่วมกันฆ่านางปัทมา เฟื่องประยูร มารดานางคมคาย พลบุตร อดีต ส.ส.จันทบุรี พรรคประชาธิปัตย์[2]
ประวัติ
[แก้]สิทธิพร ขำอาจ เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2499 เขาเข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่โรงเรียนพาณิชย์การราษฎร์รวมเจริญ แต่เรียนไม่จบจึงย้ายไปเรียนที่โรงเรียนตำรวจภูธรภาค 2
หลังจากจบโรงเรียนตำรวจภูธร ได้เข้ารับราชการตำรวจสังกัดสำนักงานเลขานุการกรมตำรวจได้ 2 ปี จึงย้ายไปสังกัดกองปราบปราม ต่อมาจึงลาออกจากราชการเพื่อทำธุรกิจส่วนตัว
งานการเมือง
[แก้]สิทธิพร ขำอาจ ได้รับการชักชวนให้ลงสนามการเมือง ในครั้งแรกลงสมัครรับเลือกตั้งในปี 2538 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539
คดีความ
[แก้]สิทธิพร ขำอาจ ถูกศาลตัดสินเมื่อ พ.ศ. 2555 ในคดีร่วมกันฆ่านางปัทมา เฟื่องประยูร อดีตผู้ใหญ่บ้านในตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นมารดาของนางคมคาย พลบุตร อดีต ส.ส.จันทบุรี พรรคประชาธิปัตย์ โดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนลงโทษยืนตามศาลชั้นต้น ให้ประหารชีวิตฐานเป็นผู้ใช้จ้างวานให้ฆ่าผู้อื่น แต่ให้การรับสารภาพ ลดโทษให้ 1 ใน 3 เหลือจำคุกตลอดชีวิต[3] ซึ่งคดีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2540 โดยนายสิทธิพร ได้วางแผนฆ่านายสนิท เฟื่องประยูร สมาชิกสภาจังหวัดจันทบุรี แต่นางปัทมา เฟื่อประยูร ผู้เป็นภรรยาเป็นผู้เสียชีวิตแทนในเหตุการณ์ดังกล่าว[4]
เขาได้รับการปล่อยตัวเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2564[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]สิทธิพร ขำอาจ เคยได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ก่อนจะถูกเรียกคืนภายหลังเนื่องจากต้องโทษจำคุก
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ปิดฉากเหียหนิด-สนิท เฟื่องประยูร
- ↑ ประหาร'สจ.รักษ์-จ่ามี'คดีฆ่าแม่สส.คมคาย
- ↑ ฎีกาประหารจ่ามี-สจ.รักษ์ฆ่าแม่คมคาย
- ↑ ฎีกาตัดสินยืน ประหาร ‘จ่ามี’-ส.จ.รักษ์
- ↑ “ผมคิดว่า เป็นกรรมเวรที่ผมทำไว้ ไอ้สิ่งที่ได้ทำ ไม่ติดคุก แต่ไอ้สิ่งที่ไม่ได้ทำ เสือกติดคุก”
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙