ข้ามไปเนื้อหา

สิทธิชัย กิตติธเนศวร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิทธิชัย กิตติธเนศวร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 เมษายน พ.ศ. 2495 (72 ปี)

สิทธิชัย กิตติธเนศวร เป็นนักการเมืองชาวไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก 3 สมัย ระหว่างปี 2539 ถึงปี 2549 และเป็นพี่ชายของ วุฒิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.นครนายก ผศ.ดร.วุฒิพงศ์ กิตติธเนศวร อดีตนายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อดีตรองประธานคณะกรรมการมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และนาย โชคชัย กิตติธเนศวร สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 13

ประวัติ

[แก้]

สิทธิชัย กิตติธเนศวร หรือ เสี่ยแหมะ[1] เกิดวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2495 เป็นบุตรของนายกิมไฮ้ กับนางซิวคี้ แซ่โง้ว จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และ ศิลปศาสตรบัณฑิต จาก สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ เขามีบุตร 2 คนคือ นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก และ น.ส.กนกวรรณ กิตติธเนศวร[2]

การทำงาน

[แก้]

สิทธิชัย กิตติธเนศวร ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายกครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ต่อมาในปี 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 2 พร้อมกับน้องชาย คือ วุฒิชัย กิตติธเนศวร ในนามพรรคชาติไทยเช่นเดิม

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 เขาและน้อยชายจึงย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย กระทั่งในปี 2550 เขาถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ตามคำวินิจฉัยในคดียุบพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ หรือถูกเรียกในกลุ่มว่า "สมาชิกบ้านเลขที่ 111"

สิทธิชัย กลับเข้าสู่การเมืองอีกครั้งโดยเข้ารับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย โดยหลีกทางให้น้องชายลงสมัคร ส.ส.แบบเขตเลือกตั้งซึ่งจังหวัดนครนายกเหลือเพียงเขตเดียว[1] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวน ส.ส.พึงมีน้อยกว่าจำนวน ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 เขาจึงลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายกในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563[1] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 เรตมวยเก๋า ส.ส.เสื้อแดง ลุยสังเวียน อบจ.
  2. รับเหมาแห่ง 2 “เสี่ยแหมะ”โยกหุ้น 8 ครั้งรวด “ชาย”ปริศนาโผล่ 95 ล้าน
  3. ""ปาร์ตี้ลิสต์" จัดเต็ม 7 พรรค เปิดบัญชีรายชื่อ 56-150 คน ฉบับสมบูรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-06.
  4. "ผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครนายก อย่างไม่เป็นทางการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-06. สืบค้นเมื่อ 2021-06-06.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓