ข้ามไปเนื้อหา

สิตาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิตาร์
เครื่องสาย
ประเภท
Hornbostel–Sachs classification321.321
(คอร์ดโดโฟนแบบคอมโพสิตที่เล่นเสียงด้วยปิ๊ก)
คิดค้นเมื่อศตวรรษที 18
เครื่องดนตรีที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างเสียง

สิตาร์ (อังกฤษ: Sitar; ฮินดี: सितार; อูรดู: ستار) เป็นเครื่องสายแบบดีด มีต้นกำเนิดมาจากอนุทวีปอินเดียใช้ในดนตรีคลาสสิกของฮินดูสตานี หรือดนตรีคลาสสิกอินเดียเหนือ เครื่องดนตรีชนิดนี้ถูกประดิษฐ์ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และมาอยู่ในรูปแบบปัจจุบันในอินเดียในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขุสเรา ข่าน บุคคลสำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ของจักรวรรดิโมกุลได้รับการระบุโดยนักวิชาการสมัยใหม่ว่าเป็นผู้ประดิษฐ์สิตาร์ นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าเขาพัฒนาสิตาร์จากเซตาร์ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีอิหร่านที่มีต้นกำเนิดในสมัยราชวงศ์อับบาซียะฮ์หรือราชวงศ์ซาฟาวิด [1][2][3][4]

สิตาร์ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วอนุทวีปอินเดีย และเป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงกว้างทั่วโลกผ่านผลงานของ รวี ศังกร เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 [5] การถือกำเนิดของวัฒนธรรมไซเคเดลิกในช่วงกลางจนถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 ได้สร้างกระแสการใช้สิตาร์ในดนตรีป็อปตะวันตก โดยเครื่องดนตรีชนิดนี้ปรากฏอยู่ในเพลงของวงดนตรีต่าง ๆ เช่น เดอะบีเทิลส์, เดอะโรลลิงสโตนส์, เมทัลลิกา และอีกมากมาย[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Vedabala, Samidha (2021-06-14). Sitar Music: The Dynamics of Structure and its playing Techniques (ภาษาอังกฤษ). Wizard Publisher. ISBN 978-93-91013-13-4.
  2. Miner, Allyn (April 2004). Sitar and Sarod in the 18th and 19th Centuries (ภาษาอังกฤษ). Motilal Banarsidass Publ. ISBN 978-81-208-1493-6.
  3. Lavezzoli, Peter (2006-04-24). The Dawn of Indian Music in the West (ภาษาอังกฤษ). A&C Black. ISBN 978-0-8264-1815-9.
  4. The Sitar: Origin, Culture, and More: Featuring Dr. Usman Chohan. The Intelligentsia. Interviews: Episode 4. 11 April 2023.
  5. Julien Temple (2011-07-18). "BBC Four – Dave Davies: Kinkdom Come". Bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2012-06-15.
  6. Jenkins, Mark (May 28, 1996). "Sitar Jam! From The Beatles to Eddie Vedder, Rock and Roll Has Long Sought The Spice of Indian Music". The Washington Post.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สิตาร์