สิงโตทรานส์วาล
สิงโตทรานส์วาล | |
---|---|
สิงโตทรานส์วาลตัวผู้ | |
สิงโตขาว | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
วงศ์: | Felidae |
สกุล: | Panthera |
สปีชีส์: | Panthera leo |
สปีชีส์ย่อย: | P. l. krugeri |
Trinomial name | |
Panthera leo krugeri (Roberts, 1929) | |
ชื่อพ้อง | |
สิงโตทรานส์วาล หรือ สิงโตแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Transvaal lion, Southeast african lion; ชื่อวิทยาศาสตร์: Panthera leo krugeri) เป็นชนิดย่อยของสิงโตชนิดหนึ่งที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน
เป็นสิงโตที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาใต้ เช่น อุทยานแห่งชาติครูเกอร์และเขตสงวนส่วนบุคคลคาลาฮารี[3] โดยที่ได้ชื่อมาจากจังหวัดทรานส์วาลในแอฟริกาใต้
โดยได้รับการจำแนกออกมาจากสิงโตแหลมกู๊ดโฮป (P. l. melanochaitus) ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งไม่แตกต่างอะไรจากสิงโตที่พบในแอฟริกาใต้ ดังนั้นสิงโตแหลมกู๊ดโฮปอาจจะถือได้ว่าเป็นตัวแทนของสิงโตทรานส์วาล[4]
ตัวผู้มีขนแผงคอใหญ่และยาว มีความยาวลำตัว 2.6-3.20 เมตร รวมทั้งหาง ตัวเมียยาว 2.35-2.75 เมตร น้ำหนักของตัวผู้โดยทั่วไป 150-250 กิโลกรัม ในขณะที่ตัวเมียประมาณ 110-182 กิโลกรัม ความสูงที่หัวไหล่ 0.92-1.23 เมตร ล่าสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ม้าลาย, ควายป่า, แอนทิโลป เป็นอาหาร รวมถึงลูกยีราฟที่เกิดใหม่หรืออ่อนแอด้วย
นอกจากนี้แล้ว สิงโตทรานส์วาลยังมีอีกประเภทหนึ่งที่หายาก คือ สิงโตขาว ที่มีลำตัวและแผงคอเป็นสีขาวเกือบทั้งหมด โดยที่ไม่ใช่สัตว์เผือก แต่เกิดจากการผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งหาได้ยากมากและมีปริมาณที่น้อยมากแล้วในธรรมชาติ โดยจะพบได้เฉพาะอุทยานแห่งชาติครูเกอร์เท่านั้น
สิงโตทรานส์วาลมีมากกว่า 2,000 ตัวที่ได้รับการลงทะเบียนและคุ้มครองในอุทยานแห่งชาติครูเกอร์[5] [6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Roberts, A. 1929. New forms of African mammals. Annals of the Transvaal Museum, 13: 91.
- ↑ Roberts, A. 1945. Descriptions of some new subspecies of mammals. Annals of the Transvaal Museum, 21: 65.
- ↑ Haas, S.K.; Hayssen, V.; Krausman, P.R.. Mammalian species - Panthera leo. 2005 Mammalian Species (762): 1-11. pdf เก็บถาวร 2017-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Barnett, Ross; Nobuyuki Yamaguchi, Ian Barnes and Alan Cooper (August 2006). "Lost populations and preserving genetic diversity in the lion Panthera leo: Implications for its ex situ conservation". Conservation Genetics 7 (4): 507–14
- ↑ The Kruger Nationalpark Map. Honeyguide Publications CC. South Africa 2004.
- ↑ Barnett, R.; Yamaguchi, N.; Barnes, I.; and Cooper, A. (2006): The origin, current diversity and future conservation of the modern lion (Panthera leo). Proc. R. Soc. B (2006) 273, 2119–2125 doi:10.1098/rspb.2006.3555
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Panthera leo krugeri ที่วิกิสปีชีส์