ข้ามไปเนื้อหา

สามเหลี่ยมมังกร

พิกัด: 25°N 137°E / 25°N 137°E / 25; 137
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่แสดงที่ตั้งหมู่เกาะอิสุซึ่งเป็นเกาะภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ตรงกลางของสามเหลี่ยมมังกรพอดี
สามเหลี่ยมมังกร

สามเหลี่ยมมังกร (ญี่ปุ่น: ドラゴントライアングルโรมาจิDragon 's Triangle) หรือ ทะเลปีศาจ (อังกฤษ: The Devil 's Sea, 魔の海, Ma no Umi) หรือ ฟอร์โมซาเบอร์มิวดา (จีน: 福尔摩沙三角, จีนตัวย่อ: 福尔摩沙三角, พินอิน: Fúěrmóshā Sānjiǎo) หรือ สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาแปซิฟิก (Pacific Bermuda Triangle) เป็นชื่อเรียกพื้นที่พื้นที่หนึ่งของบริเวณท้องทะเลของประเทศญี่ปุ่น ที่มีเนื้อที่เป็นรูปสามเหลี่ยม ตั้งอยู่รอบเกาะมิยาเกะ (ประมาณ 100 กิโลเมตรจากตอนใต้ของกรุงโตเกียว) ไปจรดถึงตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลฟิลิปปิน

เป็นสถานที่ ๆ มีลักษณะเช่นเดียวกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ของมหาสมุทรแอตแลนติก กล่าวคือ เรือหรือเครื่องบินที่ผ่านมาในบริเวณนี้จะหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย ซึ่งอาณาบริเวณของสถานที่ ๆ ได้ชื่อว่าเป็นสามเหลี่ยมมังกรนั้นไม่แน่นอน ในรายงานเมื่อปี ค.ศ. 1950 ว่าอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลตะวันออกของญี่ปุ่นประมาณ 300 ไมล์ ใกล้กับเกาะอิซุโอชิมา จากชายฝั่ง 750 ไมล์

เรื่องราวของสามเหลี่ยมมังกร ปรากฏครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ของญี่ปุ่นในเดือนมกราคม ค.ศ. 1955 เมื่อเรือ 9 ลำได้หายสาบสูญไปโดยไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งก่อนหน้านั้นเรือประมงขนาดเล็กอีก 7 ลำ ก็หายสูญหายไประหว่างเดือนเมษายน ค.ศ. 1949 จนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1953 ระหว่างเกาะมิยาเกะและเกาะอิซุโอชิมะ

ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของสามเหลี่ยมมังกรนั้น นักวิทยาศาสตร์[ใคร?]เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาอย่างแน่นอน เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากแผนที่โลกแล้ว ปรากฏว่าพื้นที่ทั้ง 2 ที่นั้นอยู่ในด้านที่ตรงกันข้ามกันพอดีเลยในซีกโลกอีกข้าง อีกทั้งก็ยังมีร่องน้ำลึกที่สุดในโลกอยู่เช่นเดียวกันทั้ง 2 ที่ (สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา–ร่องลึกเปอร์โตริโก, สามเหลี่ยมมังกร–ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา) สำหรับนักวิทยาศาสตร์ทื่เชื่อในทฤษฎีของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาว่าแท้จริงแล้วเป็นหลุมดำ (Black Hole) ที่อยู่บนโลกนั้น สามเหลี่ยมมังกรก็คือ หลุมขาว (White Hole) นั่นเอง ซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่ง เมื่อหลุมดำดูดกลืนสสารทุกอย่างลงไปแล้ว ผ่านทางช่องที่อยู่ตรงกลางที่เรียกว่า "รูหนอน" (Worm Hole) สสารก็จะถูกพ่นให้ออกมาทางหลุมขาว ซึ่งอีกฟากหนึ่งนั่นเอง[1]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รายการท่องโลกกว้าง ตอน ถอดรหัสอดีต... หลุมดำของโลก ทางทีวีไทย : วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

25°N 137°E / 25°N 137°E / 25; 137