สามารถ มะลูลีม
สามารถ มะลูลีม | |
---|---|
สามารถ ใน พ.ศ. 2553 | |
ประธานสภากรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2545 – 23 มิถุนายน พ.ศ. 2547 | |
ก่อนหน้า | ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ |
ถัดไป | ธนา ชีรวินิจ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร |
ศาสนา | อิสลาม |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2529–2565) รวมไทยสร้างชาติ (2565–ปัจจุบัน)[1] |
สามารถ มะลูลีม (เกิด 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2502) เป็นนักการเมืองชาวไทย ตําเเหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีประจําสำนักนายกรัฐมนตรี (พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) อดีตประธานสภากรุงเทพมหานคร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 2 สมัย ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ และนายกสมาคมกีฬามวยไทยนานาชาติ
ประวัติ
[แก้]สามารถ มะลูลีม เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโท สาขาการจัดการภาครัฐภาคเอกชน จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) นอกจากนั้นยังผ่านการศึกษาอบรมจากสถาบันพระปกเกล้า
งานการเมือง
[แก้]สามารถ มะลูลิม เริ่มต้นเข้าสุ่งานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาเขตพระโขนง (ส.ข.) และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร (ส.ว.) และในปี พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ จากนั้นได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในปี พ.ศ. 2554
นอกจากงานการเมือง ยังเคยดำรงตำแหน่งเป็นอุปนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้จัดการฟุตบอลทีมชาติไทย และยังเป็นเจ้าของค่ายมวย "ลูกคลองตัน" ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัวด้วย[2]
ต่อมาในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ในรับการเเต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตําเเหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีประจําสำนักนายกรัฐมนตรี (พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]สามารถ มะลูลีม ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ มหกรรมการลาออกครั้งใหญ่ ส.ส.รุ่นใหญ่ รุ่นใหม่ ใครย้ายไปพรรคไหนบ้าง
- ↑ แฟนให้ จากไทยรัฐ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๗, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2502
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- มุสลิมชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร
- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรครวมไทยสร้างชาติ
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.