สาธารณรัฐมาลูกูใต้
สาธารณรัฐโมลุกกะใต้ Republik Maluku Selatan (อินโดนีเซีย) Republiek der Zuid-Molukken (ดัตช์) | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2493–พ.ศ. 2506 | |||||||||
ดินแดนที่กล่าวอ้างโดยสาธารณรัฐโมลุกกะใต้ | |||||||||
สถานะ | รัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง รัฐบาลพลัดถิ่น ตั้งแต่พ.ศ. 2506 | ||||||||
เมืองหลวง | อัมบน | ||||||||
เมืองหลวงพลัดถิ่น | ไม่ได้กำหนด (เนเธอร์แลนด์) | ||||||||
การปกครอง | สาธารณรัฐ | ||||||||
ประธานาธิบดีa | |||||||||
• เมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2493 | โยฮานิส มานูฮูตู | ||||||||
• 2493-2509 | คริส เซาโมกิล | ||||||||
• 2509-2535 | โยฮัน มานูซามา | ||||||||
• 2536-2553 | ฟรันส์ ตูตูฮาตูเนวา | ||||||||
• 2553-ปัจจุบัน | โจน วัตตีเลเตอ | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• ก่อตั้ง | 25 เมษายน พ.ศ. 2493 | ||||||||
• สิ้นสุด | ธันวาคม พ.ศ. 2506 | ||||||||
พื้นที่ | |||||||||
ประมาณ พ.ศ. 2493 | 46,914 ตารางกิโลเมตร (18,114 ตารางไมล์) | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• ประมาณ พ.ศ. 2493 | 1090000 | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | อินโดนีเซีย | ||||||||
|
สาธารณรัฐโมลุกกะใต้ (อินโดนีเซีย: Republik Maluku Selatan, RMS; ดัตช์: Republiek der Zuid-Molukken) เป็นสาธารณรัฐที่ประกาศปกครองตนเองในหมู่เกาะโมลุกกะเมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2493 เกาะหลักได้แก่เซรัม อัมบน และบูรู สาธารณรัฐบนเกาะอัมบนพ่ายแพ้กองทัพอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2493 การต่อสู้ด้วยอาวุธยังคงเกิดขึ้นต่อไปบนเกาะเซรัมจนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2506 การพ่ายแพ้บนเกาะอัมบนทำให้รัฐบาลของสาธารณรัฐย้ายมาที่เซรัมและต่อมาได้กลายเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นในเนเธอร์แลนด์ใน พ.ศ. 2509 ดร. คริส เซาโมกิล ผู้นำการต่อต้าน ถูกกองทัพอินโดนีเซียจับกุมและประหารเมื่อ พ.ศ. 2509 รัฐบาลพลัดถิ่นยังคงอยู่ โดยโจน วัตตีเลเตอ ทนายความเป็นประมุขรัฐตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2553
หมู่เกาะอินโดนีเซียประกอบด้วยเกาะมากกว่า 15,000 คน เนเธอร์แลนด์เข้ามาปกครองเป็นอาณานิคมในราวพุทธศตวรรษที่ 24 และจัดตั้งหน่วยการปกครองที่เป็นเอกภาพ แนวชายแดนปัจจุบันของอินโดนีเซียก่อตั้งขึ้นตามอาณานิคมที่ขยายตัวในพุทธศตวรรษที่ 25 หลังจากที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึง พ.ศ. 2488 ผู้นำขบวนการชาตินิยมบนเกาะชวาประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย แต่ไม่ใช่ทุกพื้นที่และประชาชนทุกคนในพื้นที่ประเทศอินโดนีเซียปัจจุบันที่ยอมรับสาธารณรัฐอินโดนีเซียที่เป็นรัฐเดี่ยว[1] ขบวนการต่อต้านสาธารณรัฐอินโดนีเซียกลุ่มแรกๆเกิดที่หมู่เกาะโมลุกกะใต้ซึ่งได้รับความช่วยเหลือด้านการทหารจากเนเธอร์แลนด์ กลุ่มกบฏโมลุกกะใต้เริ่มจากสนธิสัญญาในยุคหลังอาณานิคมที่ต้องการจัดการปกครองในรูปสหพันธ์ ข้อตกลงระหว่างเนเธอร์แลนด์กับอินโดนีเซียในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2492 ถูกยกเลิก และได้ประกาศจัดตั้งรัฐเอกราชสาธารณรัฐโมลุกกะใต้ เพื่อหวังสถานะการปกครองตนเอง ผู้นำโมลุกกะต้องการให้แต่ละรัฐที่ปกครองตนเองมารวมตัวกันเป็นสหพันธ์
ประวัติศาสตร์
[แก้]ชาวยุโรปรุกรานหมู่เกาะโมลุกกะใต้
[แก้]หมู่เกาะโมลุกกะเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งผลิตกานพลูและจันทน์เทศ จึงเป็นจุดสนใจของพ่อค้าชาวยุโรปในยุคแห่งการสำรวจ ในช่วงหนึ่ง กานพลูมีค่าเทียบเท่าทองคำ โปรตุเกส สเปน อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ต่างแย่งกันเข้าครอบครองเส้นทางการค้าเครื่องเทศ พ่อค้าจากบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์เป็นกลุ่มพ่อค้าที่มีอำนาจครอบครองโมลุกกะ และจากการใช้การทหารและการเมืองที่มีประสิทธิภาพ บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ได้ปกครองโมลุกกะเหนือโดยอ้อมและได้ปกครองโมลุกกะใต้โดยตรง[2]
ในยุคการปกครองของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ โมลุกกะใต้เป็นบริเวณที่มีชาวดัตช์อยู่มาก หมู่เกาะบันดาเป็นที่เดียวที่ถูกทำให้อ่อนแอลงหลังจากโครงสร้างอำนาจของชนพื้นเมืองและองค์กรทางการค้าและการเมืองถูกทำลายเมื่อมีการสังหารและบังคับอพยพชาวบันดาใน พ.ศ. 2164 ในการกดดันพ่อค้าท้องถิ่นในเซรัมตะวันออก โครงสร้างองค์กรของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ได้ขยายออกไป เนเธอร์แลนด์ได้สร้างแนวกั้นขวางดินแดนโมลุกกะใต้ บ้านและที่อยู่อาศัยถูกเผา ต้นไม้ถูกขุดออก ผู้รอดชีวิตต้องหลบหนีไป และตลอดระยะเวลา 200 ปี การต่อต้านของชาวเซรัมตะวันออกทำให้พวกเขายากจนลง แต่การเรียกร้องเอกราชก็ไม่สิ้นสุด
ในราวพุทธศตวรรษที่ 24 ประชาชนในเซรัมร่วมมือกับพันธมิตรในโมลุกกะเหนือ ปาปัว และอังกฤษ ก่อกบฏซึ่งใช้เวลานานถึง 20 ปี ( พ.ศ. 2323 – 2345) ผู้นำกบฏคือเจ้าชายนูกู (สุลต่านพลัดถิ่นของตีโดร์) ซึ่งตั้งตัวเป็นใหย่ในเซรัมและอ้างสิทธิ์การปกครองเหนือดินแดนโมลุกกะเหนือและโมลุกกะใต้ โดยเป้าหมายหลักคือหมู่เกาะโมลุกกะใต้ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของเนเธอร์แลนด์ เมื่ออังกฤษถอนตัวออกไปใน พ.ศ. 2345 แผนการของเจ้าชายนูกูล้มเหลว และเนเธอร์แลนด์เข้ามาครองอำนาจอีกครั้ง[2] เนเธอร์แลนด์ได้เข้ามาปกครองหมู่เกาะทั้งหมดเป็นอาณานิคม หลังจากที่บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ล่มสลายลง เกิดกบฏขึ้นอีก กบฏที่เป็นที่รู้จักดีเกิดขึ้นที่เกาะซาปารัวในหมู่เกาะโมลุกกะใต้ ผู้นำกบฏคือปัตตีมูรา ซึ่งเคยเป็นนายทหารชั้นประทวนในกองทัพอาณานิคมอังกฤษ กบฏถูกปราบปรามได้และปัตตีมูราถูกประหารชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2360
โมลุกกะกลายเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียตะวันออก อาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ กลุ่มกบฏในอินโดนีเซียได้รวมโมลุกกะเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียในการประกาศเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2488 การต่อสู้เพื่อเอกราชอินโดนีเซียเกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2488 – 2492 หลังจากแรงกดดันจากนานาชาติ เนเธอร์แลนด์ได้ยอมรับสหพันธ์อินโดนีเซียเมื่อ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ในช่วงแรก เนเธอร์แลนด์ได้ยอมรับเอกราชของอินโดนีเซียในฐานะสหพันธรัฐปกครองตนเอง หนึ่งในนั้นคือโมลุกกะใต้
ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2493 ทหารจากกองทัพหลวงอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์และชาวโมลุกกะใต้ที่จงรักภักดีต่อเนเธอร์แลนด์ได้ปฏิวัติและประกาศเอกราชของสาธารณรัฐโมลุกกะใต้ (Republik Maluku Selatan) ต่อมาในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2493 ประธานาธิบดีซูการ์โนประกาศจัดตั้งรัฐเดี่ยวคือสาธารณรัฐอินโดนีเซียซึ่งทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางการเมืองขึ้นในอินโดนีเซียจนกระทั่งเปลี่ยนถ่ายสู่ยุคระเบียบใหม่
ทหารอาชีพชาวโมลุกกะใต้ในกองทัพอาณานิคม
[แก้]ทหารจำนวนหนึ่งในกองทัพอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ได้มาจากชาวอัมบนและหมู่เกาะโมลุกกะใต้โดยรอบ หมู่เกาะโมลุกกะใต้เป็นบริเวณแรก ๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากชาวยุโรปในพุทธศตวรรษที่ 21 มิชชันนารีโปรแตสแตนต์ประสบความสำเร็จมากกว่าที่อื่นในอินเดียตะวันออก ชาวอัมบนครึ่งหนึ่งนับถือศาสนาคริสต์โปรแตสแตนต์ลัทธิคาลวิน ในราว พ.ศ. 2418 กองทัพพ่อค้าติดอาวุธของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์เข้ายึดครองพื้นที่ของโปรตุเกสในเมืองอัมบน เกาะอัมบน ในหมู่เกาะโมลุกกะใต้ บริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส โดยพบการนับถือศาสนา ภาษา และการใช้นามสกุลแบบโปรตุเกสโดยทั่วไป ทำให้เนเธอร์แลนด์สามารถพัฒนาฐานที่ตั้งของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ได้
ตลอดยุคของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ชาวโมลุกกะไม่ได้ถูกบังคับให้ค้าขายกับบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์เท่านั้น แต่ถูกบังคับให้ผลิตกานพลูอย่างเดียว หลังจากบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ล่มสลาย และการค้ากานพลูล่มสลาย ดินแดนนี้ขึ้นกับโครงสร้างอาณานิคมอย่างเดียว และถูกยึดครองโดยกองทัพอาณานิคม ชาวอัมบนกลายเป็นทหารที่จงรักภักดีต่อเนเธอร์แลนด์ ทำให้พวกเขาไม่เป็นที่นิยมของชาวอินโดนีเซียกลุ่มอื่น ที่เรียกคนกลุ่มนี้ในภาษามลายูว่า เบอลันดาฮีตัม (Belanda Hitam) แปลตรงตัวว่า "ดัตช์ดำ" ทำให้พวกเขาอยู่อย่างยากลำบากเมื่อกองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครองและกองทัพแห่งชาติอินโดนีเซียก่อการปฏิวัติ เมื่อญี่ปุ่นเข้ามายึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารชาวโมลุกกะกลายเป็นนักโทษสงคราม เพราะเมื่อปล่อยตัวกลับบ้าน พวกนี้จะไปเข้าร่วมกับกลุ่มต่อต้าน ภายในอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ที่ถูกยึดครอง ทหารชาวโมลุกกะได้จัดตั้งกองกำลังใต้ดินขึ้นช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตร และมีกลุ่มที่ซุกซ่อนอาวุธรอการลุกฮือขึ้นเมื่อกองทัพสัมพันธมิตรยกขึ้นฝั่ง ตำรวจลับญี่ปุ่นตอบสนองโดยการจับผู้ต้องสงสัยประหารชีวิต[3]
หลังจากทหารญี่ปุ่นยอมแพ้ฝ่ายสัมพันธมิตร ทหารชาวโมลุกกะได้แสดงตนอย่างเท่าเทียมและท้าทายกับกองทัพปฏิวัติอินโดนีเซียที่พยายามเข้ามาเติมเต็มสุญญากาศทางอำนาจหลังการออกไปของญี่ปุ่น ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างนักรบโมลุกกะและกลุ่มเปอร์มูดาที่ออกจากกองทัพโมลุกกะ กองทัพสาธารณรัฐอินโดนีเซียที่จัดตั้งขึ้นใหม่ได้เกิดสู้รบกับกองทัพโมลุกกะ
การสลายกองทัพอาณานิคม
[แก้]ระหว่างการปฏิวัติอินโดนีเซีย ดัตช์ได้สลายกองทัพอาณานิคม[4] ทหารชาวพื้นเมืองมีตัวเลือกระหว่างหยุดการเคลื่อนไหวหรือเข้าร่วมกับกองทัพอินโดนีเซีย แต่เนื่องจากผู้นำสาธารณรัฐที่เป็นมุสลิมชาวชวาไม่ไว้วางใจ จึงเป็นตัวเลือกที่ยากสำหรับชาวอัมบนที่นับถือคริสต์โปรแตสแตนท์และมีส่วนน้อยที่เลือกเข้าร่วมกับกองทัพอินโดนีเซีย การสลายตัวเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน และใน พ.ศ. 2494 สองปีหลังการถ่ายโอนอธิปไตย ทหารทั้งหมดไม่ได้สลายตัว ดัตช์ที่ได้รับแรงกดดันจากนานาชาติให้สลายกองทัพอาณานิคมและทำให้ทหารเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพปกติของดัตช์ชั่วคราว ในขณะที่มีความพยายามจากชวาให้ยุบกลุ่มนี้ไป สถานการณ์ทางการเมืองในสาธารณรัฐใหม่ในอินโดนีเซียไม่มั่นคง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีทหารชาวอัมบนมีส่วนร่วมด้วย ใน พ.ศ. 2494 มีการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโมลุกกะใต้ที่อัมบน และได้รับการสนับสนุนจากทหารชาวอัมบนที่มาจากกองทัพอาณานิคม ทหารชาวโมลุกกะที่อยู่นอกโมลุกกะใต้แสดงความต้องการเข้าร่วมกับอัมบน แต่อินโดนีเซียปฏิเสธไม่ให้ดัตช์ขนส่งทหารเหล่านั้นไปยังอัมบน หลังจากเกิดการต่อสู้อย่างรุนแรงที่อัมบน ทหารที่พ่ายแพ้หนีไปเซรัม การต่อต้านอินโดนีเซียยังคงอยู่ และถูกปิดกั้นโดยอินโดนีเซีย
การเคลื่อนย้ายทหารชาวโมลุกกะไปยังเนเธอร์แลนด์
[แก้]ในที่สุด รัฐบาลดัตช์ตัดสินใจเคลื่อนย้ายทหารที่เหลืออยู่และครอบครัวไปยังเนเธอร์แลนด์ พวกเขาอยู่ในบ้านชั่วคราวในค่ายจนกว่าจะสามารถกลับสู่หมู่เกาะโมลุกกะได้[5] ในกรณีนี้ มีราว 12,500 มาตั้งถิ่นฐานในเนเธอร์แลนด์ และเกิดการต่อต้านแผนการของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ขึ้น ปฏิกิริยาของรัฐบาลดัตช์ต่อการตั้งถิ่นฐานของทหารโมลุกกะต่างจากผู้อพยพชาวอินโดนีเซีย[6] กลุ่มหลังได้รับการยอมรับและหลอมรวมเป็นพลเมืองอย่างรวดเร็ว ส่วนทหารโมลุกกะถือเป็นผู้ยู่อาศัยแบบชั่วคราวและจะอพยพกลับอินโดนีเซีย[7] บ้านชั่วคราวในค่ายส่วนใหญ่อยู่ในเขตชนบทใกล้กับเมืองเล็กๆ มีการจัดตั้งตัวแทนพิเศษเพื่อจัดการปัญหาเกี่ยวกับผู้อพยพชั่วคราว เรียกว่า Commissariaat Ambonezenzorg' (CAZ) ในการจัดการกับปัญหาประจำวันในค่าย CAZ ได้สร้างตัวแทนขึ้นในค่าย เพื่อควบคุมผู้อยู่อาศัยให้อยู่ในกฎ ทำให้ชาวโมลุกกะแยกตัวออกมาจากสังคมของชาวดัตช์ ผู้ที่อยู่ในค่ายจะเข้าเรียนในโรงเรียนสอนด้วยภาษาดัตช์
สถานการณ์ดำเนินต่อไปจนถึง พ.ศ. 2513 CAZ ได้สลายตัวไป รัฐมนตรีและตัวแทนอื่นๆเข้ามารับผิดชอบ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์มองว่าชาวโมลุกกะไม่ใช่ผู้อยู่อาศัยแบบชั่วคราวแต่จะอยู่ต่อไปในอนาคตในเนเธอร์แลนด์ ใน พ.ศ. 2511 ชาวโมลุกกะมากกว่าร้อยละ 80 ยังไม่มีสัญชาต อดีตทหารในกองทัพอาณานิคมรู้สึกไม่สบายใจกับการที่กองทัพถูกยุบไป เพราะกองทัพอาณานิคมให้รายได้และการดำรงชีวิตทั้งหมดแก่พวกเขา พวกเขาจงรักภักดีต่อดัตช์แต่กังวลกับความไม่แน่นอน พวกเขาตั้งความหวังไว้กับเอกราชของสาธารณรัฐโมลุกกะใต้และหวังว่าดัตช์จะช่วยเหลือ ความรู้สึกนี้ยังคงต่อเนื่องแม้เมื่อมาอยู่ในค่ายโดดเดี่ยวในเนเธอร์แลนด์ แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้
การก่อการร้ายของโมลุกกะใต้ในเนเธอร์แลนด์
[แก้]สภาพการณ์นี้นำมาซึ่งความตึงเครียดและแตกแยกในขบวนการสาธารณรัฐโมลุกกะใต้ ผู้นำรุ่นเก่ามองว่าสิทธิของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไป ในที่สุด เกิดวิกฤตในชุมชนชาวอัมบน และใช้ความรุนแรงต่อต้านสังคมดัตช์ เกิดการก่อการร้ายใน พ.ศ. 2513 ที่สถานทูตอินโดนีเซีย การโจมตีเกิดขึ้นอีกครั้งใน พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2520 เป้าหมายของการโจมตีไม่ชัดเจน ห่างไกลจากการฟื้นฟูความเป็นหนึ่งเดียวกันของขบวนการสาธารณรัฐโมลุกกะใต้ การโจมตีรถไฟและโรงเรียนใน พ.ศ. 2520 ทำให้รัฐบาลดัตช์ตัดสินใจใช้กำลังทหารเข้าระงับเหตุ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้ชาวโมลุกกะแปลกแยกจากสังคมดัตช์มากขึ้น
ชาวโมลุกกะรุ่นที่ 2 และ 3 ในเนเธอร์แลนด์
[แก้]เมื่อสิ้นสุดความรุนแรงจากการก่อการร้าย รัฐบาลดัตช์ได้ยกเลิกแนวคิดที่จะให้ชาวโมลุกกะเป็นผู้อยู่อาศัยชั่วคราว แต่ไม่สามารถสร้างช่องทางการสื่อสารผ่านการอภิปรายและการนำนโยบายไปปฏิบัติเพื่อเปิดทางสู่อนาคต ต้องพิจารณาเกี่ยวกับสถานะทางสังคมมาก การเข้าโรงเรียนต่ำ และการว่างงานสูง ความพยายามในการพัฒนาการสื่อสารระหว่างตัวแทนรัฐบาลและชาวโมลุกกะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมีการต่อต้านภายในชุมชนโมลุกกะ และไม่สามารถสนองตอบต่อความต้องการทางการเมืองของชาวโมลุกกะได้ ใน พ.ศ. 2519 มีการอภิปรายร่างกับตัวแทนชุมชนดัตช์ ใน พ.ศ. 2521 ได้เสนอสมุดปกขาวจากรัฐบาลสู่รัฐสภาโดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของชาวโมลุกกะในสังคมดัตช์ โดยเฉพาะในด้านการศึกษาและตลาดแรงงาน ในปัจจุบัน สถานะของชาวโมลุกกะถือเป็นพลเมืองของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งต่างจากเมื่อ พ.ศ. 2513
สาธารณรัฐโมลุกกะใต้พลัดถิ่น
[แก้]กองกำลังหลักของกองทัพโมลุกกะใต้ที่อัมบนพ่ายแพ้ต่ออินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2493 มีการต่อสู้แบบกองโจรอีกเล็กน้อยที่เจรัมจนถึง พ.ศ. 2505 การพ่ายแพ้ที่อัมบนทำให้รัฐบาลสาธารณรัฐหลบหนีออกไปจากเกาะและจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในเนเธอร์แลนด์[8] ทหาร 12,000 และครอบครัวย้ายถิ่นไปเนเธอร์แลนด์ ในระหว่างที่เป็นรัฐบาลพลัดถิ่น สาธารณรัฐได้โจมตีเนเธอร์แลนด์ด้วยการก่อการร้าย เริ่มครั้งแรกใน พ.ศ. 2513 ที่สถานทูตอินโดนีเซีย มีตำรวจชาวดัตช์ถูกยิงเสียชีวิต มีการโจมตีขบวนรถไฟใน พ.ศ. 2518 และ 2520 การโจมตีครั้งสุดท้าย เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2521
ประธานาธิบดี
[แก้]ดร. คริส ซูโมกิล เป็นประธานาธิบดีเมื่อ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นผู้นำกองโจรต่อสู้กับอินโดนีเซียที่เจรัม เขาถูกทหารอินโดนีเซียจับกุมเมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2505 และถูกประหารชีวิตในสมัยที่ซูฮาร์โตเป็นประธานาธิบดีเมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2509
รัฐบาลพลัดถิ่นยังคงอยู่โดย ประธานาธิบดีพลัดถิ่นคนแรกคือ โจฮัน มานูซามา (พ.ศ. 2509 – 2536) ฟรานส์ ตาตูฮานูเนวา ดำรงตำแหน่งประมุขรัฐต่อมา (พ.ศ. 2536 – 2553) โดยไม่มีการก่อความรุนแรงในเนเธอร์แลนด์และอินโดนีเซีย ประธานาธิบดีพลัดถิ่นกล่าวว่าคนรุ่นใหม่ควรมองไปที่การศึกษาและให้โอกาสพัฒนาในเนเธอร์แลนด์ถ้าพวกเขาต้องการ และให้สนับสนุนและพัฒนาโมลุกกะใต้ตามศักยภาพ ทูตอินโดนีเซียในเนเธอร์แลนด์ จูนุส เอฟเฟนดี ฮาบิบี กล่าวว่ายินดีต้อนรับชาวโมลุกกะกลับสู่บ้านเกิดหากพวกเขาหยุดเรียกร้องเอกราช[9][10]
จอห์น วัตตีเลเต เป็นประธานาธิบดีตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2553 เขาเป็นคนแรกที่มาจากชาวโมลุกกะรุ่นที่ 2 ในเนเธอร์แลนด์และมีท่าทีอ่อนกว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ยุดโดโยโน มีแผนจะเดินทางไปเยือนเนเธอร์แลนด์ ได้ขอให้เนเธอร์แลนด์จับกุมวัตตีเลเตทันทีที่ไปถึง เมื่อเนเธอร์แลนด์ปฏิเสธจึงงดการไปเยือน
สัญลักษณ์ของรัฐ
[แก้]ธง
[แก้]ธงเป็นสีน้ำเงิน ขาว เขียว แดงในอัตราส่วน 1:1:1:6 ขนาดเป็น 2:3 ใช้ครั้งแรกเมื่อ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 สองวันต่อมา ได้อธิบายความหมายของธง สีน้ำเงินหมายถึงทะเลและความจงรักภักดี สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์ สันติภาพ และหาดทรายสีขาว สีเขียว หมายถึง ต้นไม้ สีแดงหมายถึงเลือดและบรรพบุรุษ
ตราแผ่นดิน
[แก้]ประกอบด้วยนกพิราบสีขาวเรียกปมโบ (Pombo) ซึ่งหมายถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์และลางดี ปอมโบอยู่ในท่ากำลังเริ่มบิน ปีกเปิดครึ่งหนึ่ง ปากคาบกิ่งสันติภาพ หน้าอกมีโล่ ในตราแผ่นดินมีคำว่า 'Mena - Moeria' ซึ่งมาจากภาษาโมลุกกะดั้งเดิมที่เป็นภาษากลุ่มเมลานีเซียน หมายถึงคนคัดท้ายและฝีพายในเรือยาวของโมลุกกะที่เรียกโกราโกรา คำนี้แปลตรงตัวว่าหน้า-หลัง แต่สามารถแปลได้ว่า ฉันไป เราตามมา หรือ หนึ่งเพื่อทั้งหมด ทั้งหมดเพื่อหนึ่ง
เพลงชาติ
[แก้]เพลงชาติของโมลุกกะใต้คือ 'Maluku tanah airku' เป็นภาษามาเลย์ซึ่งแปลได้ว่ามาลูกู บ้านเกิดของเรา เขียนโดย คริส ซูโมกิลและโอ ซาฮาเลสซี[11]
เนื้อร้อง
[แก้]เนื้อหาต้นฉบับ | แปล |
---|---|
Oh Maluku, tanah airku, |
Maluku, my homeland, |
Oh Maluku, tanah airku, |
Maluku, my homeland, |
Mena-Muria, printah leluhur |
Onwards without fear, the higher call |
พัฒนาการของโมลุกกะใต้ในปัจจุบัน
[แก้]พัฒนาการทางการเมืองปัจจุบันในเนเธอร์แลนด์
[แก้]ทูตอินโดนีเซียประจำเนเธอร์แลนด์ ยูนุส เอฟเฟนดี ฮาบีบี ได้แจ้งแก่สถานีวิทยุเนเธอร์แลนด์ว่าอินโดนีเซียขอให้รัฐบาลโมลุกกะใต้ยกเลิกการเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นและยุติการเรียกร้องเอกราช โดยโมลุกกะจะได้ปกครองตนเอง แต่เป้าหมายของโมลุกกะยังคงต้องการเอกราช
พัฒนาการทางเมืองในอินโดนีเซียปัจจุบัน
[แก้]ชาวโมลุกกะใต้ส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์ซึ่งต่างจากประชาชนส่วนใหญ่ของอินโดนีเซียที่เป็นมุสลิม สาธารณรัฐโมลุกกะใต้ยังได้รับการสนับสนุนจากชาวโมลุกกะมุสลิมในบริเวณเดียวกัน ความทรงจำเกี่ยวกับสาธารณรัฐและจุดประสงค์ในการแยกตัวยังคงอยู่ในอินโดนีเซีย
ในโมลุกกะ ได้มีการลงนามในข้อตกลงมาลีโนที่ 2 เพื่อยุติความขัดแย้งและสร้างสันติภาพในโมลุกกะ โดยชาวโมลุกกะปฏิเสธที่จะสนับสนุนขบวนการแบ่งแยกดินแดนสาธารณรัฐโมลุกกะใต้และรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกับอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการเยือนอัมบนของประธานาธิบดีอินโดนีเซียใน พ.ศ. 2550 ยังพบการแขวนธงโมลุกกะใต้
ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ได้มีการจัดตั้งขบวนการใหม่ในชื่อแนวร่วมอธิปไตยมาลูกูในอัมบน มีการสะสมอาวุธและแขวนธงโมลุกกะใต้ในที่สาธารณะ หัวหน้ากลุ่มคือ อเล็กซ์ มานูปุตตี ได้ลี้ภัยไปสหรัฐ แต่ยังสนับสนุนการเรียกร้องเอกราช
อ้างอิง
[แก้]- ↑ World Recognition and Indonesia's Sovereignty เก็บถาวร 8 ตุลาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, "The Unitary State of the Republic of Indonesia"
- ↑ 2.0 2.1 Widjojo, Muridan S. "Cross-Cultural Alliance-Making and Local Resistance in the Moluccas during the Revolt of Prince Nuku, c. 1780–1810" PhD Dissertation, Leiden University, 2007 (Publisher: KITLV, Journal of Indonesian Social Sciences and Humanities Vol. 1, 2008) Pp. 141–149 ISSN 1979-8431
- ↑ "Verzetsmuseum - Stories". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-05. สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.
- ↑ De plechtigheden in Djakarta bij de opheffing van het KNIL. Video footage showing the official ceremony disbanding the KNIL.
- ↑ The complicated story of the disbanding of the KNIL is set out briefly here. For a more extended analysis see Manuhutu (1987); Steylen (1996: 33-63); van Amersfoort (1982: 101-8). The psychological impact of the dissolution of the KNIL on the Ambonese servicemen is described in Wittermans (1991).
- ↑ The history of the Indos and their emigration from Indonesia after World War II is also reflected in interesting ways in the Dutch literature: the circumstances of the repatriation are, for instance, spiritedly evoked in the stories of Springer (2001: 179-239).
- ↑ In this article the words Ambonese and Moluccans are used synonymously. This is strictly speaking not correct. The Protestant Ambonese form about 90 per cent of the Moluccans in the Netherlands and have played a decisive role. There is also a small number of Muslim Ambonese and of Moluccans from the islands of Kei and Tanimbar.
- ↑ Note that its head of state remained C.Soumokil who continued to lead the armed struggle on Ceram.
- ↑ "Dutch television interview with Junus Habibie". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2017-11-19.
- ↑ "Junus Effendi Habibie - Part 2". YouTube. 24 March 2008. สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.
- ↑ "MALUKU TANAH AIRKU - LAGU KEBANGSAAN R.M.S. - 25 APRIL 2009 25 04 2009 MENA MURIA APELDOORN". YouTube. 29 April 2009. สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.