ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศคอสตาริกา

พิกัด: 10°N 84°W / 10°N 84°W / 10; -84
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สาธารณรัฐคอสตาริกา)

10°N 84°W / 10°N 84°W / 10; -84

สาธารณรัฐคอสตาริกา

República de Costa Rica (สเปน)
ที่ตั้งของคอสตาริกา
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ซานโฮเซ
9°56′N 84°5′W / 9.933°N 84.083°W / 9.933; -84.083
ภาษาราชการสเปน
ภาษาพื้นเมือง
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2011[2])
ศาสนา
(ค.ศ. 2021)[4]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี
โรดริโก ชาเบส โรเบลส
เอสเตฟัน บรูเนร์
มาริ มูนิเบ
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติ
ประกาศเอกราช
• จากสเปน
15 กันยายน ค.ศ. 1821
1 กรกฎาคม ค.ศ. 1823
14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1838
• ได้รับการยอมรับจากสเปน
10 พฤษภาคม ค.ศ. 1850
• รัฐธรรมนูญ
7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1949[2]
พื้นที่
• รวม
51,100 ตารางกิโลเมตร (19,700 ตารางไมล์) (อันดับที่ 126)
1.05 (ใน ค.ศ. 2015)[5]
ประชากร
• ค.ศ. 2022 ประมาณ
5,204,411[6] (อันดับที่ 124)
220 ต่อตารางไมล์ (84.9 ต่อตารางกิโลเมตร) (อันดับที่ 107)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 128,134 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[7]
เพิ่มขึ้น 24,490 ดอลลาร์สหรัฐ[7]
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 65,314 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[7]
เพิ่มขึ้น 12,483 ดอลลาร์สหรัฐ[7]
จีนี (ค.ศ. 2020)Negative increase 49.7[8]
สูง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021)ลดลง 0.809[9]
สูงมาก · อันดับที่ 58
สกุลเงินโกลอน (CRC)
เขตเวลาUTC−6 (เขตเวลาตอนกลาง)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+506
โดเมนบนสุด.cr
.co.cr

คอสตาริกา (สเปน: Costa Rica, ออกเสียง: [ˈkosta ˈrika]; แปลว่า ชายฝั่งอันมั่งคั่ง) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐคอสตาริกา (República de Costa Rica) เป็นประเทศในภูมิภาคอเมริกากลาง มีอาณาเขตจรดประเทศนิการากัวทางทิศเหนือ จรดทะเลแคริบเบียนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จรดประเทศปานามาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จรดมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และมีพรมแดนทางทะเลจรดประเทศเอกวาดอร์ทางทิศใต้ของอิสลาเดลโกโก มีประชากรประมาณ 5 ล้านคน[10] ในพื้นที่ขนาด 51,060 ตารางกิโลเมตร (19,710 ตารางไมล์) โดยมีประชากรประมาณ 333,980 คนอาศัยอยู่ในซานโฮเซซึ่งเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุด และมีประชากรประมาณสองล้านคนอาศัยอยู่ในเขตมหานครโดยรอบ[11]

คอสตาริกาเป็นรัฐเอกราชและเป็นรัฐเดี่ยวที่มีการปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐรัฐธรรมนูญระบบประธานาธิบดี มีประชาธิปไตยที่ยาวนานและมีเสถียรภาพ และมีแรงงานที่ได้รับการศึกษาสูง[12] ประเทศนี้ใช้จ่ายประมาณร้อยละ 6.9 ของงบประมาณ (ค.ศ. 2016) ไปกับการศึกษา ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 4.4[12] เศรษฐกิจของประเทศซึ่งครั้งหนึ่งเคยพึ่งพาการเกษตรอย่างมากได้คลี่คลายไปสู่ภาคส่วนอื่น ๆ เช่น การเงิน บริการลูกค้าธุรกิจสำหรับบริษัทต่างชาติ เภสัชกรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นต้น บริษัทด้านการผลิตและบริการหลายแห่งจากต่างประเทศเปิดดำเนินการในเขตการค้าเสรีของคอสตาริกาที่ซึ่งพวกเขาได้รับผลประโยชน์จากการลงทุนและแรงจูงใจด้านภาษี[13]

คอสตาริกาเป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองโบราณหลายกลุ่มก่อนที่จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 บริเวณนี้ยังคงเป็นอาณานิคมรอบนอกของสเปนจนกระทั่งได้รับเอกราชในฐานะส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเม็กซิโกที่ 1 จากนั้นได้กลายเป็นสมาชิกของสหพันธ์สาธารณรัฐอเมริกากลาง และประกาศเอกราชจากสหพันธ์ดังกล่าวอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1847 บทสรุปของสงครามกลางเมืองใน ค.ศ. 1948 นำไปสู่การยกเลิกกองทัพอย่างถาวรใน ค.ศ. 1949 คอสตาริกาจึงกลายเป็นหนึ่งในชาติเอกราชเพียงไม่กี่ชาติที่ไม่มีกองทัพประจำการ[14][15][16]

คอสตาริกาทำผลงานได้ดีอย่างต่อเนื่องในการจัดอันดับดัชนีการพัฒนามนุษย์ (เอชดีไอ) โดยอยู่ในอันดับที่ 58 ของโลกใน ค.ศ. 2022[17] โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นดีพี) กล่าวถึงประเทศนี้ว่าสามารถบรรลุการพัฒนามนุษย์ในระดับที่สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ที่มีระดับรายได้เท่ากัน โดยมีดัชนีการพัฒนามนุษย์และความเสมอภาคที่ดีกว่าค่ามัธยฐานของภูมิภาค[18] นอกจากนี้ คอสตาริกายังทำผลงานได้ดีในการจัดอันดับสถานะประชาธิปไตย เสรีภาพสื่อ และความสุขเชิงอัตวิสัย โดยเป็นประเทศที่มีเสรีภาพสื่อมากที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ตามดัชนีเสรีภาพสื่อ มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดเป็นอันดับที่ 37 ตามดัชนีเสรีภาพในโลก และมีความสุขมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ตามรายงานความสุขโลก

ภูมิศาสตร์

[แก้]

มีพื้นที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร เทียบกับประเทศไทยแล้วเล็กกว่ากันถึง 10 เท่า มีจำนวนประชากรเพียง 5 ล้านคน เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ทำให้มีพืชพันธุ์ไม้อุดมสมบูรณ์ที่ไม่สามารถพบได้ในประเทศอื่น มีพื้นที่เป็นเขตป่าสงวนมากถึงร้อยละ 25 ของประเทศ และถือเป็นประเทศแรกในทวีปอเมริกาที่ออกกฎหมายห้ามล่าสัตว์ทุกชนิด และมูลนิธินิวอีโคโนมิค (NEF) ได้ประกาศให้เป็นประเทศที่มีความเขียวชอุ่ม หรือมีป่าไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลกอีกด้วย[19]

การเมืองการปกครอง

[แก้]

รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

ประธานาธิบดี ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งจะอยู่ในตำแหน่งได้เป็นระยะเวลา 4 ปีเพียงครั้งเดียว นาย Oscar ARIAS Sanchez (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2549) นาง Laura Chinchilla จากพรรค (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2553)

ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบรัฐสภาเดียว มีสมาชิกสภานิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง 57 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ฝ่ายตุลาการ ศาลสูงสุดของประเทศ (Supreme Court) มาจากการเลือกตั้งโดย สมาชิกสภานิติบัญญัติ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี การเลือกตั้งครั้งต่อไป กุมภาพันธ์ 2548 พรรคการเมืองสำคัญ Social Christian Unity Party (PUSC) (พรรครัฐบาล) Democrat Party National Liberation Party (Partido Liberacion Nacional)

การต่างประเทศ

[แก้]

ความสัมพันธ์กับสหรัฐ

[แก้]

คอสตาริกาให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในการดำเนินความร่วมมือภายใต้กรอบ Organization of the American States (OAS) และความใกล้ชิดกับสหรัฐ ฯ โดยเฉพาะในเรื่องการป้องกันประเทศซึ่งคอสตาริกาได้ยกเลิกกองกำลังทหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 นอกจากนี้ คอสตาริกายังให้ความสำคัญกับการต่อต้านการค้ายาเสพติด โดยเป็นประเทศแรกในอเมริกากลางที่ลงนามใน Maritime Counter-Narcotics Agreement กับสหรัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือเพื่อต่อต้านการลักลอบขนส่งยาเสพติดในน่านน้ำคอสตาริกา

กองทัพ

[แก้]

คอสตาริกาเป็นหนึ่งในประเทศที่ไม่มีกองทัพ คอสตาริกายกเลิกกองทัพในปี พ.ศ. 2491 เพื่อแก้ปัญหาที่เป็นรากเหง้าทางการเมืองที่มีการรัฐประหารจากกองทัพที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทต่างชาติ

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

คอสตาริกาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 จังหวัด ได้แก่

ธง ชื่อจังหวัด แผนที่ เมืองหลัก เนื้อที่
(ตร.กม.)
ประชากร
(คน)
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ ค.ศ. 2015[20]
กัวนากัสเต ลิเบเรีย 10,141 354,154 0.755
การ์ตาโก การ์ตาโก 3,124 490,903 0.786
ซานโฮเซ ซานโฮเซ 4,966 1,404,242 0.792
ปุนตาเรนัส ปุนตาเรนัส 11,266 410,929 0.741
ลิมอน ลิมอน 9,189 386,862 0.735
อาลาฮูเอลา อาลาฮูเอลา 9,757 885,571 0.778
เอเรเดีย เอเรเดีย 2,657 433,677 0.807

เศรษฐกิจ

[แก้]

ข้อมูลดัชนีเศรษฐกิจ

[แก้]

ดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจของคอสตาริกาประจำเดือนธันวาคม 2553 ชี้ว่าเศรษฐกิจของประเทศยังเติบโตต่ำ และเป็นไปในแนวทางเดียวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศที่ขยายตัวลดลงเรื่อย ๆ ตลอดปีที่ผ่านมา เมื่อเดือนธันวาคม 2553 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศลดลงอีกร้อยละ 2.3 จากเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ไปอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี มีบางภาคเศรษฐกิจที่ยังคงขยายตัวได้ ได้แก่ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการ ซึ่งขยายตัวร้อยละ 9.10 รวมทั้งอุตสาหกรรมการขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งขยายตัวร้อยละ 6.42 ส่วนภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ ไม่มีความเปลี่ยนแปลงมากนัก ในขณะที่ภาคธุรกิจก่อสร้าง การผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งภาคการเหมืองแร่ และเหมืองหินมีอัตราการเจริญเติบโตที่ติดลบ

สินค้าส่งออกของคอสตาริกาที่สำคัญและถือเป็นสินค้าที่สำคัญและมีชื่อเสียงที่สุด คือ กล้วยหอม[21]

เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

[แก้]

ในปี 2553 คอสตาริกามีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศประมาณ 4.584 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

โครงสร้างการผลิตภายในประเทศ

[แก้]
  1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (2549) 2.225 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
  2. อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2550) ร้อยละ 7
  3. รายได้ประชาชาติต่อหัว (2550) 13,500 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี
  4. หนี้ต่างประเทศ (2550) ร้อยละ 7.163 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  5. เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (พฤษภาคม 2550) 3.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  1. สินค้าเกษตรสำคัญ กล้วย (คอสตาริกาเป็นผู้ส่งออกกล้วยมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากเอกวาดอร์) กาแฟ เมล็ดโกโก้ ข้าว และถั่ว
  2. สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ เคมีภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์ยาง
  3. สินค้าบริการสำคัญ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (ทำรายได้เข้าประเทศกว่าร้อยละ 60)
  1. การนำเข้า มูลค่า 1.184 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (2550) ในปี 2553 มูลค่า 1.332 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
  2. สินค้านำเข้าสำคัญ เช่น
    1. น้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เวชภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้าง
    2. ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องประมวลผล วงจร รวมโมโนลิทิก กระดาษคราฟต์
  3. ประเทศคู่ค้าตลาดนำเข้าหลัก
    1. สหรัฐ ร้อยละ 44.72
    2. เม็กซิโก ร้อยละ 7.65
    3. ญี่ปุ่น ร้อยละ 4.36
    4. บราซิล ร้อยละ
    5. เวเนซุเอลา ร้อยละ 5.56
    6. จีน ร้อยละ 5.15
  1. การส่งออก มูลค่า 9.232 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2550) ในปี 2553 มูลค่า 1.01 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
  2. สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น
    1. ผลิตผลการเกษตร เช่น กล้วย สัปปะรด กาแฟ เมลอน พืชตกแต่ง เนื้อวัว น้ำตาล
    2. อุตสาหกรรม เช่น สิ่งทอ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเภสัชกรรม
  3. ประเทศคู่ค้าการส่งออกที่สำคัญได้แก่
    1. สหรัฐ ร้อยละ 35.61
    2. เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 12.82
    3. จีน ร้อยละ 11.81
    4. เยอรมนี ร้อยละ
    5. กัวเตมาลา ร้อยละ
    6. นิการากัว ร้อยละ
    7. เม็กซิโก ร้อยละ 4.2

ความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศ

[แก้]

ความตกลงเขตการค้าเสรีพหุภาคีที่คอสตาริกาเป็นภาคีร่วมมี

1. CAFTA-DR (ความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างกลุ่มประเทศอเมริกากลาง และสาธารณรัฐคอมินิกัน กับสหรัฐอเมริกา) ลงนามเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2547 มีผลบังคับในคอสตาริกาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552 ทั้งนี้ กลุ่มประเทศอเมริกากลางเป็นตลาดส่งออกอันดับสามในกลุ่มละตินอเมริกาสำหรับสหรัฐฯ หลังจากเม็กซิโกและบราซิล การส่งออกจากสหรัฐฯ ไปยังกลุ่มประเทศ CAFTA-DR มีมูลค่า 26.3 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2551

2. ความตกลงเขตการค้าเสรีพหุภาคีกับกลุ่มประเทศคาริบเบียน (CARICOM) ลงนามเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2547 มีผลบังคับในคอสตาริกาเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 โดยมีเงื่อนไขความตกลง 4 ระดับซึ่งเจรจากันระหว่างแต่ละประเทศอีกต่างหาก ได้แก่ การเปิดเสรีอัตโนมัติ การลดภาษีใน 4 ปี ข้อยกเว้นเป็นรายสินค้า และข้อยกเว้นสำหรับสินค้าเกษตรตามฤดูกาลสำหรับความตกลงเขตการค้าเสรีในระดับทวิภาคี คอสตาริกาได้ลงนามความตกลงไว้ 5 ประเทศ คือ กับเม็กซิโก (มีผลบังคับตั้งแต่ปี 2538) แคนาดา (2544) ชิลี (2545) สาธารณรัฐโดมินิกัน (2538) และปานามา (2551) และได้เริ่มกระบวนการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีกับ ประเทศจีน เมื่อปี 2550 และกับสหภาพยุโรป (AACUE) เมื่อปี 2549

ความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ICC/CBI (Caribbean Basin Initiative-1983), GSP-Europe และ ALCA/FTAA (Free Trade Areas of the Americas-1994)

โครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]

คมนาคมและโทรคมนาคม

[แก้]

มีเส้นทางการเดินทางแบบถนน 35,330 กิโลเมตร ทางรถไฟ 278 กิโลเมตร ทางน้ำ 730 กิโลเมตรที่ใช้เดินเรือได้เฉพาะเรือขนาดเล็ก สนามบิน 151 แห่ง มีท่อส่งก๊าซและน้ำมัน 796 กิโลเมตร ท่าเรือสำคัญ 2 แห่ง

ประชากร

[แก้]

ชาวคอสตาริกาเป็นชนชาติผสมระหว่างสเปนกับชาวพื้นเมืองเดิม เรียกตัวเองว่า ติโก (tico) หรือ ติกา (tica)[22]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Live Costa Rica Population Clock 2017 – Population of Costa Rica Today". www.livepopulation.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-04. สืบค้นเมื่อ 2022-01-06.
  2. 2.0 2.1 Central Intelligence Agency (2011). "Costa Rica". The World Factbook. Langley, Virginia: Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 4 October 2011.
  3. "International Religious Freedom Report for 2017". www.state.gov. 2018. สืบค้นเมื่อ 29 December 2018.
  4. Murillo, Alvaro (7 July 2021). "Encuesta CIEP-UCR evidencia a una Costa Rica estatista y menos religiosa". Semanario Universidad. สืบค้นเมื่อ 8 July 2021.
  5. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 2020-10-11.
  6. "Costa Rica". The World Factbook (2025 ed.). Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022. (Archived 2022 edition)
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "Costa Rica". International Monetary Fund. April 2022. สืบค้นเมื่อ 15 September 2022.
  8. "Income inequality". data.oecd.org. OECD. สืบค้นเมื่อ 25 July 2021.
  9. "Human Development Report 2019" (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 10 December 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 May 2020. สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.
  10. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  11. "Capital Facts for San José, Costa Rica". 18 October 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2020. สืบค้นเมื่อ 6 August 2017.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  12. 12.0 12.1 "Amazon invests in Costa Rica as tiny nation carves out profitable niche in world economy". 11 March 2017.
  13. "The Investment Promotion Agency of Costa Rica". www.cinde.org.
  14. El Espíritu del 48. "Abolición del Ejército" (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 9 March 2008.
  15. "Costa Rica". World Desk Reference. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2008. สืบค้นเมื่อ 9 June 2009.
  16. "Costa Rica". Uppsala University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2011. สืบค้นเมื่อ 9 June 2009.
  17. "Human Development Index (HDI)". UNDP.
  18. UNDP Human Development Report 2010 (January 2010). Table 1: Human development index 2010 and its components (PDF). pp. 5, 49, 144. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 November 2010. สืบค้นเมื่อ 6 November 2010.
  19. "เที่ยงวันทันเหตุการณ์: ข่าวกีฬา". ช่อง 3. 30 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-18. สืบค้นเมื่อ 30 June 2014.
  20. "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-09-15.
  21. "บันทึกโลกโสภา คอสตาริกา : คน กล้วย น้ำ ป่า ปลาฉลาม (1)". loksopha.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-15. สืบค้นเมื่อ 30 June 2014.
  22. นิตยสารสารคดี ฉบับ 270 หน้า 136

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Blake, Beatrice. The New Key to Costa Rica (Berkeley: Ulysses Press, 2009).
  • Chase, Cida S. "Costa Rican Americans." Gale Encyclopedia of Multicultural America, edited by Thomas Riggs, (3rd ed., vol. 1, Gale, 2014), pp. 543–551. online
  • Edelman, Marc. Peasants Against Globalization: Rural Social Movements in Costa Rica Stanford: Stanford University Press, 1999.
  • Eisenberg, Daniel (1985). "In Costa Rica". Journal of Hispanic Philology. Vol. 10. pp. 1–6.
  • Huhn, Sebastian: Contested Cornerstones of Nonviolent National Self-Perception in Costa Rica: A Historical Approach, 2009.
  • Keller, Marius; Niestroy, Ingeborg; García Schmidt, Armando; Esche, Andreas. "Costa Rica: Pioneering Sustainability". Excerpt (pp. 81–102) from Bertelsmann Stiftung (ed.). Winning Strategies for a Sustainable Future. Gütersloh, Germany: Verlag Bertelsmann Stiftung, 2013.
  • Lara, Sylvia Lara, Tom Barry, and Peter Simonson. Inside Costa Rica: The Essential Guide to Its Politics, Economy, Society and Environment London: Latin America Bureau, 1995.
  • Lehoucq, Fabrice E. and Ivan Molina. Stuffing the Ballot Box: Fraud, Electoral Reform, and Democratization in Costa Rica Cambridge: Cambridge University Press, 2002.
  • Lehoucq, Fabrice E. Policymaking, Parties, and Institutions in Democratic Costa Rica, 2006.
  • Longley, Kyle. Sparrow and the Hawk: Costa Rica and the United States during the Rise of José Figueres (University of Alabama Press, 1997).
  • Mount, Graeme S. "Costa Rica and the Cold War, 1948–1990." Canadian Journal of History 50.2 (2015): 290–316.
  • Palmer, Steven and Iván Molina. The Costa Rica Reader: History, Culture, Politics Durham and London: Duke University Press, 2004.
  • Sandoval, Carlos. Threatening Others: Nicaraguans and the Formation of National Identities in Costa Rica Athens: Ohio University Press, 2004.
  • Wilson, Bruce M. Costa Rica: Politics, Economics, and Democracy: Politics, Economics and Democracy. Boulder, London: Lynne Rienner Publishers, 1998.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
รัฐบาลและการบริหาร
Trade