ข้ามไปเนื้อหา

สันติ กีระนันทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สันติ กีรนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 (62 ปี)
พรรคการเมืองชาติไทยพัฒนา (2566–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พลังประชารัฐ (2562–2565)
สร้างอนาคตไทย (2565–2566)
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สันติ กีระนันทน์ (เกิด 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505) เป็นเลขานุการคณะที่ปรึกษาว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ เป็นอดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหนึ่งในคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรคพลังประชารัฐที่นำโดย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์[1]

ประวัติ[แก้]

สันติ กีระนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 เขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ระดับละ 2 ปริญญา คือ บัญชีบัณฑิต (การบัญชี) เกียรตินิยม จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เศรษฐศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Computer Science) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนั้นเขายังจบการศึกษาระดับปริญญาเอก บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (Finance) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2][3] ภายใต้โครงการนานาชาติ (International Program) ร่วมผลิตดุษฎีบัณฑิตทางบริหารธุรกิจร่วม 3 สถาบัน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (Joint Doctoral program in Business Administration - JDBA) ซึ่่งได้รับการสนับสนุนจาก Canadian International Development Agency (CIDA) โดยเขาได้รับ Merit Award ตลอดการเรียนในหลักสูตร

การทำงาน[แก้]

สันติ กีระนันทน์ เคยทำงานเป็นอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต[2] ตามคำชักชวนของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เคยทำงานในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตำแหน่งรองผู้จัดการ โดยรับผิดชอบสายงานการตลาดผู้ลงทุน และการตลาดผู้ระดมทุน เป็นผู้ริเริ่มการจัดทำ Live platform เพื่อสนับสนุนให้เกิดการสนับสนุน startup โดยใช้กลไกตลาดทุน นอกจากนั้น เขายังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาผู้ประเมินผลงานของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ และบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับเครดิตสัญชาติไทย เพียงบริษัทเดียวในประเทศไทย โดยทำงานอยู่ใน 2 บริษัทดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปี ก่อนจะกลับมาทำงานที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

หลังจากออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็ได้ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้สร้าง InnoSpace เพื่อสนับสนุนให้เกิด startup ในประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือในการก่อตั้งจาก CyberPort, Hong Kong.

เขาเข้ามาทำงานร่วมกับพรรคพลังประชารัฐโดยการชักชวนของ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นหนึ่งในผู้ที่ขับเคลื่อนเบื้องหลังการทำนโยบายพรรคชุด "ประชารัฐ" ร่วมกับ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ และ วิเชียร ชวลิต[1]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ผศ.ดร.สันติ ได้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ในลำดับที่ 6 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก โดยสันติ เป็นสมาชิกในกลุ่ม 4 กุมารในพรรคพลังประชารัฐ[4] ต่อมาเขาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พร้อมกับ สุพล ฟองงาม เพื่อไปร่วมงานกับ พรรคสร้างอนาคตไทย ของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และได้รับหน้าที่เป็นรองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย[5] ต่อมาในปี 2566 เขาได้ลาออกจากทุกตำแหน่งในพรรคสร้างอนาคตไทย และเข้าร่วมงานกับพรรคชาติไทยพัฒนา[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 มาจากไหน สันติ กีระนันทน์ "ผมไม่ใช่นักการเมือง"
  2. 2.0 2.1 สภาผู้แทนราษฎร
  3. ฉะใคร? 'สันติ กีระนันทน์' โพสต์ ‘botox-big eyes ไม่สามารถปกปิดสันดานต่ำทราม’
  4. พปชร.เดือด!!! เด็ก4กุมาร โพสต์ด่าไฟแล่บ‘บิ๊กอาย’เนรคุณ-หักหลังเพื่อน
  5. พรรคสร้างอนาคตไทย: อุตตม-สนธิรัตน์ลั่น “ไม่ซ้ายสุดขั้ว ไม่ขวาสุดโต่ง ไม่เสนอชื่อ พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ในบัญชี”
  6. ชทพ.เปิดตัว ‘สันติ กีระนันทน์’ ทีมสมคิด หลังไขก๊อกพรรคสร้างอนาคตไทย
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๑, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔