สัญกรณ์โพลิช
สัญกรณ์โพลิช (อังกฤษ: Polish notation หรือ PN) หรือเรียกกันว่า สัญกรณ์โพลิชปรกติ (อังกฤษ: Normal Polish notation) สัญกรณ์วูคาเซียวิช สัญกรณ์วอร์ซอ สัญกรณ์เติมหน้าโพลิช หรือ สัญกรณ์เติมหน้า (อังกฤษ: Prefix notation) เป็นสัญกรณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ ตัวดำเนินการอยู่ด้านหน้าตัวถูกดำเนินการ ตรงกันข้ามกับสัญกรณ์ที่ใช้กันทั่วไปซึ่งตัวดำเนินการวางอยู่ระหว่างตัวถูกดำเนินการ ในขณะที่สัญกรณ์โพลิชย้อนกลับ (RPN) ตัวดำเนินการจะอยู่ด้านหลังตัวถูกดำเนินการ
สัญกรณ์โพลิชไม่จำเป็นต้องมีวงเล็บใด ๆ ตราบเท่าที่แต่ละตัวดำเนินการมีจำนวนตัวถูกดำเนินการคงที่ คำว่า "โพลิช" ที่หมายถึงประเทศโปแลนด์นั้นหมายถึงสัญชาติของนักตรรกศาสตร์ ยาน วูคาเซียวิช ชาวโปแลนด์[1] ผู้คิดค้นสัญกรณ์โพลิชในปี พ. ศ. 2467[2]
วิธีการใช้
[แก้]นิพจน์ที่เขียนแทนการบวกตัวเลข 1 และ 2 โดยใช้สัญกรณ์โพลิชจากเขียนเป็น + 1 2 (เขียนตัวดำเนินการไว้ด้านหน้า) แทนที่จะเป็น 1 + 2 (เขียนตัวดำเนินการไว้ระหว่างกลาง) สำหรับนิพจน์ที่ซับซ้อนมากขึ้น ตัวดำเนินการยังคงเขียนนำหน้าตัวถูกดำเนินการ แต่ตัวถูกดำเนินการอาจเป็นนิพจน์อื่นซึ่งมีตัวดำเนินการและตัวถูกดำเนินการซ้อนกันไปเรื่อย ๆ ตัวอย่างเช่น นิพจน์ที่เขียนด้วยสัญกรณ์ระหว่างกลางตามปกติว่า
- (5 − 6) × 7
จะเขียนในสัญกรณ์โพลิชว่า
- × (− 5 6) 7
หากตัวดำเนินการทั้งหมดที่ใช้มีอาริตี (จำนวนอาร์กิวเมนต์หรือจำนวนตัวถูกดำเนินการที่ตัวดำเนินการรับ) กำหนดชัดแน่นอน เช่นในกรณีนี้เรากำหนดให้การลบและการคูณเป็นตัวดำเนินการทวิภาค แล้วนิพจน์จะไม่มีความกำกวมเกิดขึ้น ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องใช้วงเล็บ
เพราะฉะนั้นแล้ว นิพจน์ข้างต้นสามารถเขียนอย่างง่ายได้เป็น
- × − 5 6 7
การถอดความหมายนิพจน์ข้างต้นเริ่มจากการคูณที่อยู่ด้านซ้ายสุดไปด้านขวาสุด แต่ยังไม่สามารถอ่านค่าได้จนกว่าจะพบตัวถูกดำเนินการทั้งสองตัว (เท่ากับอาริตีของการคูณ) ซึ่งก็คือ "- 5 6" และ "7" นิพจน์ที่อยู่ด้านในสุดจะถูกหาค่าก่อนเสมอ เช่นกับสัญกรณ์อื่น ๆ แต่ความ "ในสุด" ในระบบสัญกรณ์โพลิชนั้นมาจากอันดับที่ปรากฏของตัวดำเนินการและตัวถูกดำเนินการ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการใช้วงเล็บ
ในสัญกรณ์ระหว่างกลางทั่วไป จะต้องมีกฎให้วงเล็บมีความสำคัญเหนือการดำเนินการอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะว่าหากนำวงเล็บออก เช่น หากสลับตำแหน่งของวงเล็บ
- 5 − (6 × 7)
หรือ หากนำวงเล็บออกแล้ว จะได้
- 5 − 6 × 7
ซึ่งจะเปลี่ยนความหมายของนิพจน์นั้นโดยทันที ในสัญกรณ์โพลิชจะเขียนนิพจน์ที่เปลี่ยนใหม่ว่า
- − 5 × 6 7
หากการดำเนินการไม่ใช่การดำเนินการที่มีสมบัติสลับที่ เช่น การหาร หรือการลบ ต้องกำหนดลำดับของการเขียนตัวถูกดำเนินการให้ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ÷ 10 5 โดย 10 อยู่ด้านซ้ายของ 5 มีความหมายว่า10 ÷ 5 (อ่านว่า "หาร 10 ด้วย 5") หรือ - 7 6 โดย 7 อยู่ด้านซ้ายของ 6 มีความหมายว่า 7 - 6 ( อ่านว่า "ลบออกจาก 7 ด้วยตัวถูกดำเนินการ 6")
สัญกรณ์โพลิชสำหรับตรรกศาสตร์
[แก้]ตารางด้านล่างแสดงสัญกรณ์สำคัญที่ยาน วูคาเซียวิช กำหนดขึ้นเพื่อใช้กับตรรกศาสตร์เชิงประพจน์และตรรกศาสตร์อัญรูป[3] ตัวอักษรบางตัวในตารางสัญกรณ์โพลิชนี้มาจากคำศัพท์ในภาษาโปแลนด์
ความหมาย | สัญกรณ์โดยทั่วไป | สัญกรณ์โพลิช | คำในภาษาโปแลนด์ |
---|---|---|---|
นิเสธ | negacja | ||
การเชื่อมเชิงตรรกศาสตร์ (ตัวเชื่อม "และ") | koniunkcja | ||
การเลือกเชิงตรรกศาสตร์ (ตัวเชื่อม "หรือ") | alternatywa | ||
เงื่อนไขเชิงตรรกศาสตร์ (ตัวเชื่อม "ถ้า...แล้ว...") | implikacja | ||
เงื่อนไขสองทาง (ตัวเชื่อม "ก็ต่อเมื่อ") | ekwiwalencja | ||
ความเท็จ | fałsz | ||
ขีดคั่นของเชฟเฟอร์ | dysjunkcja | ||
ความเป็นไปได้ | możliwość | ||
ความจำเป็น | konieczność | ||
ตัวบ่งปริมาณสำหรับทุกตัว | kwantyfikator ogólny | ||
ตัวบ่งปริมาณสำหรับตัวมีจริง | kwantyfikator szczegółowy |
ดูเพิ่ม
[แก้]- สัญกรณ์โพลิชย้อนกลับ
- การแทนค่าฟังก์ชัน
- แคลคูลัสแลมบ์ดา
- การเคอร์รี
- Lisp (ภาษาโปรแกรม)
- คณิตศาสตร์สกุลโปแลนด์
- สัญกรณ์ฮังกาเรียน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Łukasiewicz, Jan (1957). Aristotle's syllogistic : from the standpoint of modern formal logic (Second edition, enlarged ed.). Oxford. ISBN 0-19-824144-5. OCLC 289729.
- ↑ Hamblin, C. L. (1962-11-01). "Translation to and from Polish Notation". The Computer Journal (ภาษาอังกฤษ). 5 (3): 210–213. doi:10.1093/comjnl/5.3.210. ISSN 0010-4620.
- ↑ Routledge encyclopedia of philosophy. Edward Craig, Routledge. London: Routledge. 1998. ISBN 0-415-07310-3. OCLC 38096851.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์)
ดูเพิ่ม
[แก้]- Łukasiewicz, Jan (1957). Aristotle's Syllogistic from the Standpoint of Modern Formal Logic. Oxford University Press.
- "Philosophische Bemerkungen zu mehrwertigen Systemen des Aussagenkalküls" [ข้อสังเกตทางปรัชญาเกี่ยวกับระบบตรรกศาสตร์เชิงประพจน์ที่มีหลายค่า]. Comptes Rendus des Séances de la Société des Sciences et des Lettres de Varsovie (ภาษาเยอรมัน). 23: 51–77. 1930. แปลโดย by H. Weber ใน Storrs McCall, Polish Logic 1920-1939, Clarendon Press: Oxford (1967).