ข้ามไปเนื้อหา

สะพานไครเมีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานไครเมีย
สะพานไครเมียใน พ.ศ. 2562
เส้นทาง
ข้ามช่องแคบเคียร์ช: (Kerch–Yenikale Canal, เกาะตุซลา, Tuzla Spit remains)
ที่ตั้งเคียร์ช ไครเมีย ประเทศยูเครนกับตามัน ประเทศรัสเซีย
ชื่อทางการКрымский мост
เจ้าของรัฐบาลรัสเซีย[1]
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานรถยนต์สัญจรและรถไฟ
ความยาว
  • สะพานรถไฟ: 18.1 km (11 14 mi)
  • สะพานถนน: 16.9 km (10 12 mi)
ความลึกของน้ำลึกสุดถึง 9 m (30 ft)[2]
ช่วงยาวที่สุด227 เมตร (745 ฟุต)[3]
เคลียร์ตอนล่าง35 m[4]
ประวัติ
ผู้ออกแบบInstitute Giprostroymost – Saint Petersburg[5]
ผู้สร้างบริษัทสตรอยกัซมอนตัจ
วันเริ่มสร้างกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559[a]
วันสร้างเสร็จ
  • เมษายน 2561 (สะพานถนน)
  • ธันวาคม 2562 (สะพานรถไฟ)
งบก่อสร้าง227.92 พันล้านรูเบิล (3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[6]
เปิดตัว
  • 15 พฤษภาคม 2561 (สะพานถนน)
  • 23 ธันวาคม 2562 (สะพานรถไฟ)
วันเปิด
  • ค.ศ. 2018 (2018) (สะพานถนน)[b]
  • ค.ศ. 2019 (2019)ค.ศ. 2020 (2020) (สะพานรถไฟ)[c]
แทนที่
สถิติ
การจราจรโดยเฉลี่ยรถ 15,000 คัน[9]
ค่าผ่านไม่มี[10]
แม่แบบ:Crimean Bridge infobox map

สะพานไครเมีย (รัสเซีย: Крымский мост) หรือ สะพานเคียร์ช (Керченский мост)[11] หรือบางครั้งเรียกว่า สะพานช่องแคบเคียร์ช เป็นสะพานคู่ขนานที่สร้างขึ้นโดยรัสเซีย เพื่อทอดข้ามช่องแคบเคียร์ช ระหว่างคาบสมุทรตามันกับดินแดนครัสโนดาร์ (รัสเซีย) และคาบสมุทรเคียร์ชของแหลมไครเมีย (ถูกผนวกเข้ากับรัสเซีย แต่ตามสากลถือว่าเป็นของยูเครน) สะพานแห่งนี้มีทั้งทางสัญจรของยานพาหนะและของรถไฟ ด้วยความยาว 18.1 กิโลเมตร (11.2 ไมล์) ทำให้สะพานแห่งนี้ยาวที่สุดในรัสเซีย[12] และในยุโรป[13][14][15][12][16]

สะพานแห่งนี้มีการพิจารณาสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2446 จนมีแผนก่อสร้างในปี พ.ศ. 2557 หลังจากการผนวกคาบสมุทรไครเมีย ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ได้มีการมอบสัมปทานก่อสร้างสะพานมูลค่ากว่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับบริษัทสตรอยกัซมอนตัจ (รัสเซีย: Стро̀йга̀змонта́ж) ซึ่งดูแลโดยอาร์คาดี โรเตนเบียร์ก (รัสเซีย: Аркадий Романович Ротенберг) งานก่อสร้างเบื้องต้นเริ่มในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 และการก่อสร้างหลักส่วนของสะพานเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ทำพิธีเปิดส่วนถนนของสะพาน โดยใช้สำหรับการสัญจรของรถยนต์สำหรับการโดยสารตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม และเปิดสำหรับรถบรรทุกในวันที่ 1 ตุลาคม[7][17] ส่วนทางรถไฟของสะพานเปิดใช้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562 และรถไฟโดยสารขบวนแรกตามตารางการเดินรถประจำ ข้ามสะพานเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562 สะพานเปิดสำหรับรถไฟบรรทุกสินค้าเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 บันทึกปริมาณการจราจรเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563 มีจำนวนรถยนต์ผ่านทั้งสิ้น 36,393 คัน[18]

ชื่อสะพานที่ชื่อว่า "สะพานไครเมีย" ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดจากการลงคะแนนทางอินเทอร์เน็ตในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งรองลงมาคือชื่อสะพานว่า "สะพานช่องแคบเคียร์ช" และชื่อสะพานว่า "สะพานเอกภาพ" ตามลำดับ[19]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ constr
  2. สำหรับยานพาหนะที่ไม่ใช่รถบรรทุกเปิดในวันที่ 16 พฆษภาคม พ.ศ. 2561[7] ส่วนรถบรรทุกเปิดใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม[8]
  3. ตู้ผู้โดยสารเปิดในวันที่ 25 ธันวาคม 2562 ส่วนตู้ขนส่งสินค้าเปิดในวันที่ 30 มิถุนายน 2563

อ้างอิง

[แก้]
  1. "О проекте". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2020. สืบค้นเมื่อ 17 May 2018.
  2. "Началось возведение свайных фундаментов Керченского моста". 10 March 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2017. สืบค้นเมื่อ 16 May 2018.
  3. "Проектировщик моста в Крым – РБК: 'Мы нашли оптимальное решение'". РБК. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2015. สืบค้นเมื่อ 16 May 2018.
  4. "О проекте". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2020. สืบค้นเมื่อ 17 May 2018.
  5. "Проектировщиком моста в Крым стал петербургский 'Гипростроймост'" (ภาษารัสเซีย). 6 April 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 2019-12-07.
  6. "Строительство моста через Керченский пролив. Съемка с коптера". РИА Новости Крым. 22 May 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2019. สืบค้นเมื่อ 17 May 2018.
  7. 7.0 7.1 "Автодорожная часть Крымского моста открылась для движения автомобилей". ТАСС (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2019. สืบค้นเมื่อ 16 May 2018.
  8. "Крыму начало везти". Коммерсантъ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2019-10-17. Крымский мост 1 октября стал доступен для движения грузового транспорта.
  9. "Названа средняя загрузка Крымского моста: 15 тысяч машин в сутки". 6 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2020. สืบค้นเมื่อ 18 December 2019.
  10. "Сколько будет стоить проезд по Крымскому мосту? КерчьИНФО – новости Керчи". 12 May 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2019. สืบค้นเมื่อ 17 May 2018.
  11. "Crimea Bridge: A Real Exclusive, and more to come!!". Thethruthspeaker.co. 28 ตุลาคม 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2017.
  12. 12.0 12.1 "Bridge connects Crimea to Russia, and Putin to a Tsarist dream". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2018.
  13. "Рекорд России и Европы: как строили Крымский мост". NTV (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2018.
  14. 克里米亚大桥通车 普京亲自驾车剪彩. 德国之声 [DW] (ภาษาจีน). 15 พฤษภาคม 2018.
  15. CNN. Nathan Hodge (บ.ก.). "Russia's bridge to Crimea: A metaphor for the Putin era". CNN. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2018.
  16. "Putin inaugurates bridge by driving a truck across to seized peninsula Crimea". ABC News (ภาษาอังกฤษ). 15 พฤษภาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2018.
  17. Крымский мост открыли для проезда грузовиков: фото и видео [Crimean Bridge has been opened for truck traffic: photo and video]. 24.ua (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2019.
  18. "На Крымском мосту установили новый рекорд автотрафика". TASS. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2020.
  19. Голосование за название строящегося в Керченском проливе моста завершено. Interfax.ru (ภาษารัสเซีย). 17 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2018.

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]