สหสันนิบาตยะไข่
สหสันนิบาตยะไข่ ရက္ခိုင့်အမျိုးသားအဖွဲ့ချုပ် | |
---|---|
ชื่อย่อ | ULA |
ประธาน | ทู่นเมียะไนง์[1] |
รองประธาน | โญทู่น-ออง[2] |
ก่อตั้ง | 2555 |
ปีกติดอาวุธ | กองทัพยะไข่ |
อุดมการณ์ | ชาตินิยมยะไข่ สมาพันธรัฐ |
เพลง |
|
เว็บไซต์ | |
www | |
ธงประจำพรรค | |
![]() | |
การเมืองพม่า รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
สหสันนิบาตยะไข่ (พม่า: ရက္ခိုင့်အမျိုးသားအဖွဲ့ချုပ်, อังกฤษ: United League of Arakan, ULA) เป็นองค์การการเมืองของชาวยะไข่ที่ตั้งอยู่ในไลง์ซา รัฐกะชีน ประเทศพม่า กองกำลังติดอาวุธคือกองทัพยะไข่[3][4] พลตรี ทู่นเมียะไนง์ เป็นประธานของสหสันนิบาต และพลจัตวา โญทู่น-ออง ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สหสันนิบาตยะไข่เป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการปรึกษาและเจรจาการเมืองแห่งสหพันธ์ (FPNCC) ซึ่งเป็นทีมเจรจาทางการเมืองที่ก่อตั้งโดยกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์เจ็ดกลุ่มในพม่า[5][6]
ประวัติ
[แก้]การประชุมสหสันนิบาตยะไข่ครั้งที่ 1 ซึ่งมีผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ เข้าร่วม จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 ถึง 16 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นเวลา 7 วันติดต่อกันในพื้นที่ปลดปล่อย[7] สหสันนิบาตยะไข่จัดโดยสมาชิกคณะกรรมการกลาง 21 คน ได้แก่ ประธาน เลขาธิการใหญ่ เลขาธิการ (1) เลขาธิการ (2) เลขาธิการ (3) กลุ่มที่ปรึกษาพิเศษ ทู่นเมียะไนง์ ดำรงตำแหน่งประธานสหสันนิบาตยะไข่ และโญทู่น-ออง ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ไม่มีการประกาศชื่ออื่น
ความขัดแย้ง
[แก้]กองกำลังตำรวจสิงคโปร์จับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของสหสันนิบาตยะไข่และเนรเทศพวกเขากลับพม่าเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[8] ตำรวจพม่าควบคุมตัวและจับกุมเยาวชนยะไข่ที่ส่งตัวกลับจากสิงคโปร์ที่ท่าอากาศยานย่างกุ้ง ในคำร้องเรียนของกองกำลังตำรวจพม่า สหสันนิบาตยะไข่ซึ่งนำโดยอองเมียะจอ ซึ่งเป็นน้องชายของทู่นเมียะไนง์ และอีกสามคน ได้แก่ ตูนเอ, ตานตูนไนง์ และโซโซ ก่อตั้งขึ้นในสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2556 มีสมาชิกประมาณ 86 คน ตำรวจกล่าวหาว่าสมาชิกจ่ายค่าธรรมเนียมรายเดือนและพวกเขาสนับสนุนค่าธรรมเนียมรายเดือนให้กับสหสันนิบาตยะไข่และกองทัพยะไข่[8][9]
อย่างไรก็ตาม สหสันนิบาตยะไข่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2559 เท่านั้น ตามหนังสือสำรวจมเยาะอู้ (Mrauk-U survey book) หนังสือเล่มนี้เขียนโดยมองมองโซ ผู้ได้รับรางวัลวรรณกรรมแห่งชาติพม่า (Myanmar National Literature Award) ประจำปี พ.ศ. 2560[10]
วิกฤตการณ์โรฮีนจา
[แก้]ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2567 สหสันนิบาตยะไข่พยายามสร้างความสมดุลกับชนกลุ่มน้อยโรฮีนจาในพื้นที่ที่สหสันนิบาตยะไข่บริหารอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการอนุญาตให้มีเสรีภาพในการเดินทางในยะไข่ตอนกลางและปะและวะ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงการกระทำในอดีตของกองทัพยะไข่ต่อชาวโรฮีนจา และข้อกล่าวหาเรื่องความโหดร้าย ชุมชนโรฮีนจายังคงแตกแยกขัดแย้งกับชาวยะไข่และสหสันนิบาตยะไข่ต่อไป[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ULA Leadership". ULA. 5 September 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2018.
- ↑ "ULA / AA". Arakan Army. 4 May 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2019. สืบค้นเมื่อ 8 November 2019.
- ↑ "AA/ULA welcomes Chinese investment in Rakhine". Mizzima (ภาษาอังกฤษ). 24 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2019. สืบค้นเมื่อ 9 November 2019.
- ↑ Sandford, Steve (16 October 2019). "Myanmar's Arakan Army is Recruiting and Training to Fight Government". Voice of America. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 9 November 2019.
- ↑ "China meets with armed groups over Shan clashes". The Myanmar Times. 23 August 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2019. สืบค้นเมื่อ 9 November 2019.
- ↑ "ULA/AA". ISP Peace Desk. 6 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2019. สืบค้นเมื่อ 8 November 2019.
- ↑ "Organization". ULA. 5 September 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2018.
- ↑ 8.0 8.1 "AA leader's sister, brother-in-law arrested at Yangon Airport". Eleven Media Group. 21 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2019. สืบค้นเมื่อ 9 November 2019.
- ↑ "ရခိုင်အသင်း (စင်္ကာပူ) ခေါင်းဆောင်များ အမှု "မြောက်ဦးစစ်တမ်း"စာအုပ် သက်သေခံဝင်". The Irrawaddy Burma. 31 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2019. สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.
- ↑ "၂၀၁၇ ခုနှစ်အတွက် အမျိုးသားစာပေဆုများ ထုတ်ပြန်ကြေညာ". MOI. 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2019. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.
- ↑ Rohingya Community Is Divided Over Arakan Army’s Plan for ‘Inclusive Administration’. The Diplomat. October 30, 2024. Rajeev Bhattacharyya. เก็บถาวร ตุลาคม 30, 2024 ที่ archive.today