ข้ามไปเนื้อหา

สวนโบราณแห่งซูโจว

บทความนี้เป็นบทความแปลของพนักงานดีแทคในความร่วมมือกับวิกิพีเดีย คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
พิกัด: 31°19′36.2″N 120°37′32.3″E / 31.326722°N 120.625639°E / 31.326722; 120.625639
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สวนโบราณเมืองซูโจว)


สวนโบราณแห่งซูโจว *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
สวนจัวเจิ้ง แผนที่
ประเทศ จีน
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i) (ii) (iii) (iv) (v)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2540 (คณะกรรมการสมัยที่ 21)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

สวนโบราณแห่งซูโจว (จีนตัวย่อ: 苏州古典园林; จีนตัวเต็ม: 蘇州古典園林) เป็นสถานที่ที่มีสวน คลอง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ มากมายแบบจีนในเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้รับการบันทึกเป็นมรดกโลกโดยโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)

สวนโบราณแห่งซูโจวมีประวัติศาสตร์ยาวนานมากว่า 2,000 ปี ตั้งแต่ก่อนศตวรรษที่ 6 ในยุคชุนชิว ชาวเมืองรู้จักการสร้างและจัดสวนมานานแล้ว ต่อมาช่วงกลางสมัยราชวงศ์หมิง การสร้างสวนของซูโจวเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น จนถึงต้นสมัยราชวงศ์ชิง (ศตวรรษที่ 11-19) มีสวนทั้งในและนอกเมืองซูโจวมากกว่า 200 สวน[1] ซึ่งมักสร้างขึ้นโดยเหล่าเจ้านายชั้นสูง ขุนนาง เศรษฐี และมหาบัณฑิตต่าง ๆ

สวนโบราณในเมืองซูโจว แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ สวนในที่พักอาศัย สวนในวัด และสวนชานเมือง โดยมีจำนวนสวนในที่พักอาศัยมากที่สุด ศิลปะในการสร้างสวนแห่งเมืองซูโจวนั้น เป็นผลงานสร้างสรรค์สวนที่มักจะจำลองมาจากธรรมชาติ เช่นหิน เนินเขา และแม่น้ำ โดยมีศาลาหรือเจดีย์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ[1]

ตามข้อมูลขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) สวนในเมืองซูโจว "ได้แสดงถึงพัฒนาการทางด้านการออกแบบภูมิสถาปัตย์มานานกว่า 2,000 ปี (represent the development of Chinese landscape garden design over more than two thousand years)"[2] นอกจากนั้น สวนเหล่านี้ยัง “เป็นสวนที่ปราณีตสวยงามที่สุด (most refined form)” ในด้านศิลปะการจัดสวน[2]

สวนของจีนมีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาวัฒนธรรมประเพณีจีนโบราณ สิ่งที่ทำให้สวนซูโจวมีชื่อเสียงมากก็คือการรวมเอาลักษณะของศิลปะต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้อย่างกลมกลืนลงตัว ตั้งแต่สถาปัตยกรรม (เช่น ศาลา และสะพาน) สิ่งของตกแต่ง (เช่น ภาพเขียนพู่ำกันจีน ภาพปัก หรือการเขียนอักษรจีนด้วยพู่กัน) การจัดภูมิทัศน์ (เช่น การจัดวางตำแหน่งและรูปแบบของทะเลสาบ ลำธาร ที่สามารถสะท้อนแสงจากดวงจันทร์ได้ดี โดยสระน้ำในสวนจะไม่นิยมรูปแบบที่เป็นเรขาคณิต แต่จะออกแบบทำให้กลมกลืนไปกับส่วนอื่น ๆ โดยเน้นให้เกิดความรู้สึกอันสงบเงียบ) อีกทั้งในด้านการเลือกต้นไม้ที่มีชื่ออันเป็นมงคล (ไม่ว่าจะเป็นไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ใบหลากสี รวมทั้งไม้กระถาง และไม้ดัด) โดยมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า สวนซูโจวเน้นเรื่องหินกับน้ำเพื่อทำจิตให้เป็นสมาธิเหมือนกับสวนเซ็นของประเทศญี่ปุ่น มากกว่าจะเป็นการประดับประดาด้วยพันธุ์ไม้หลากสี[3]

ปัจจุบันมีสวนจำนวน 69 แห่งในซูโจวที่ได้รับการบูรณะใหม่[4] โดยสวนเหล่านี้ทุกแห่งได้รับการบันทึกให้เป็น "มรดกของชาติ (National Heritage Sites)"[5] ในปี ค.ศ. 1997 และปี ค.ศ. 2000 มีสวนในเมืองซูโจว 8 แห่ง และสวนในเมืองถงหลี่ (Tongli; 同里) ซึ่งอยู่ใกล้เคียงอีก 1 แห่ง ได้รับการคัดเลือกและบันทึกให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ด้วย[4]

ภูมิสถาปนิกชื่อดังผู้ออกแบบสวนซูโจว อาทิ จางเหลียง (Zhang Liang) จี้เฉิง (Ji Cheng) เกอยู่เหลียง (Ge Yuliang) เฉินฉงโจว (Chen Congzhou)

สถานที่ได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลก

[แก้]

สถานที่ที่ได้รับลงทะเบียนนั้นมีทั้งหมด 9 แห่ง คือ

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก

[แก้]

สวนเมืองซูโจวได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2540 และได้มีการขยายอาณาเขตต่อเมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยมีเหตุผลดังนี้

  • (i) - เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวนและภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
  • (v) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

สวนโบราณแห่งซูโจว

[แก้]
Image Name Inscription date
สวนจัวเจิ้ง

(Humble Administrator's Garden; 拙政园/拙政園; Zhuōzhèng Yuán)

1997
สวนหลิว

(Lingering Garden; 留园/留園; Liú Yuán)

1997
สวนหว่างซือ

(Master of Nets Garden; 网师园/網師園; Wǎngshī Yuán)

1997
เรือนหวงซิ่วซานซวง

(The Mountain Villa with Embracing Beauty; 环秀山庄/環秀山莊; Huánxiù Shānzhuāng)

1997
สวนโอ่ว

(Couple's Retreat Garden; 耦园/耦園; Ŏu Yuán)

2000
สวนยี่ปู่

(Garden of Cultivation;艺圃/藝圃; Yì Pǔ)

2000
ศาลาชางลั่งถิง หรือพลับพลาเกลียวคลื่น

(Great Wave Pavilion; 沧浪亭/滄浪亭; Cāng Làng Tíng)

2000
สวนซือจึ หรือสวนป่าสิงโต

(Lion Grove Garden; 狮子林园/獅子林園; Shī Zǐ Lín Yuán)

2000
สวนทุ่ยซือ

(The Retreat & Reflection Garden; 退思园/退思園; Tuìsī Yuán)

2000

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Classical Gardens". Chinavista.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-24. สืบค้นเมื่อ 2012-12-01.
  2. 2.0 2.1 "World Heritage List (Suzhou)". UNESCO Advisory Body Evaluation. 1996-07-26. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. เจียงหนานแสนงาม หน้า 248-257 บทพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  4. 4.0 4.1 Robert Ivy, FAIA. "I.M. Pei returns to his family's hometown in China and designs the Suzhou Museum for a sensitive, historic site". Architectural Record.
  5. "Flowing Serenity - The Chinese Garden". Emel magazine Issue 73 October 2010.

31°19′36.2″N 120°37′32.3″E / 31.326722°N 120.625639°E / 31.326722; 120.625639