ข้ามไปเนื้อหา

สลัดหลวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือเคนต์ (ลำซ้าย) ของบริษัทอินเดียตะวันออก เป็นเรือพาณิชย์-สลัดหลวงของอังกฤษ ขณะทำการต่อสู้กับเรือกงฟิอ็อง เรือพาณิชย์-สลัดหลวงของฝรั่งเศส เมื่อปี 1800

สลัดหลวง (อังกฤษ: Privateer) หมายถึงบุคคลหรือเรือเอกชนที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลให้เข้าร่วมทำสงครามทางทะเล[1] ทั้งนี้เนื่องจากในยามศึกสงคราม การปล้นชิงเกิดขึ้นเป็นปกติในท้องทะเล ดังนั้นเรือพาณิชย์ส่วนใหญ่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงติดอาวุธเพื่อป้องกันตัว

เรือที่มีหนังสืออนุญาตจากรัฐบาล จะสามารถกระทำการประทุษร้ายทุกรูปแบบในทะเลเพื่อประโยชน์ทางสงคราม ซึ่งรวมถึงการโจมตีเรือต่างชาติและยึดทรัพย์สินเป็นรางวัล รวมถึงจับตัวลูกเรืออีกฝ่ายเป็นเชลยสงคราม เรือที่ถูกยึดจะถูกบังคับขายทอดตลาดภายใต้กฎรางวัล (prize law) เงินที่ได้จากการขายเรือจะถูกแบ่งตามสัดส่วนระหว่าง ผู้สนับสนุนสลัดหลวง, เจ้าของเรือ, กัปตัน และลูกเรือ

การมีอยู่ของระบบสลัดหลวง เป็นหนึ่งในช่องทางสร้างรายได้อย่างงามให้แก่รัฐบาลในช่วงสงคราม อย่างไรก็ตาม การใช้ระบบนี้มีความเสี่ยงที่สลัดหลวงเหล่านี้จะผันตัวกลายเป็นโจรสลัดเมื่อสงครามสิ้นสุด

อ้างอิง

[แก้]
  1. Thomson, Janice E (1994). Mercenaries, pirates and sovereigns. New Jersey, United States: Princeton University Press. pp. 310/3153. ISBN 9780691086583.