สลอบอดัน มีลอเชวิช
สลอบอดัน มีลอเชวิช | |
---|---|
Слободан Милошевић | |
ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย คนที่ 3 | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กรกฎาคม 1997 – 7 ตุลาคม 2000 | |
นายกรัฐมนตรี | ราดอเย กอนติช มอมีร์ บูลาตอวิช |
ก่อนหน้า | ซอรัน ลิลิช |
ถัดไป | วอยีสลาฟ คอชตูนีตซา |
ประธานาธิบดีเซอร์เบีย คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มกราคม 1991[a] – 23 กรกฎาคม 1997 | |
นายกรัฐมนตรี | Dragutin Zelenović Radoman Božović Nikola Šainović Mirko Marjanović |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | ดรากัน ตอมิช (รักษาการ) มีลัน มีลูตินอวิช |
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเซอร์เบีย คนที่ 14 | |
ดำรงตำแหน่ง 8 พฤษภาคม 1989 – 11 มกราคม 1991[a] | |
นายกรัฐมนตรี | Desimir Jevtić Stanko Radmilović |
ก่อนหน้า | Petar Gračanin Ljubiša Igić (รักษาการ) |
ถัดไป | ยกเลิกตำแหน่ง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 สิงหาคม ค.ศ. 1941 พอชาเรวัตส์, เซอร์เบียภายใต้การยึดครอง |
เสียชีวิต | 11 มีนาคม ค.ศ. 2006 เฮก เนเธอร์แลนด์ | (64 ปี)
เชื้อชาติ | ยูโกสลาเวีย |
พรรคการเมือง | สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย(SKJ) (1959–1990) พรรคสังคมนิยมเซอร์เบีย (SPS) (1990–2006) |
คู่สมรส | Mirjana Marković |
บุตร | Marko and Marija |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเบลเกรด |
ลายมือชื่อ | |
a. ^ Became "President of the Presidency" แห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเซอร์เบีย (a constituent countryแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย) เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ต.ศ. 1989. ภายหลังการล่มสลายของยูโกสลาเวีย, โดยได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของ สาธารณรัฐเซอร์เบีย (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย) ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1991 | |
สลอบอดัน มีลอเชวิช (เซอร์เบีย: Слободан Милошевић, อักษรโรมัน: Slobodan Milošević, ); 20 สิงหาคม 1941 – 11 มีนาคม 2006) เป็นนักการเมืองชาวยูโกสลาเวียและเซอร์เบียที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเซอร์เบียระหว่างปี 1989–1997 และประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียตั้งแต่ปี 1997 จนถึงการถูกโค่นล้มในปี 2000 มีลอเชวิชมีบทบาทสำคัญในสงครามยูโกสลาเวียและกลายเป็นผู้นำประเทศคนแรกที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำอาชญากรรมสงครามขณะดำรงตำแหน่ง[1]
มีลอเชวิชเกิดที่เมืองพอชาเรวัตส์ เขาศึกษากฎหมายที่คณะนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเบลเกรด ระหว่างที่เขาศึกษา เขาเข้าร่วมกับสหพันธ์เยาวชนสังคมนิยมแห่งยูโกสลาเวีย ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 เขาทำงานเป็นที่ปรึกษาของนายกเทศมนตรีเบลเกรด และในทศวรรษ 1970 เขาเป็นผู้สนับสนุนของผู้นำเซอร์เบีย อีวาน สตัมบอลิช.[2][3][4] มิโลเชวิชได้เป็นสมาชิกระดับสูงของสันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งเซอร์เบีย (SKS) ในช่วงทศวรรษ 1980 และเขาขึ้นสู่อำนาจในปี 1987 หลังจากที่เขาขับไล่ผู้คัดค้านรวมถึงสตัมบอลิช เขาถูกเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเซอร์เบียในปี 1989 และเป็นผู้นำการปฏิวัติต่อต้านระบบราชการซึ่งได้ปฏิรูปรัฐธรรมนูญของเซอร์เบียและเปลี่ยนแปลงรัฐให้เข้าสู่ระบบพรรคการเมืองหลายพรรค เขาเป็นผู้นำพรรคสังคมนิยมแห่งเซอร์เบียนับตั้งแต่การก่อตั้งในปี 1990 จนถึงวันที่เขาเสียชีวิต หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปในปี 1990 มีลอเชวิชได้ดำเนินการปกครองในรูปแบบพรรคการเมืองเดียว ขณะที่พรรคของเขาควบคุมทรัพยากรทางเศรษฐกิจของรัฐ.[5][6][7] ระหว่างการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลและต่อต้านสงครามขึ้น และมีทหารผู้หลบหนีจากกองทัพประชาชนยูโกสลาเวียที่มีลอเชวิชควบคุมอยู่หลายแสนคน ส่งผลให้เกิดการอพยพจำนวนมากจากเซอร์เบีย.
ระหว่างการทิ้งระเบิดของเนโทในยูโกสลาเวียในปี 1999 มีลอเชวิชถูกตั้งข้อกล่าวหาจากคณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย (ICTY) ในข้อหาก่ออาชญากรรมสงครามที่เกี่ยวข้องกับสงครามบอสเนีย, สงครามประกาศอิสรภาพโครเอเชีย และสงครามคอซอวอ[8]หลังจากการลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีของยูโกสลาเวียในปี 2000 ท่ามกลางการประท้วงต่อต้านการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่มีข้อสงสัย มีลอเชวิชถูกจับโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลางยูโกสลาเวียในเดือนมีนาคม 2001 ในข้อหาทุจริต, การใช้อำนาจในทางที่ผิด และการยักยอกทรัพย์[9][10] การสอบสวนเบื้องต้นล้มเหลว และเขาถูกส่งตัวไปยังคณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย (ICTY) เพื่อต่อสู้คดีในข้อหาก่ออาชญากรรมสงคราม.[11] มิโลเชวิชประณามศาลว่าเป็นศาลที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและปฏิเสธที่จะแต่งตั้งทนายความ โดยดำเนินการป้องกันตัวเอง เขาเสียชีวิตจากอาการหัวใจวายที่กรุงเฮกในปี 2006 ก่อนที่การพิจารณาคดีจะจบลง.[12][13] ศาลปฏิเสธความรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของมีลอเชวิช โดยระบุว่าเขาปฏิเสธที่จะรับยาที่แพทย์สั่งสำหรับโรคหัวใจและเลือกที่จะรักษาด้วยตัวเองแทน หลังจากที่เขาเสียชีวิต คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียพบว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้องในอาชญากรรมร่วมที่ใช้ความรุนแรง เช่น การล้างชาติพันธุ์เพื่อลบล้างชาวโครแอต ชาวบอสนีแอกและชาวแอลเบเนียออกจากบางพื้นที่ในโครเอเชีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, และคอซอวอ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ได้ข้อสรุปแยกต่างหากว่าไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงเขากับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่กระทำโดยกองกำลังชาวเซิร์บบอสเนียในระหว่างสงครามบอสเนีย แต่พบว่ามีลอเชวิชได้ละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยไม่สามารถป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จากการเกิดขึ้น และไม่สามารถถือผู้ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบได้.[14][15]
ผู้สังเกตการณ์ได้อธิบายพฤติกรรมทางการเมืองของมีลอเชวิชว่าเป็นแบบประชานิยมและคตินิยมสรรผสาน[16] การปกครองของมิโลเซวิชได้รับการอธิบายว่าเป็นแบบเผด็จการหรือเผด็จการอำนาจนิยม รวมถึงการปกครองแบบคเลปโตแครต (การใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว) โดยมีข้อกล่าวหาการทุจริตในการเลือกตั้ง, การลอบสังหาร, การลดเสรีภาพสื่อ, และการใช้ความรุนแรงโดยตำรวจ.[17][18][19][20]
ปฐมวัย
[แก้]มีลอเชวิชเป็นชาวมอนเตเนโกรโดยกำเนิด เกิดที่เมืองพอชาเรวัตส์ในราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย (ปัจจุบันเมืองนี้อยู่ในประเทศเซอร์เบีย) บิดาของเขาฆ่าตัวตายในขณะที่เขาเรียนชั้นมัธยมศึกษา ส่วนมารดาก็ผูกคอตายในอีกสิบปีต่อมา
เริ่มอาชีพนักการเมือง
[แก้]เขาเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1959 โดยได้เริ่มประกอบอาชีพเป็นพนักงานธนาคาร ประจำธนาคารเบโอกราดสกาบังกา (ธนาคารแห่งเบลเกรด) ซึ่งในช่วงเวลานั้นเองที่เขามีโอกาสได้พำนักอยู่ในนครนิวยอร์กในฐานะผู้แทนธนาคารประจำสาขา ณ ต่างประเทศ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Milosevic indictment makes history". CNN. 27 May 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-04. สืบค้นเมื่อ 31 January 2024.
- ↑ Thomas, Robert (1999). Serbia under Milošević : politics in the 1990s. London: Hurst. p. 430. ISBN 1-85065-341-0. OCLC 41355127.
- ↑ Dawisha, Karen; Parrott, Bruce (1997). Politics, power, and the struggle for democracy in South-East Europe. Cambridge: Cambridge University Press. p. 154. ISBN 0-521-59244-5. OCLC 37308876.
- ↑ Tollefson, James (2007). Language and Political Conflict.
- ↑ Lazić, Mladen; Pešić, Jelena (25 September 2020). "The Stabilisation of the Capitalist Order and Liberal Value Orientations in Serbia". Südosteuropa. 68 (3): 386–407. doi:10.1515/soeu-2020-0028. ISSN 2364-933X. S2CID 222004199.
- ↑ Lansford, Tom (2012). Political handbook of the world 2012. Los Angeles: Sage. p. 1254. ISBN 978-1-4522-3434-2. OCLC 794595888.
- ↑ Đukić, Slavoljub (2001). Milošević and Marković : a lust for power. Alex Dubinsky. Montreal: McGill-Queen's University Press. p. 29. ISBN 978-0-7735-6939-3. OCLC 181843243.
- ↑ "Milosevic charged with Bosnia genocide". BBC. 23 November 2001. สืบค้นเมื่อ 20 June 2011.
- ↑ "Slobodan Milosevic to Stand Trial in Serbia". CNN. 31 March 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (transcript)เมื่อ 2 October 2016. สืบค้นเมื่อ 21 January 2012.
- ↑ "Milosevic arrested". BBC. 1 April 2001. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ Gall, Carlotta (1 July 2001). "Serbian Tells of Spiriting Milošević Away". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 July 2008.
- ↑ "Report to the President Death of Slobodan Milošević" (PDF). United Nations. 5 March 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 June 2006. สืบค้นเมื่อ 21 January 2012.
- ↑ "Prosecutor v. Slobodan Milosevic: Decision on Assigned Counsel Request for Provisional Release". United Nations. 5 March 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2006. สืบค้นเมื่อ 21 January 2012.
- ↑ Paul Mitchell (16 March 2007). "The significance of the World Court ruling on genocide in Bosnia". World Socialist Web. สืบค้นเมื่อ 9 February 2013.
- ↑ "Court Declares Bosnia Killings Were Genocide". The New York Times. 26 February 2007.. A copy of the ICJ judgement can be found here "Frame page of BHY (English)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2007. สืบค้นเมื่อ 3 August 2007.
- ↑ Djilas, Aleksa (1993). "A Profile of Slobodan Milošević". Foreign Affairs (ภาษาอังกฤษ). 72 (3): 94. doi:10.2307/20045624. JSTOR 20045624.
- ↑ "Milosevic: Serbia's fallen strongman". BBC. 30 March 2001. สืบค้นเมื่อ 12 December 2018.
- ↑ Sell, Louis (1999). "Slobodan Milošević: A Political Biography". Problems of Post-Communism. 46 (6): 12–27. doi:10.1080/10758216.1999.11655857.
- ↑ Keen, Mike; Mucha, Janusz (2013). Autobiographies of Transformation: Lives in Central and Eastern Europe. Routledge. p. 176.
- ↑ Byrne, Richard (2 November 2009). "Balkan Bottom Line". Foreign Policy.
แหล่งข้อมูล
[แก้]- หนังสือ
- Ackermann, Alice (2000). Making Peace Prevail: Preventing Violent Conflict in Macedonia (1st ed.). Syracuse, NY: Syracuse University Press. ISBN 978-0-8156-0602-4.
- Armatta, Judith (2010). Twilight of Impunity: The War Crimes Trial of Slobodan Milosevic. Duke University Press. ISBN 978-0-8223-4746-0.
- Bokovoy, Melissa K. (1997). State-Society Relations in Yugoslavia 1945–1992. New York, NY: St. Martin's Press. ISBN 978-0-312-12690-2.
- Burg, Steven L.; Shoup, Paul S. (1999). The War in Bosnia-Herzegovina: Ethnic Conflict and International Intervention. Armonk, NY: M.E. Sharpe. ISBN 978-1-56324-308-0.
- Cohen, Lenard J. (2001). Serpent in the Bosom: The Rise and Fall of Slobodan Milošević. Westview Press. ISBN 978-0-8133-2902-4.
- Doder, Dusko; Branson, Louise (1999). Milosevic: Portrait of a Tyrant. Free Press. ISBN 978-1-4391-3639-3.
- Gagnon, V. P. (2004). The Myth of Ethnic War: Serbia and Croatia in the 1990s. Ithaca, NY: Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-4264-3.
- Gordy, Eric C. (1999). The Culture of Power in Serbia: Nationalism and the Destruction of Alternatives. Pennsylvania State University Press. ISBN 0-271-01958-1.
- Hagan, John (2003). Justice in the Balkans: Prosecuting War Crimes in the Hague Tribunal. Chicago, IL: University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-31228-6.
- Henriksen, Dag (2007). NATO's Gamble: Combining Diplomacy and Airpower in the Kosovo Crisis 1998–1999. Annapolis, MD: Naval Institute Press. ISBN 978-1-59114-355-0.
- Jović, Dejan (2009). Yugoslavia: A State That Withered Away. West Lafayette, IN: Purdue University Press. ISBN 978-1-55753-495-8.
- LeBor, Adam (2004). Milosevic: A Biography. New Haven, CT: Yale University Press. ISBN 978-0-300-10317-5.
- Nitis, Takis (2011). The "Trial" of Slobodan Milocevic. Athens, Greece: Ocelotos Publications. p. 236. ISBN 978-960-9607-05-6.
- Pavlowitch, Stevan K. (2002). Serbia: The History behind the Name. London: Hurst & Company. ISBN 9781850654773.
- Petersen, Roger D. (30 September 2011). Western Intervention in the Balkans: The Strategic Use of Emotion in Conflict. Cambridge University Press. ISBN 978-1-139-50330-3.
- Post, Jerrold M.; George, Alexander L. (2004). Leaders and Their Followers in a Dangerous World: The Psychology of Political Behaviour. Ithaca, NY: Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-4169-1.
- Ramet, Sabrina P. (2006). The Three Yugoslavias: State-Building and Legitimation, 1918–2005. Bloomington, IN: Indiana University Press. ISBN 978-0-253-34656-8.
- Sell, Louis (2002). Slobodan Milosevic and the Destruction of Yugoslavia. Durham, NC: Duke University Press. ISBN 978-0-8223-2870-4.
- Sriram, Chandra Lekha; Martin-Ortega, Olga; Herman, Johanna (2010). War, Conflict and Human rights: Theory and Practice. London, UK; New York, NY: Routledge. ISBN 978-0-415-45205-2.
- Thompson, Mark (1994). Forging War: The Media in Serbia, Croatia and Bosnia-Hercegovina. International Centre Against Censorship, Article 19. Avon, United Kingdom: The Bath Press.
- Wydra, Harald (2007). Communism and the Emergence of Democracy. Cambridge, UK; New York, NY: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-85169-5.
- Zimmermann, Warren (1996). Origins of a Catastrophe: Yugoslavia and its Destroyers (1st ed.). New York, NY: Times Books. ISBN 978-0-8129-6399-1.
- Powers, Roger S (1997). Protest, Power, and Change: An Encyclopedia of Nonviolent Action from ACT-UP to Women's Suffrage. Routledge. ISBN 9781136764820.
- Udovicki, Jasminka; Ridgeway, James (2000). Burn This House: The Making and Unmaking of Yugoslavia. Durham, North Carolina: Duke University Press. ISBN 9781136764820.
- รายงานข่าว
- Eckholm, Erik (8 October 2000). "Showdown in Yugoslavia: An Ally". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 22 October 2011.
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- Recorded telephone conversations of Slobodan Milošević as Yugoslav crisis unfolded (transcripts in English)
- Clark, Janine (May 2007). "National Minorities and the Milošević Regime". Nationalities Papers. 35 (2): 317–339. doi:10.1080/00905990701254375. S2CID 153832814.
- Crnobrnja, Mihailo, "The Yugoslav Drama" (McGill 1996)
- Herman, Edward S. and David Peterson, Marlise Simons on the Yugoslavia Tribunal: A Study in Total Propaganda Service, ZNet, 2004.
- Herman, Edward S. and David Peterson, Milosevic's Death in the Propaganda System, ZNet, 14 May 2006.
- Herman, Edward S. and David Peterson, Marlise Simons and the New York Times on the International Court of Justice Decision on Serbia and Genocide in Bosnia, ZNet, 2007.
- Kelly, Michael J., Nowhere to Hide: Defeat of the Sovereign Immunity Defense for Crimes of Genocide & the Trials of Slobodan Milosevic and Saddam Hussein (Peter Lang 2005).
- Laughland, John, "Travesty: the Trial of Slobodan Milosevic and the Corruption of International Justice" (London: Pluto Press, 2007)
- Vladisavljevic, Nebojsa (March 2004). "Institutional power and the rise of Milošević". Nationalities Papers. 32 (1): 183–205. doi:10.1080/0090599042000186160. S2CID 154090422.
- Parenti, Michael (2002) [2000]. To Kill a Nation: The Attack on Yugoslavia. Verso. ISBN 978-1-85984-366-6.
- Fridman, Orli (2010). "'It was like fighting a war with our own people': anti-war activism in Serbia during the 1990s". The Journal of Nationalism and Ethnicity. 39 (4): 507–522. doi:10.1080/00905992.2011.579953. S2CID 153467930.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สลอบอดัน มีลอเชวิช
- Slobodan Milošević, Indictment and Transcripts (ICTY)
- Slobodan Milošević ที่ไฟน์อะเกรฟ