สยามโมอะเดปิส แม่เมาะเอนซิส
สยามโมอะเดปิส แม่เมาะเอนซิส ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: กลางสมัยไมโอซีน | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Primates |
อันดับย่อย: | Strepsirrhini |
อันดับฐาน: | †Adapiformes |
วงศ์: | †Sivaladapidae |
สกุล: | †Siamoadapis Chaimanee et al., 2007 |
สปีชีส์: | †S. maemohensis |
ชื่อทวินาม | |
†Siamoadapis maemohensis Chaimanee et alii, 2007 |
สยามโมอะเดปิส แม่เมาะเอนซิส เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในอันดับไพรเมต (Primate) ซึ่งปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siamoadapis maemohensis อยู่ในวงศ์ศิวะอะปิด (Sivaladapidae) ซึ่งมีกรามล่างจำนวน 4 กราม มีลักษณะสำคัญ คือ มีฟันกรามน้อยหนึ่งซี่ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าฟันกรามน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับไพรเมตวงศ์อื่น ๆ
สยามโมอะเดปิส แม่เมาะเอนซิส มีลักษณะใกล้เคียงกับลีเมอร์ มีหางยาวไว้เกาะเกี่ยวต้นไม้และมีวิวัฒนาการน้อยซึ่งพบเฉพาะเกาะมาดากัสการ์ ในทวีปแอฟริกา ขณะที่ลำตัวของ สยามโมอะเดปิส แม่เมาะเอนซิส มีความยาว 15 เซนติเมตร หรือเล็กกว่าลิงลมในปัจจุบันครึ่งหนึ่ง มีน้ำหนักเพียง 500-700 กรัม หากินในเวลากลางคืน โดยกินแมลง, ใบไม้และผลไม้เป็นอาหาร ไม่สามารถกัดกินอาหารแข็ง ๆ ได้
มีอายุอยู่เมื่อประมาณ 13.1 ล้านปีก่อนตอนกลางของสมัยไมโอซีนในยุคนีโอจีน เมื่อ 8 ล้านปีที่แล้ว โดยขุดค้นเป็นซากฟอสซิลครั้งแรกในอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคแถบนี้ เมื่อปี ค.ศ. 2004 โดย ดร.เยาวลักษณ์ ชัยมณี นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)[1]
อ้างอิง
[แก้]