สมเด็จสีสุวัตถิ์ พงศ์นารี มุนีพงศ์
สีสุวัตถิ์ พงศ์นารี มุนีพงศ์ | |
---|---|
สมเด็จ | |
ประสูติ | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 พนมเปญ กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส |
ราชวงศ์ | ตรอซ็อกผแอม (สายราชสกุลสีสุวัตถิ์) |
พระบิดา | สมเด็จกรมหลวงสีสุวัตถิ์ มุนีพงศ์ |
พระมารดา | ซน เนียรี |
ศาสนา | พุทธ |
ราชวงศ์กัมพูชา |
---|
พระมหาวีรกษัตรีย์นโรดม มุนีนาถ สีหนุ พระวรราชมารดา
พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น
|
สมเด็จสีสุวัตถิ์ พงศ์นารี มุนีพงศ์ (เขมร: ស៊ីសុវត្ថិ ពង្សនារី មុនីពង្ស, สีสุวตฺถิ พงสฺนารี มุนีพงสฺ; ประสูติ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2490) เป็นพระธิดาในสมเด็จกรมหลวงสีสุวัตถิ์ มุนีพงศ์ และเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ ปัจจุบันพระองค์เป็นสมาชิกสภาองคมนตรีของกษัตริย์กัมพูชา และเป็นสมาชิกสภารัฐธรรมนูญกัมพูชา[1]
พระประวัติ
[แก้]สมเด็จสีสุวัตถิ์ พงศ์นารี มุนีพงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 เป็นพระธิดาในสมเด็จกรมหลวงสีสุวัตถิ์ มุนีพงศ์ ประสูติแต่นักนางเนียรี (สกุลเดิม ซน) และเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ ซึ่งในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ และพระมหาวีรกษัตรีย์นโรดม มุนีนาถ สีหนุ พระวรราชมารดา ทรงรับสมเด็จสีสุวัตถิ์ พงศ์นารี มุนีพงศ์ ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปรียบพระราชธิดาเลี้ยง
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จสีสุวัตถิ์ พงศ์นารี มุนีพงศ์ ขึ้นเป็น พระองค์เจ้า (เขมร: ព្រះអង្គម្ចាស់, พระองคฺมฺจาส) เมื่อ พ.ศ. 2536 และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จสีสุวัตถิ์ พงศ์นารี มุนีพงศ์ ขึ้นเป็น สมเด็จ (เขมร: សម្តេច, สมฺเฎจ) เมื่อ พ.ศ. 2547[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "King appoints new Constitutional Council member". สืบค้นเมื่อ 9 December 2019.
- ↑ "9th Three Year Tenure of the Constitutional Council Members (2022-2025)". สืบค้นเมื่อ 14 October 2024.