สมเด็จพระอริยวงษญาณ
สมเด็จพระอริยวงษญาณ | |
---|---|
การเรียกขาน | ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ |
จวน | พระอารามหลวง |
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์ไทย |
วาระ | ตลอดพระชีพ |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | พระมหาเถรคันฉ่อง |
สถาปนา | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2359 |
คนสุดท้าย | สมเด็จพระอริยวงษญาณ (นาค) |
ยกเลิก | พ.ศ. 2392 |
ตำแหน่งที่มาแทน | สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ |
สมเด็จพระอริยวงษญาณ เป็นราชทินนามของสมเด็จพระสังฆราชไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ประวัติ
[แก้]พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน ระบุว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชโปรดให้พระมหาเถรคันฉ่องเป็นสมเด็จพระอริยวงษญาณ อยู่คณะคามวาษีฝ่ายซ้าย ปกครองคณะเหนือ[1] และในทำเนียบ "ตำแหน่งพระราชาคณะในกรุงนอกกรุง ครั้งกรุงเก่า" ปรากฏชื่อสมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี อยู่วัดหน้าพระธาตุ เป็นเจ้าคณะคามวาสีฝ่ายซ้าย[2] สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าอาจแก้ไขเป็นสมเด็จพระอริยวงษญาณในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ แต่ก็เป็นมติส่วนพระองค์อาจจะผิดก็ได้[3] ส่วนใน "เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1" ปรากฏราชทินนามสมเด็จพระอริยวงษญาณครั้งแรกในราชทินนามของสมเด็จพระอริยวงษญาณ (มี)[4] ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงแปลงราชทินนามเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ[5] โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อู่) เป็นรูปแรก[6]
รายนาม
[แก้]ในปัจจุบันมีสมเด็จพระสังฆราชที่ปรากฏราชทินนามว่า "สมเด็จพระอริยวงษญาณ" รวมทั้งสิ้น 4 พระองค์ ดังนี้
ลำดับที่ | รายนาม | วัด | ดำรงสมณศักดิ์ |
---|---|---|---|
1 | สมเด็จพระอริยวงษญาณ (มี) | วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร | พ.ศ. 2359-2362 |
2 | สมเด็จพระอริยวงษญาณ (สุก ญาณสังวร) | วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร | พ.ศ. 2363-2365 |
3 | สมเด็จพระอริยวงษญาณ (ด่อน) | วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร | พ.ศ. 2365-2385 |
4 | สมเด็จพระอริยวงษญาณ (นาค) | วัดราชบุรณราชวรวิหาร | พ.ศ. 2386-2392 |
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน, หน้า 93
- ↑ ตำนานคณะสงฆ์, หน้า 22
- ↑ ตำนานคณะสงฆ์, หน้า 21
- ↑ เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 60
- ↑ พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ๒๑๒. ทรงตั้งและแปลงนามพระราชาคณะฐานานุกรม
- ↑ พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ๑๑. ตั้งพระราชาคณะ
- บรรณานุกรม
- ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, 2514. 76 หน้า. [พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางเล็ก พิณสายแก้ว ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 19 เมษายน พุทธศักราช 2514]
- สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. ISBN 974-417-530-3
- ศานติ ภักดีคำ. พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน. พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, 2558. 558 หน้า. หน้า (35)-(50). ISBN 978-616-92351-0-1 [จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการพระราชทานเพลิงศพพระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร ป.ธ.๔)]