สมเด็จพระราชินีไซน์ อัล-ชาราฟ เฏาะลาลแห่งจอร์แดน
สมเด็จพระราชินีไซน์ อัล-ชาราฟ เฏาะลาล (เดิม: ไซน์ อัล-ชาราฟ; พระราชสมภพ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2459 – สวรรคต 26 เมษายน พ.ศ. 2537) เป็นพระบรมราชินีในสมเด็จพระเจ้าเฏาะลาลแห่งจอร์แดน เป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน
สมเด็จพระราชินีไซน์ อัล-ชาราฟ เฏาะลาลแห่งจอร์แดน | |
---|---|
![]() สมเด็จพระราชินีไซน์ในปีพ.ศ. 2496 | |
สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน | |
ดำรงพระยศ | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2495 (1 ปี 22 วัน) |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีมุสบาห์ |
ถัดไป | สมเด็จพระราชินีดีน่า |
พระราชสมภพ | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2459 อะเล็กซานเดรีย, ประเทศอียิปต์ ไซน์ อัล-ชาราฟ |
สวรรคต | 26 เมษายน พ.ศ. 2537 (77 พรรษา) เมืองโลซาน, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ |
ฝังพระศพ | พระราชวังรักฮาดาน |
พระราชสวามี | สมเด็จพระเจ้าเฏาะลาลแห่งจอร์แดน |
พระราชบุตร | สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน เจ้าชายมูฮัมหมัด เจ้าชายฮัสซัน เจ้าหญิงบัสมาห์ |
ราชวงศ์ | ฮัชไมต์ (อภิเษกสมรส) |
พระราชบิดา | ชารีฟจามัล อาลี บิน นัสเซอร์ |
พระราชมารดา | นางวิจดาน ชาห์กิร ปาชาห์ |
ศาสนา | ศาสนาอิสลาม |
พระราชประวัติ
[แก้]พื้นฐานครอบครัว
[แก้]สมเด็จพระราชินีไซน์ อัล-ชาราฟ เฏาะลาลแห่งจอร์แดน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2459 ณ อะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ในตระกูลเฮจาซี่เชื้อสายอียิปต์[1] เป็นธิดาในชารีฟจามัล อาลี บิน นัสเซอร์กับนางวิจดาน ชาห์กิร ปาชาห์ พระชนกของพระองค์เป็นผู้ว่าการฮาวรันและเป็นหลานชายของชารีฟฮุซัยน์ บิน อาลีแห่งนครเมกกะ[2] พระชนนีของพระองค์เป็นธิดาของนายชาห์กิร ปาชาห์[2] ผู้เป็นเหลนชายของชาวไซปรัสตุรกี - ออตโตมัน นามว่า คามิล ปาชาห์ ผู้ว่าการไซปรัส
อภิเษกสมรส
[แก้]ทรงเข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าชายเฏาะลาล บิน อับดุลลอฮ์ พระญาติชั้นที่หนึ่งของพระองค์ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 ทรงมีพระราชโอรส – ธิดาดังนี้
สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน (พระราชสมภพ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 – สวรรคต 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542)[3]
เจ้าชายมูฮัมหมัด (ประสูติ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2483)[3]
เจ้าชายฮัสซัน (ประสูติ 20 มีนาคม พ.ศ. 2490)[3]
เจ้าหญิงบัสมาห์ (ประสูติ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2494)[3]
พระราชกรณียกิจ
[แก้]พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจหลายด้าน โดยทรงมีบทบาทสำคัญในด้านการเมืองของจอร์แดน ทรงสนับสนุนให้เกิดการทำงานเพื่อการกุศลเพื่อเด็กและสตรี พระองค์ทรงเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญแห่งจอร์แดน เมื่อปี พ.ศ. 2495 โดยทรงลงข้อความให้สิทธิเด็กและสตรีเพิ่มมากขึ้น
พระเกียรติยศ
[แก้]พระอิสริยยศ
[แก้]• ไซน์ อัล-ชาราฟ (2 สิงหาคม พ.ศ. 2459 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477)
• เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงไซน์ อัล-ชาราฟ เฏาะลาลแห่งจอร์แดน (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 – 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2494)
• เฮอร์มาเจสตี้ สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน (20 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2495)
• เฮอร์มาเจสตี้ สมเด็จพระราชินีไซน์ อัล-ชาราฟ เฏาะลาลแห่งจอร์แดน (11 สิงหาคม พ.ศ. 2495 – 26 เมษายน พ.ศ. 2537)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์แดน
[แก้]จอร์แดน :
Dame Grand Cordon with Collar of the Order of al-Hussein bin Ali.[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]มาเลเซีย :
Honorary Grand Commander of the Order of the Defender of the Realm (SMN, 24 April 1965).[5]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีไซน์ อัล-ชาราฟ เฏาะลาลแห่งจอร์แดน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินีมุสบาห์ บิน นัสเซอแห่งจอร์แดน | ![]() |
![]() สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน (2494 - 2495) |
![]() |
เจ้าหญิงดีนา บินต์ อับดุลฮะมีด |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ هذه الاميرة كان طلال يحبها وكان من الممكن ان تكون اما للملك حسين ولو لم تقتل الملكة زين الملكة علياء طوقان لربما تغير وجه الاردن, Arab Times, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-06, สืบค้นเมื่อ 6 September 2017,
بخاصة بعد أن اجبر الملك عبدالله ابنه طلال على الزواج من تركية ولدت في مصر اسمها زين وهي أم الملك حسين ...
- ↑ 2.0 2.1 Jordan remembers Queen Zein, Jordan Times, 2015, สืบค้นเมื่อ 6 September 2017
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "Queen Zein of Jordan". Unofficial Royalty (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-09-17. สืบค้นเมื่อ 2017-10-11.
- ↑ "jordan2". www.royalark.net. สืบค้นเมื่อ 2017-10-11.
- ↑ "Senarai Penuh Penerima Darjah Kebesaran, Bintang dan Pingat Persekutuan Tahun 1965" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-28. สืบค้นเมื่อ 2018-05-12.