สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา
อิซาเบลที่ 1 | |
---|---|
สมเด็จพระราชินีนาถคาทอลิกแห่งสเปน ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า | |
พระบรมสาทิสลักษณ์ เมื่อ ค.ศ.1490 | |
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งกัสติยาและเลออน | |
ครองราชย์ | 11 ธันวาคม 1474 – 26 พฤศจิกายน 1504 (29 ปี 351 วัน) |
ราชาภิเษก | 13 ธันวาคม 1474 [1] |
ก่อนหน้า | เอนริเกที่ 4 |
ถัดไป | ฆัวนา และ เฟลิเปที่ 1 |
ผู้ร่วมในราชสมบัติ | เฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน |
สมเด็จพระราชินีแห่งอารากอน บาเลนเซีย ซาร์ดิเนียและมาฆอร์กา เคาน์เตสแห่งบาร์เซโลนา | |
ระหว่าง | 20 มกราคม 1479 – 26 พฤศจิกายน 1504 |
สมเด็จพระราชินีแห่งซิซิลี | |
ระหว่าง | 19 ตุลาคม 1469 - 26 พฤศจิกายน 1504 |
สมเด็จพระราชินีแห่งนาโปลี | |
ระหว่าง | 31 มีนาคม 1504 – 26 พฤศจิกายน 1504 |
พระราชสมภพ | 22 เมษายน ค.ศ. 1451 มาดริกัลเดลัสอัลตัสตอร์เรส สเปน |
สวรรคต | 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1504 (53 พรรษา) เมดินาเดลกัมโป สเปน |
คู่อภิเษก | พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน |
พระราชบุตร | อิซาเบลแห่งอัสตูเรียส สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส เจ้าชายฆวนแห่งอัสตูเรียส สมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาแห่งกัสติยา มาเรียแห่งอารากอน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส กาตาลินาแห่งอารากอน พระราชินีแห่งอังกฤษ |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ตรัสตามารา |
พระราชบิดา | พระเจ้าฆวนที่ 2 แห่งกัสติยา |
พระราชมารดา | สมเด็จพระราชินีอิซาเบล |
ลายพระอภิไธย |
สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา (สเปน: Isabel I de Castilla; 22 เมษายน พ.ศ. 1994-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2047) เป็นพระราชินีนาถแห่งกัสติยาและเลออนในราชวงศ์ตรัสตามารา พระนางและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน พระราชสวามี ได้วางรากฐานในการรวมสเปนให้สืบต่อไปจนถึงรุ่นหลาน คือจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทั้งสองได้เป็นขั้วอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในการยึดดินแดนสเปนกลับคืนมาจากชาวมัวร์และได้กระทำการรวมชาติสเปนเป็นปึกแผ่น พระนางทรงอนุมัติให้คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสไปแสวงหาดินแดนโพ้นทะเลและจนสำรวจพบทวีปอเมริกา พระนางจัดได้ว่าเป็นนักปกครองที่ได้รับการกล่าวชื่อในประวัติศาสตร์ พระนางได้ทำให้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเจริญอย่างมากในสเปนและพระนางทำให้กรานาดาในการปกครองของมุสลิมมัวร์ยินยอมส่งเครื่องบรรณาการต่อพระองค์ ต่อมาพระนางได้ทำการยึดครองกรานาดาได้สำเร็จ และยึดครองนาวาร์ได้ในปี พ.ศ. 2055 แล้ว คำว่า สเปน (สเปน: España) ก็เริ่มถูกนำมาใช้เพื่อเรียกชื่อของราชอาณาจักรที่รวมกันใหม่นี้ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของราชอาณาจักรกัสติยา ราชอาณาจักรอารากอน และราชอาณาจักรนาวาร์ได้วางรากฐานให้กับการเกิดสเปนสมัยใหม่และจักรวรรดิสเปน (Spanish Empire) สเปนกลายเป็นผู้นำอำนาจของยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องมาจากการปรับปรุงด้านการเมือง สังคม และการทหารในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การขยายตัวของผลผลิตที่ได้จากเหมืองแร่เงินในทวีปอเมริกาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็ยิ่งเสริมตำแหน่งมหาอำนาจให้มั่นคงขึ้นอีก
ช่วงต้นของชีวิต
[แก้]พระนางอิซาเบลเสด็จพระราชสมภพที่เมืองมาดริกัลเดลัสอัลตัสตอร์เรส ประเทศสเปน ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 1994 หลังจากนั้น 3 ปี พระอนุชา คือ เจ้าชายอัลฟอนโซแห่งอัสตูเรียสได้ประสูติตามมา เมื่อพระเจ้าฆวนที่ 2 แห่งกัสติยา พระบิดา เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1997 พระเจ้าเอนริเกที่ 4 แห่งกัสติยา พระเชษฐาต่างพระมารดา ได้ขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์ได้เนรเทศพระนางและพระอนุชาไปที่เมืองเซโกเบียและเนรเทศพระมารดาของพระนางอิซาเบลคือ สมเด็จพระราชินีอิซาเบลไปที่เมืองอาเรบาโล การสมรสครั้งแรกของพระเจ้าเอนริเก (สมรสกับสมเด็จพระราชินีบรานซ์แห่งนาวาร์) ไม่ค่อยราบรื่น จากนั้นได้สมรสกับสมเด็จพระราชินีฌูอานาแห่งโปรตุเกส พระเจ้าเอนริเกถูกกล่าวหาว่าทรงเป็นผู้รักร่วมเพศ พระนางฌูอานาได้ให้กำเนิดพระธิดาคือเจ้าหญิงฆัวนาแห่งกัสติยา เมื่อพระนางอิซาเบลมีพระชนมายุได้ 10 พรรษา พระนางและพระอนุชาได้ถูกเรียกตัวมาที่พระราชสำนักเพื่อให้อยู่ใต้การคุมพระองค์เข้มงวดขึ้น เหล่าขุนนางได้เรียกร้องให้พระเจ้าเอนริเกตั้งเจ้าชายอัลฟอนโซเป็นรัชทายาท พระองค์ก็ทรงยินยอมโดยให้เจ้าชายสมรสกับบุตรีของพระองค์ แต่ไม่กี่วันพระองค์ก็เปลี่ยนพระทัย
เหล่าขุนนางภายใต้เจ้าชายอัลฟอนโซได้เรียกร้องให้เจ้าชายทวงพระราชบัลลังก์คืน และได้สู้รบกับพระเจ้าเอนริเกในยุทธการที่โอลเมโด พ.ศ. 2010 ผลการสู้รบเสมอกัน 1 ปีให้หลังเจ้าชายอัลฟอนโซได้สิ้นพระชนม์ลงด้วยพระชันษา 14 ชันษา และเจ้าหญิงอิซาเบลก็ได้กลายเป็นความหวังสุดท้ายของเหล่าขุนนางฝ่ายเจ้าชายอัลฟอนโซ แต่พระนางปฏิเสธที่จะบัญชาการ ในที่สุดพระเจ้าเอนริเกที่ 4 ยินยอมให้เจ้าหญิงอิซาเบลเป็นทายาทครองราชบัลลังก์อย่างแท้จริง และหลังจากนั้นเจ้าหญิงฆัวนาจึงเป็นต้นตระกูลของพระราชบิดาต่อมา ใน พ.ศ. 2018 เจ้าหญิงฆัวนาได้สมรสกับพระปิตุลาของพระนางเองซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งโปรตุเกส แต่การสมรสนี้ในภายหลังถูกสมเด็จพระสันตะปาปาห้ามเพราะเป็นการสมรสกันในเครือญาติ พระเจ้าเอนริเกยินยอมให้เจ้าหญิงอิซาเบลเลือกคู่สมรสของพระนางเอง พระนางได้เลือกเจ้าชายเฟร์นันโดรัชทายาทในราชบัลลังก์แห่งอารากอน พระนางทรงประทับใจในรูปโฉมของเจ้าชาย และเจ้าชายก็ทรงประทับใจพระนางเช่นกัน ทั้งสองพระองค์ได้อภิเษกสมรสกันในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2012 ที่เมืองบายาโดลิด
เหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2035
[แก้]ปี พ.ศ. 2035 เป็นปีที่สำคัญปีหนึ่งของพระนางอิซาเบล คือ เหตุการณ์การทวงดินแดนคืนแห่งกรานาดาซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของการพิชิตดินแดนคืน (reconquest) การอุปถัมภ์คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเพื่อเสาะแสวงหาดินแดนใหม่ และการขับไล่ชาวยิวและมัวร์ออกจากสเปน
กรานาดา
[แก้]ราชอาณาจักรกรานาดาของชาวมุสลิมแห่งราชวงศ์นาสริดได้สามรถป้องกันเมืองอย่างเข้มแข็งได้จากปฏิบัติการรีคอนเควสตาของสเปน อย่างไรก็ตามก็ได้สานมิตรไมตรีกับพระนางอิซาเบลและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 ทั้ง 2 พระองค์ได้ใช้เวลา 10 ปีจนสามารถครองกรานาดาได้ในปี พ.ศ. 2035
เมื่อชาวสเปนได้จับสุลต่านบออับดิลสุลต่านแห่งกรานาดาและได้ปล่อยเขาเป็นอิสระจากการไถ่ตัวและให้สุลต่านปกครองกรานาดาต่อไป กษัตริย์สเปนได้เกณฑ์ทหารจากหลายประเทศทั่งยุโรปและปรับปรุงวิทยการอันล้าหลังและสร้างปืนใหญ่ การพัฒนาการเหล่านี้ทำให้สเปนประสบความสำเร็จในการรวมประเทศ ในปี พ.ศ. 2028 ได้มีการล้อมโจมตีเมืองลอนดา เมืองนี้ก็ยอมแพ้จากการโจมตีการโจมตีโดยการใช้ระเบิดหรือปืนที่มีอานุภาพร้ายแรงเป็นวงกว้าง และปีต่อมาเมืองโลจาก็ถูกยึดและเป็นอีกครั้งที่สุลต่านบออับดิลถูกจับกุมและได้รับการปล่อยตัว และปีต่อมาในการล่มสลายแห่งมาลากาทำให้อาณาจักรมุสลิมนาสริด ตะวันตกได้พ่ายแพ้ต่อสเปน ในปี พ.ศ. 2032 อาณาจักรมุสลิมนาสริด ตะวันออกก็ได้ยอมจำนนหลังจากการล่มสลายแห่งบาซา การล้อมโจมตีกรานาดาได้เกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิของปี พ.ศ. 2034 เมื่อค่ายของทหารสเปนถูกทำลายจากอุบัติเหตุไฟไหม้ ค่ายก็ได้สร้างใหม่ในหินเป็นรูปทรงไม้กางเขนสีขาวชื่อว่า ซานตา เฟ (i.e. 'Holy Faith') และเมื่อจบปีนี้สุลต่านบออับดิลก็ยอมจำนน ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2035 พระนางอิซาเบลและพระเจ้าเฟร์นันโดได้เข้าเมืองกรานาดาเพื่อรับกุญแจเมือง มัสยิดต่าง ๆ ได้ถูกดัดแปลงเป็นโบสถ์ สนธิสัญญาแห่งกรานาดาได้กล่าวว่าหลังจากปีนั้นจะให้ความมั่นใจแก่ศาสนาของมุสลิม แต่ศาสนาอิสลามจะไม่คงอยู่ในสเปน
โคลัมบัส
[แก้]พระนางอิซาเบลได้ปฏิเสธคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเกี่ยวกับการล่องเรือไปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดนการเดินทางไปทางตะวันตก แต่หลังจากนั้นพระนางก็ยินยอม
วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2035 คณะสำรวจของโคลัมบัสได้ออกเดินทาง และถึงทวีปอเมริกาในวันที่ 12 ตุลาคม เขาได้กลับมาพร้อมสิ่งที่เขาพบมามอบแก่กษัตริย์ซึ่งเป็นของพื้นเมืองและทองคำ ทำให้ช่วงนี้เป็นยุคทองของสเปนในการสำรวจและแสวงหาอาณานิคม ในปีพ.ศ. 2037 ได้มีการทำสนธิสัญญาตอร์เดซิยัสร่ามกับพระเจ้าฌูเอาที่ 2 แห่งโปรตุเกสในการแบ่งดินแดนร่วมกันในอาณานิคมนอกยุโรป
พระนางสามารถป้องกันการโจมตีจากชนพื้นเมืองอเมริกา ในปีพ.ศ. 2046 พระนางได้จัดตั้งตำแหน่งข้าหลวงแห่งอินเดียนซี่งต่อมาเป็นสภาสูงแห่งอินดี
การขับไล่ชาวยิวและชาวมุสลิม
[แก้]เมื่อศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกแพร่หลายในสเปน และโตมัส เด ตอร์เกมาดา นักบวชคณะดอมินิกันสมาชิกชั้นสูงคนแรกของคณะ กษัตริย์คาทอลิกจึงได้ทำให้คาทอลิกเป็นเอกภาพ พระนางอิซาเบลจึงต่อต้านความเป็นอยู่ของชาวยิวที่ร่ำรวยจนเกินชาวคาทอลิก โตมัส เด ตอร์เกมาดาได้ทำการโน้มน้าวพระเจ้าเฟร์นันโดให้คล้อยตามด้วย ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2035 พระราชกฤษฎีกาอาลัมบราได้สั่งให้ขับไล่ชาวยิวจำนวน 200,000 คนออกจากสเปน ส่วนคนที่เหลืออยู่บังคับให้เปลี่ยนศาสนา ส่วนชาวมุสลิมในกรานาดาต้องการเสรีภาพในการนับถือศาสนาและได้ก่อกบฏ ชาวยิวคนหนึ่งผู้ซึ่งไม่ต้องถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนาคือ ลุยส์ เด ซันตังเฆล ผู้ซึ่งเป็นข้าหลวงการคลังของพระราชาและพระราชินีและเขาเป็นผู้ช่วยในการสำรวจโลกใหม่
บั้นปลายชีวิต
[แก้]พระนางอิซาเบลและพระสวามีทรงได้รับถวายพระสมัญญา พระมหากษัตริย์คาทอลิก จากสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 ให้เป็นคาทอลิกในทางโลกแต่พระนางไม่ยอมรับ ในตลอดการครองราชสมบัติของพระองค์ทำให้สเปนเจริญและเป็นอาณานิคมทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเฟื่องฟู หลังจากการปฏิวัติใน พ.ศ. 2042 สนธิสัญญาแห่งกรานาดาถูกเลิกใช้ ชาวมุสลิมต้องทำการล้างบาปแบบศาสนาคริสต์หรือไม่ก็ถูกขับไล่ออกจากประเทศ ฟรันซิสโก ฆิเมเนซ เด ซิสเนโรส อาร์ชบิชอปแห่งโตเลโดได้ทำการคืนศาสนาคริสต์กลับสู่สเปนและการเป็นผู้มีอิทธิพลมากในสเปน
พระนางและพระสวามีได้สร้างอาณาจักรและสร้างความสัมพันธ์กับอาณาจักรอื่น ๆ ด้วยการนำโอรสและธิดาไปสมรสกับบุตรของเจ้าแคว้นอื่นโดยเจ้าชายฆวนแห่งอัสตูเรียสอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งออสเตรียก่อตั้งสายราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค เจ้าหญิงอิซาเบลแห่งอัสตูเรียสให้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ามานูเอลที่ 1 แห่งโปรตุเกสและเจ้าหญิงฆัวนา อภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา แต่ความคิดของพระนางอิซาเบลล้มเหลวเพราะเจ้าชายฆวนแห่งอัสตูเรียสได้สิ้นพระชนม์หลังการอภิเษกไม่นาน สมเด็จพระราชินีอิซาเบลแห่งอัสตูเรียสได้สวรรคตหลังให้กำเนิดโอรส และพระโอรสก็สิ้นพระชนม์ขณะพระชนมายุ 2 ชันษา เจ้าหญิงฆัวนาก็มีปัญหาในการอภิเษกสมรส และพระธิดา เจ้าหญิงกาตาลินาแห่งอารากอนได้กลายเป็นพระมเหสีองค์ที่ 1 ของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษพระนางได้ให้กำเนิดพระธิดาคือ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ ที่ได้เป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ทิวดอร์ พระนางอิซาเบลเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2047 ที่เมดินาเดลกัมโป ก่อนที่พระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยากับพระเจ้าเฟร์นันโดเป็นศัตรูกัน
พระนางอิซาเบลได้ถูกฝังพระศพที่เมืองกรานาดาในกาปิยาเรอัล ที่สร้างขึ้งโดยพระนัดดาคือจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระศพอยู่คู่กับพระศพของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน พระสวามี พระศพของพระนางฆัวนาพระธิดาและพระเจ้าเฟลิเป พระสวามีของพระนางฆัวนา และพระนัดดาซึ่งเป็นบุตรของสมเด็จพระราชินีอิซาเบล พระธิดาคือ เจ้าชายมิเกล
พระราชินีนาถอิซาเบลกับการปกครองสมัยใหม่และการศาสนา
[แก้]ชาวคาทอลิกบางคนจากต่างประเทศได้ประกาศให้พระนางอิซาเบลเป็นนักบุญ ด้วยเหตุผลที่ว่าพระนางอิซาเบลได้ทำการปกป้องศาสนาคริสต์ให้คงอยู่ คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้ยกย่องพระนางเป็น ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า (Servant of God)
พระนางอิซาเบลได้มีการปรากฏชื่อครั้งแรกบนเหรียญของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเหรียญแห่งการระลึกถึงการครบรอบ 400 ปีการเดินทางของโคลัมบัสครั้งแรก และในปีเดียวกันพระนางได้เป็นสตรีคนแรกที่ได้ขึ้นบนแสตมป์ของอเมริกาซึ่งอยู่ในชุด Columbian Issue ที่จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองแด่โคลัมบัสเช่นกัน ภาพพระนางได้ปรากฏในสเปนที่ 15-cent Columbian บนมูลค่า 1 $ และในภาพเต็มซึ่งด้านข้างคือโคลัมบัสและบนมูลค่าอื่น ๆ อีกมากมาย
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
[แก้]- เรื่อง Queen's Cross แต่งในศตวรรษที่ 20 โดยนักเขียนชาวอเมริกัน ลอร์เลนซ์ สคูโนเวอร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระราชินีนาถอิซาเบลและพระเจ้าเฟร์นันโดในช่วงกระทำการรีคอนเควสตาและช่วงทายาทสืบราชวงศ์
- เรื่อง Fuente Ovejuna ของโลป เดอ เวกา เกี่ยวกับพระนางอิซาเบลและพระเจ้าเฟร์นันโดในการการต่อต้านระบบฟิวดัลของกลุ่มขุนนาง
- เรื่อง Royal Diaries เป็นเรื่องที่รวบรวมประวัติของสตรีสูงศักดิ์และมีชื่อเสียงทั่วโลกซึ่งรวมทั้ง Isabel, Jewel of Castilla, Spain, 1466 โดยคาโลลีน เมเยอร์ประวัติของพระราชินีนาถอิซาเบล
- เรื่อง Crown of Aloes เกี่ยวกับการชวนให้ระลึกถึงประวัติศาสตร์ในอดีต
- เรื่อง Pastwatch: The Redemption of Christopher Columbus โดย ออสัน สกอต การ์ดเกี่ยวกับคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส พระนางอิซาเบลและพระเจ้าเฟอร๋ดินานด์
- เรื่องสั้น Christopher Columbus and Queen Isabella of Spain Consummate Their Relationship โดย ซัลแมน รัชดี
- ในภาพยนตร์ ลอลา ฟลอเรสแสดงเป็นพระนางอิซาเบลในเรื่อง Juana la Loca, de vez en cuando แสดงโดย ซิกจวนนีย์ เวฟเวอร์ในเรื่องConquest of Paradise ของ ริดลีย์ สก็อตต์ แสดงโดยราเชล วาร์ดในเรื่อง Christopher Columbus: The Discovery แสดงโดย ราเชล เวล์สในเรื่อง The Fountain
- ในมินิซีรีส์ โดย เฟย์ ดูนาเวย์แสดงเป็นพระนางอิซาเบลในมินิซีรีส์เรื่อง Christopher Columbus
- ในเกมส์คอมพิวเตอร์ ปรากฏในเกมส์ Civilization IVโดยเป็นผู้นำของจักรวรรดิสเปน
- ในเกมส์ Age of Empires IIIโดยเป็นผู้นำของจักรวรรดิสเปน
- ในเกมส์เชิงกลยุทธ์อิงประวัติศาสตร์ Europa Universalis IV พระนางเป็นผู้ปกครองราชบัลลังก์กัสติยา ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1474 เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งราชบัลลังก์อารากอน ในวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1479 และเป็นผู้ปกครองร่วมของรัฐร่วมประมุข ระหว่างคาสติลและอารากอน ในวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1479
บรรพบุรุษ
[แก้]พระนางอิซาเบลทรงเป็นลูกหลานของพระเจ้าเอนริเกที่ 2 แห่งกัสติยา พระราชโอรสในพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 11 แห่งกัสติยา กับนางเอเลนอร์แห่งกัสแมน พระสนม สมเด็จพระราชินีแคทเทอรีนแห่งแลงคัสเตอร์ พระอัยยิกาฝ่ายพระบิดาของพระนางเป็นพระนัดดาของพระเจ้าปีเตอร์แห่งกัสติยากับพระสนม นางมาเรีย เดอ พาดิลลา พระอัยยิกาผ่ายพระมารดาของพระนางอิซาเบลคือ สมเด็จพระราชินีอิซาเบลแห่งบรากังซาเป็นพระธิดาในดยุคอัลฟอนโซแห่งบรากังซาผูซึ่งพระมารดาคือ นางอินเนส เปเรส เอสเทเวสเป็นพระสนมในพระเจ้าจอห์นที่ 1 แห่งโปรตุเกส
อิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา | พระราชบิดา: จอห์นที่ 2 แห่งกัสติยา |
พระอัยกาฝ่ายพระราชบิดา: เฮนรีที่ 3 แห่งกัสติยา |
พระปัยกาฝ่ายพระราชบิดา: จอห์นที่ 1 แห่งกัสติยา |
พระปัยยิกาฝ่ายพระราชบิดา: เอเลนอร์แห่งอารากอน | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระราชบิดา: แคทเทอรีนแห่งแลงคัสเตอร์ |
พระปัยกาฝ่ายพระราชบิดา: ดุ๊กจอห์นแห่งแลงคัสเตอร์ | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระบิดา: ดัสเซสคอนสแตนต์แห่งแลงคาสเตอร์ | |||
พระราชมารดา: อีซาแบลแห่งโปรตุเกส |
พระอัยกาฝ่ายพระราชมารดา: ลอร์ดฌูเอาแห่งรือเก็งกุช |
พระปัยกาฝ่ายพระราชมารดา: ฌูเอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส | |
พระปัยยิกาฝ่ายพระราชมารดา: ฟิลิปปาแห่งแลงคัสเตอร์ | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระราชมารดา: อีซาแบลแห่งบรากังซา |
พระปัยกาฝ่ายพระราชมารดา: ดุ๊กอาฟงซูแห่งบรากังซา | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระราชมารดา: เบอาตริช ปือไรรา อัลวิง |
ภาพ
[แก้]-
พระราชินีนาถอิซาเบลให้ทุนแก่โคลัมบัสเพื่อใช้ในการแสวงหาโลกใหม่
-
อนุสาวรีย์โคลัมบัสและพระนางอิซาเบลที่กรุงมาดริด
-
ภาพ Queen Isabella's Will (พินัยกรรมของพระราชินีนาถอิซาเบล), โดยเอดัวร์โด โรซาเลส จากซ้าย: เจ้าหญิงฆัวนาและพระเจ้าเฟร์นันโด จากขวา: พระคาร์ดินันด์ ชิสเนโรส (หมวกสีดำ).
-
ภาพเต็มพระองค์ของพระนางอิซาเบล
-
อนุสาวรีย์พระนางอิซาเบลที่สวนซาบาตินิในมาดริด
-
มงกุฎของพระนางอิซาเบลและดาบของพระเจ้าเฟร์นันโด ได้เก็บรักษาไว้ที่กาปิยาเรอัลที่กรานาดา
-
ภาพ The Capitulation of Granada (บทสรุปแห่งกรานาดา) วาดโดยฟรันซิโก ปราดิยา: พระเจ้ามูฮัมเหม็ดที่ 12 พระเจ้าเฟร์นันโดและพระนางอิซาเบล
อ้างอิง
[แก้]- Townsend Miller. The Castles and the Crown: Spain 1451-1555 (New York: Coward-McCann, New York, 1963)
- Warren H. Carroll. Isabel Of Spain: The Catholic Queen (Front Royal, VA: Christendom Press)
- Nancy Rubin Stuart. Isabella of Castile: The First Renaissance Queen (New York: St. Martin's Press, 1991)
- Peggy K. Liss, "Isabel the Queen," New York: Oxford University Press, 1992, p. 165
- Norman Roth, "Conversos, Inquisition, and the Expulsion of the Jews from Spain," Madison, WI, The University of Wisconsin Press, 1995,p. 150
- Isabel Violante Pereira, De Mendo da Guarda a D.Manuel I, Lisboa, 2001, Livros Horizonte
- James Reston, Jr. "Dogs of God," New York: Doubleday, 2005, p. 18
- El obispo judío que bloquea a la "santa". A report in Spanish about the beatification in El Mundo
- Isabella I in the Catholic Encyclopedia
- Medieval Sourcebook: Columbus' letter to King and Queen of Spain, 1494 เก็บถาวร 2014-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Music at Isabella's court เก็บถาวร 2006-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- University of Hull: Genealogy information on Isabella I[ลิงก์เสีย]
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าเอนริเกที่ 4 แห่งกัสติยา | พระมหากษัตริย์กัสติยาและเลออน (ราชวงศ์ตรัสตามารา) ร่วมราชบัลลังก์กับพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 (พ.ศ. 2017 – พ.ศ. 2047) |
สมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาร่วมกับเจ้าชายเฟลิเปรูปงาม | ||
สมเด็จพระราชินีฆัวนา เอนริเกซ | สมเด็จพระราชินีแห่งซิชิลี (พ.ศ. 2012 – พ.ศ. 2047) |
สมเด็จพระราชินีเจอร์แมนแห่งฟออิกซ์ | ||
ว่าง | สมเด็จพระราชินีแห่งอารากอน, มาจอร์กา และบาเลนเซีย และเคาน์เตสแห่งบาร์เซโลนา (พ.ศ. 2022 – พ.ศ. 2047) |
ว่าง | ||
สมเด็จพระราชินีแอนน์แห่งบริตานี | สมเด็จพระราชินีแห่งเนเปิลส์ (พ.ศ. 2047) |
ว่าง | ||
เจ้าชายอัลฟอนโซแห่งกัสติยา | เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส (พ.ศ. 2011 – พ.ศ. 2017) |
อิซาเบล เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส |
- ↑ Gristwood, Sarah (2016). Game of Queens: The Women Who Made Sixteenth-Century Europe. Basic Books. p. 30. ISBN 9780465096794.