ข้ามไปเนื้อหา

สมเกียรติ ตั้งนโม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเกียรติ ตั้งนโม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

สมเกียรติ ตั้งนโม (13 พฤศจิกายน 2501 - 6 กรกฎาคม 2553) นักวิชาการด้านศิลปร่วมสมัยและสุนทรียศาสตร์ รองศาสตราจารย์และอดีตคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ก่อตั้งและอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ประวัติ

[แก้]

สมเกียรติ ตั้งนโม สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร เมื่อปี 2522 ต่อมาสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อปี 2528 และสำเร็จการศึกษาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2533

เริ่มทำงานเป็นอาจารย์พิเศษที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2533 และเข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ประจำเมื่อปี 2535 ต่อมาในปี 2543-2544 เป็นหัวหน้าสาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ ในปี 2547 เป็นรองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิจิตรศิลป์ และเป็นคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่ปี 2551 จนกระทั่งเสียชีวิต

ปี 2540 สมเกียรติเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายทางวิชาการที่ชื่อ "มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน" เคยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และเป็นบรรณาธิการเว็บไซต์ midnightuniv.org ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการบทความทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนตั้งแต่ปี 2541 ในปี 2550 สมเกียรติได้รับเชิญในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ให้เข้าร่วมเทศกาลศิลปะ documenta 12 ที่เมืองคาสเซิล ประเทศเยอรมนี[1]

สมเกียรติ ตั้งนโม ถึงแก่กรรมในเช้าวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 ด้วยวัย 52 ปี ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (โรงพยาบาลสวนดอก) ด้วยโรคมะเร็ง พิธีฌาปนกิจมีขึ้นที่สุสานหายยาในวันที่ 10 กรกฎาคม[2][3]

หลังสมเกียรติเสียชีวิต มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้เปลี่ยนหน้าแรกของเว็บไซต์เป็นหน้าแจ้งข่าวการเสียชีวิตของสมเกียรติ และต่อมาได้ขึ้นบทความของ อุทิศ อติมานะ ชื่อ "สมเกียรติ ตั้งนโม กับโครงการทางการเมืองที่ยังไม่เสร็จ" ในหน้าแรกของเว็บไซต์ และสร้างหน้าเฟซบุ๊ก somkiet-tongnamo เพื่ออุทิศให้แก่สมเกียรติ[4]

ประวัติการศึกษา

[แก้]
  • ปริญญาโท อักษรศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล (2533)
  • ปริญญาตรี ศิลปบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร (2528)
  • ต่ำกว่าปริญญาตรี วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร (2522)

ประวัติการรับราชการ

[แก้]

ตำแหน่งวิชาการ

[แก้]
  • 2535 – 2540 ตำแหน่งอาจารย์ประจำ
  • 2540 – 2543 ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ 6
  • 2543 – 2552 ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ระดับ 9
  • 4 ก.ค. 51 เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย

ตำแหน่งบริหารระดับคณะ

[แก้]
  • 2538 – 2540 คณะกรรมการประจำคณะวิจิตรศิลป์ มช.
  • 2543 – 2544 หัวหน้าสาขาจิตรกรรม
  • 2547 – 2547 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิจิตรศิลป์ มช.
  • 2551 – 2553 คณบดีวิจิตรศิลป์ มช.

ตำแหน่งบริหาร ระดับมหาวิทยาลัย

[แก้]
  • 2540 – 2542 กรรมการสภาอาจารย์
  • 2547 – 2553 กรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย
  • 2547 – 2553 กรรมการศูนย์บริหารงานวิจัย
  • 2550 – 2553 กรรมการบริหารหลักสูตรร่วม สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
  • 2551 – 2553 ประธานกรรมการบัณฑิตวิทยาลัย คณะวิจิตรศิลป์
  • 2551 – 2553 คณบดีวิจิตรศิลป์

ตำแหน่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการ

[แก้]
  • 2536 – 2537 ก่อตั้งโครงการสนทนาปัญหาศิลปะ ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 2551 – 2553 ก่อตั้งและเป็นบรรณาธิการเว็ปไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

งานวิจัย

[แก้]
  • ศิลปะและศีลธรรม
  • ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดสุนทรียศาสตร์ในพุทธศาสนากับสุนทรียศาสตร์ของเพลโต
  • ข้อเสนอการประยุกต์แนวคิดทางปรัชญาของกลุ่มแฟรงค์เฟริทสกูล มาใช้เป็นฐานคิดการสร้างสรรค์งานศิลปะหลังสมัยใหม่ในประเทศไทย
  • การวิจัยเรื่องวัฒนธรรมทางสายตา (VISUAL CULTURE) (อยู่ในระหว่างดำเนินการ 2546-2547)
  • สถานภาพของผู้หญิงในศิลปะ สื่อ และกฎหมาย (วิจัยบูรณาการ) (อยู่ในระหว่างจัดทำข้อเสนอ เพื่อขอรับทุน)

งานวิชาการ งานแต่ง งานแปล และงานเรียบเรียง

[แก้]
  • การวิเคราะห์ภาพตามหลักสัญศาสตร์ (semiotic analysis)
  • การวิเคราะห์แนวภาพยนตร์ในโลกตะวันตก
  • การวิจารณ์ศิลปะ-วรรณกรรมแนวหลังอาณานิคม
  • ข้อจำกัดเกี่ยวกับทฤษฎีจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม
  • จาก ศิลปะเสื่อมทรามสู่เกียรติยศ Documenta (ความหมาย-ประวัติความเป็นมา)
  • แนวโน้มศิลปะกระแสหลักที่กำลังเปลี่ยน Documenta 11
  • Documenta 12 อีกสองปีข้างหน้ากับโอลิมปิกศิลปะ
  • ดิบงามในงานสร้างสรรค์
  • ดูละครแล้วย้อนดูตัว จากอริสโตเติลถึงเบรกท
  • ทฤษฎีความงาม-สุนทรียศาสตร์แบบยูโรเซนทริค (ตอนที่ ๑)
  • ทฤษฎีความงาม-สุนทรียศาสตร์แบบยูโรเซนทริค (ตอนที่ ๒)
  • ทฤษฎีวิพากษ์สังคม - ทฤษฎีวิพากษ์วรรณกรรม
  • ทำความเข้าใจสัญลักษณ์นิยมในงานศิลปะ
  • ธรรมชาติของเวลา (The Nature of Time) ตอนที่ ๑
  • ธรรมชาติของเวลา (The Nature of Time) ตอนที่ ๒ (วัฒนธรรมของเวลาและสถานที่)
  • นางบำเรอที่ถูกทำให้ผิวขาว: กากตกค้างของปิตาธิปไตย
  • แนวคิดศิลปะและสุนทรียศาสตร์นอกยุโรป
  • แนวคิดสุนทรียศาสตร์และศิลปะนอกกระแส
  • ในนาฏกรรมชั้นต่ำและวัฒนธรรมสอดแทรก
  • บนเส้นทางของความน่าเกลียด : ว่าด้วยเรื่องของสุนทรียศาสตร์
  • บนเส้นทางของวัฒนธรรมทางสายตา : จากศิลปะสู่วัฒนธรรม
  • ผลงานศิลปะในยุคของการผลิตซ้ำด้วยกลไก
  • โพสท์โมเดิร์นในศิลปะและปรัชญา
  • ภาพกว้างและความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะสถานการณ์นิยม
  • วาทกรรมบนร่างกาย และสุนทรียศาสตร์ของความเปลือยเปล่า
  • วิพากษ์อุตสาหกรรมภาพยนตร์ : ศิลปะหรือเพียงเหล้าดองสมองทุน (Frankfurt School)
  • ศิลปะแนวกิจกรรม ศิลปะเพื่อชุมชนและสังคม
  • ศิลปะในสายตาสังคมวิทยา
  • ศิลปะและสุนทรียศาสตร์เกี่ยวกับขยะ
  • สถานภาพของผู้หญิงในสื่อ ศิลปะ และกฎหมาย
  • องค์ประกอบและประวัติศาสตร์การวิจารณ์ศิลปะ
  • จากศิลปะเสื่อมทรามสู่เกียรติยศ Documenta
  • แนวโน้มศิลปะกระแสหลักที่กำลังเปลี่ยน Documenta11
  • โหมโรงเกี่ยวกับ Jacques Derrida
  • ปรัชญาการรื้อสร้าง (Deconstruction) ของ Derrida
  • ตามรอยแนวคิดหลังสมัยใหม่
  • Walter Gropius ผู้ให้กำเนิดหัวใจศิลปะแบบเบาเฮาส์ (หมายเหตุ : ผลงานวิชาการเหล่านี้ได้รับการเผยแพร่บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยเป็นไปตามแนวนโยบาย E-Learning เผยแพร่ที่ http://www.midnightuniv.org)

งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

[แก้]
  • ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปะกับคณะวิจิตรศิลป์
  • ร่วมแสดงนิทรรศการโครงการแลกเปลี่ยนศิลปะ ระหว่างคณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเว้
  • เขียนบทความให้กับสูจิบัตรงานแสดงนิทรรศการศิลปะคณะวิจิตรศิลป์
  • เขียนบทความให้กับสูจิบัตรงานแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ คณะวิจิตรศิลป์
  • เขียนบทความศิลปะให้กับหนังสือพิมพ์และนิตยสารหลายฉบับ (งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้ ได้กระทำมานับตั้งแต่บรรจุเข้ารับราชการตำแหน่งอาจารย์ คณะวิจิตรศิลป์ ปี พ.ศ. 2535 - ปัจจุบัน)

งานบริการสังคมทางวิชาการ

[แก้]
  • วิทยากรบรรยายภาพเขียนฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เผยแพร่ผ่านวิทยุ FM 100 ของภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กำกับรายการสนทนาทางโทรทัศน์ ชื่อรายการ "ทีทรรศน์ท้องถิ่น" ร่วมกับสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ (เขต 3)
  • ได้รับเชิญให้ไปบรรยายพิเศษที่คณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เช่น คณะสถาปัตยกรรม คณะมนุษยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ศูนย์สตรีศึกษา
  • ได้รับเชิญให้ไปบรรยายพิเศษที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
  • ได้รับเชิญให้เสนอความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ทางวิทยุหลายสถานี
  • เขียนบทความเกี่ยวกับประเด็นปัญหาสังคมร่วมสมัยให้กับนิตยสารต่างๆ
  • แปลและเรียบเรียงบทความทางปรัชญาและสังคม โดยเฉพาะประเด็นปัญหาสังคมและปรัชญาหลังสมัยใหม่ หลังอาณานิคม รวมถึงประเด็นเรื่องสตรีศึกษา ชาติพันธ์ และจิตวิเคราะห์ เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์หลายแห่ง
  • บริหารเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน www.midnightuniv.org
  • จัดทำวารสารข่าวหอศิลป์/วิจิตรศิลป์ (ตำแหน่งบรรณาธิการบริหาร) (งานบริการสังคมทางวิชาการเหล่านี้ ได้กระทำมานับตั้งแต่บรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งอาจารย์ คณะวิจิตรศิลป์ ปี พ.ศ. 2535 - 2553) (พ.ศ. 2533 ดำรงตำแหน่งอาจารย์พิเศษ)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ม.เที่ยงคืน" ฟ้องโลก สถานการณ์เซ็นเซอร์ในสังคมไทย ยันประเทศไทยไม่ใช่ซ่องโจร, ประชาไท, 9 ส.ค. 2550
  2. "สมเกียรติ ตั้งนโม" อดีตอธิการบดี ม.เที่ยงคืน เสียชีวิตแล้ว, ประชาไท, 6 ก.ค. 2553
  3. ส่ง "สมเกียรติ ตั้งนโม" ผู้ก่อตั้งเว็บ ม.เที่ยงคืน, ประชาไท, 11 ก.ค. 2553
  4. somkiet-tongnamo แฟนเพจ บน Facebook
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๑๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๕, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]