ข้ามไปเนื้อหา

สมาร์ททีวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมาร์ททีวีแอลจี รุ่น 42LW5700-TA แสดงเว็บเบราว์เซอร์โดยใช้แป้นพิมพ์บนหน้าจอ ซึ่งแตกต่างจากทีวีทั่วไป สมาร์ททีวีช่วยให้ผู้ชมสามารถโต้ตอบกับไอคอนหรือภาพบนหน้าจอได้

โทรทัศน์อัจฉริยะ หรือทับศัพท์เป็น สมาร์ตทีวี หรือ สมาร์ททีวี (อังกฤษ: Smart TV) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ โทรทัศน์เชื่อมต่อ (อังกฤษ: Connected TV; ชื่อย่อ: CTV) เป็นเครื่องรับโทรทัศน์แบบดั้งเดิมที่มีอินเทอร์เน็ตในตัวและคุณสมบัติเว็บ 2.0 แบบโต้ตอบ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถฟังเพลง รับชมวิดีโอ สืบค้นอินเทอร์เน็ต และดูภาพถ่ายได้ สมาร์ททีวีคือการรวมกันทางเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ และกล่องรับสัญญาณ นอกเหนือจากฟังก์ชั่นดั้งเดิมของโทรทัศน์และกล่องรับสัญญาณที่มีให้ผ่านสื่อกระจายเสียงแบบเดิมแล้ว อุปกรณ์เหล่านี้ยังสามารถให้บริการโทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง, สื่อโต้ตอบออนไลน์, เนื้อหาผ่านอินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Over-the-top; ชื่อย่อ: OTT) ตลอดจนสื่อส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่องตามคำขอและการเข้าถึงเครือข่ายในบ้าน[1][2][3]

ไม่ควรสับสนระหว่างสมาร์ททีวีกับโทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง ไอพีทีวี หรือโทรทัศน์บนเว็บ โทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่องหมายถึงการรับเนื้อหาโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต แทนที่จะเป็นระบบแบบเดิม เช่น ภาคพื้นดิน เคเบิลและดาวเทียม ไม่ว่าอินเทอร์เน็ตจะถูกส่งไปด้วยวิธีการใดก็ตาม ส่วนไอพีทีวีเป็นหนึ่งในมาตรฐานเทคโนโลยีโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้แพร่ภาพโทรทัศน์ และโทรทัศน์บนเว็บเป็นคำที่ใช้สำหรับรายการที่สร้างขึ้นโดยบริษัท และบุคคลต่าง ๆ มากมายเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง

ในสมาร์ททีวี ระบบปฏิบัติการจะโหลดไว้ล่วงหน้าหรือพร้อมใช้งานผ่านกล่องรับสัญญาณ โปรแกรมประยุกต์ หรือ "แอพ" สามารถโหลดไว้ล่วงหน้าในอุปกรณ์ หรืออัปเดต หรือติดตั้งได้ตามต้องการผ่านทางร้านแอพพลิเคชั่น ในลักษณะเดียวกับที่แอพรวมอยู่ในสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่[4][5][6][7][8]

เทคโนโลยีที่อนุญาตให้ใช้กับสมาร์ททีวียังรวมอยู่ในอุปกรณ์ภายนอก เช่น กล่องรับสัญญาณและเครื่องเล่นบลูเรย์บางรุ่น, เครื่องเล่นเกม, เครื่องเล่นสื่อดิจิทัล, ระบบโทรทัศน์ของโรงแรม, สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์เชิงโต้ตอบที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่น ๆ ที่ใช้โทรทัศน์เป็นจอแสดงผล[9][10] อุปกรณ์เหล่านี้ช่วยให้ผู้ชมค้นหาและเล่นวิดีโอ, ภาพยนตร์, รายการโทรทัศน์, ภาพถ่าย และเนื้อหาอื่น ๆ จากเว็บ, เคเบิลทีวี หรือทีวีดาวเทียม หรือจากอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่อง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Steve Kovach (8 ธันวาคม 2010). "What Is A Smart TV?". Businessinsider.com. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2012.
  2. Jeremy Toeman 41 (20 ตุลาคม 2010). "Why Connected TVs Will Be About the Content, Not the Apps". Mashable.com. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2012.
  3. "Internet TV and The Death of Cable TV, really". Techcrunch.com. 24 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2012.
  4. "Smart TV competition heats up market". Asianewsnet.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 7, 2012. สืบค้นเมื่อ มกราคม 17, 2012.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  5. "Smart TV Shower Opens Smart Life". Koreaittimes.com. 7 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2012.
  6. Chacksfield, Marc (12 พฤษภาคม 2010). "Intel: Smart TV revolution 'biggest since move to colour' – The wonders of widgets?". Techradar.com. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2012.
  7. "Google, With Intel and Sony, Unveils Software for 'Smart' TVs". Bloomberg BusinessWeek. 20 พฤษภาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2012.
  8. Katzmaier, David (8 กันยายน 2010). "Poll: Smart TV or dumb monitor?". News.cnet.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-19. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2012.
  9. Intel and Smart TV. intel.com. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2010.
  10. "Roku 2: Same Old (But Still Good), Same Old". Gizmodo.com. 4 สิงหาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-18. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Smart TV