ข้ามไปเนื้อหา

สมาพันธ์เบสบอลมัธยมปลายญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมาพันธ์เบสบอลมัธยมปลายญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 財団法人日本高等学校野球連盟) เป็นสมาพันธ์ที่อำนาจในการบริหารการแข่งขันเบสบอลมัธยมปลายของญี่ปุ่นโดยตรง ร่วมกับสมาพันธ์เบสบอลมัธยมปลายอีก 47 จังหวัดทั่วประเทศญี่ปุ่น มีชื่อเล่นว่า "โคยะเร็น" (高野連)

สมาพันธ์เบสบอลมัธยมปลายญี่ปุ่นดำเนินกิจกรรมกีฬาเบสบอลเป็นเอกเทศจากสมาพันธ์กีฬามัธยมปลายญี่ปุ่น จึงทำให้การแข่งขันเบสบอลชิงแชมป์มัธยมปลายญี่ปุ่น หรือโคชิเอ็งฤดูร้อน ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันอินเตอร์ไฮแต่อย่างใด

ประวัติศาสตร์

[แก้]

โคยะเร็นวิวัฒนาการมาจากสมาพันธ์เบสบอลกีฬามัธยมขั้นสองญี่ปุ่น โดยก่อตั้งขึ้นมาในปี 1946 เพื่อเป็นโต้โผใหญ่ในการแข่งขันเบสบอลชิงแชมป์มัธยมขั้นสองญี่ปุ่น[1] ซึ่งเดิมดำเนินรายการโดยอาซาฮีชิมบุง สื่อชื่อดังจากจังหวัดโอซากะในช่วงก่อนสงครามโลก

หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง โรงเรียนมัธยมขั้นสองได้กลายเป็น "มัธยมปลาย" ทำให้ชื่อต้องถูกเปลี่ยนเป็น "สมาพันธ์เบสบอลมัธยมปลายญี่ปุ่น" ต่อมาในปี 1963 สมาพันธ์จึงแยกตัวเป็นองค์กรที่เป็นเอกเทศกับสมาพันธ์กีฬามัธยมปลายญี่ปุ่น และกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

ไทม์ไลน์

[แก้]
  • สิงหาคม 1915 การแข่งขันกีฬาเบสบอลมัธยมขั้นสองแห่งชาติครั้งแรก จัดการแข่งขันโดย อาซาฮีชิมบุง[2]
  • เมษายน 1924 การแข่งขันกีฬาเบสบอลมัธยมขั้นสองรับเชิญแห่งชาติครั้งแรก จัดการแข่งขันโดย อาซาฮีชิมบุง
  • สิงหาคม 1924 การแข่งขันได้ถูกโยกมาจัดการแข่งขันที่สนามเบสบอลโคชิเอ็ง [3]
  • กุมภาพันธ์ 1946 สมาพันธ์เบสบอลมัธยมขั้นสองญี่ปุ่นได้ถูกก่อตั้งขึ้น
  • ธันวาคม 1946 สมาพันธ์ฯ ได้กลายเป็นแม่งานจัดการแข่งขันเบสบอลชิงแชมป์มัธยมขั้นสองแห่งชาติญี่ปุ่น
  • เมษาบน 1947 จากการปฏิรูประบบการศึกษา สมาพันธ์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สมาพันธ์เบสบอลมัธยมปลายญี่ปุ่น"[4]
  • สิงหาคม 1956 ซอฟต์บอลชิงแชมป์มัธยมปลายแห่งชาติได้จัดการแข่งขันขึ้น
  • กุมภาพันธ์ 1963 สมาพันธ์ได้กลายเป็นองค์กรอิสระ เป็นเอกเทศจากกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
  • สิงหาคม 1978 การแข่งขันซอฟต์บอล ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ซอฟต์บอลชิงแชมป์มัธยมปลายแห่งชาติญี่ปุ่น"

ทัวร์นาเมนต์ที่จัด

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. http://www.jhbf.or.jp/sensyuken/history/
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-11-07.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-11-07.
  4. https://en.wikipedia.org/wiki/Educational_reform_in_occupied_Japan